ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของทหารบกจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศุภญา บุตรแสนลี กองทันตกรรม โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
  • กาญจนา ปัญญาธร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ขนิษฐา แก้วกัลยา โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
  • กฤติกา สุขะตุงคะ โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, สุขภาพช่องปาก, ทหารบก

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของทหารบกจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นทหารบกปฏิบัติงานพื้นที่จังหวัดอุดรธานีจำนวน 338 คน ได้มาโดยสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม หาคุณภาพโดยใชสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราค ได้ค่าความเชื่อมั่นด้านเจตคติเท่ากับ 0.89 การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเท่ากับ 0.85 และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเท่ากับ 0.91 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงมีนาคม 2565 วิเคราะหขอมูลใชสถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธระหวางตัวแปร ดวยสถิติไคสแควร์และสถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธของเพียรสัน

                ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 92.6 อายุระหว่าง 20-40 ปี (ร้อยละ 78.0) เป็นทหารชั้นประทวนร้อยละ 84.3 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 88.2 ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากทางสื่อออนไลน์และสื่อโทรทัศน์ร้อยละ 52.7 และ 43.5 ตามลำดับ โดยร้อยละ 63.3 เข้ารับบริการตรวจสุขภาพช่องปากครั้งสุดท้ายนานกว่า 1 ปี มีเจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากระดับสูง (x̄ =4.2, S.D = 0.7) ความเชื่อด้านสุขภาพภาพรวมระดับมาก (x̄ = 4.2, S.D = 0.6) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากภาพรวมระดับมาก (x̄ =4.4, S.D = 0.8) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุราชการ สถานภาพสมรส รายได้ 2) ปัจจัยนำ ได้แก่ เจตคติและการรับรู้ความเชื่อด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก 3) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงบริการและการได้รับคำแนะนำจากบุคลากร และ     4) ปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนของหน่วยงาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของทหารบกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

                จากผลการวิจัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรจัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้ทหารเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง พัฒนาเจตคติ ความเชื่อด้านการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง และพัฒนาระบบบริการด้านทันตกรรมให้มีคุณภาพ

 

 

 

Author Biographies

ศุภญา บุตรแสนลี, กองทันตกรรม โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม

 

 

กาญจนา ปัญญาธร, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

 

 

ขนิษฐา แก้วกัลยา, โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม

 

 

กฤติกา สุขะตุงคะ, โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม

 

 

References

กรมอนามัย. สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพชองปากแหงชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทยพ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2561.

กรมอนามัย. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากประตูสู่สุขภาพที่ดีในทุกชวงวัยของชีวิต. กรุงเทพฯ: องคการสงเคราะห์ทหารผานศึก; 2555.

กองงานทันตกรรม. โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม. รายงานผลการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี 2563-2565.

สุรีพร สุปนะ, ณรงค์ ใจเที่ยง, ศรีสุดา เจริญดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอนาน้อยจังหวัดน่าน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2562; 2(2): 1-12.

สุภาพร ผุดผ่อง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. ว.วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 4(1): 101-119.

บรรพต โหมงโก้ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนท่ามะขามวิทยา ตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ว.หัวหินสุขใจไกลกังวล 2560; 2(2): 23-34.

กิตติศักดิ์ นามวิชา. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์. ว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎ 2562; 3(2): 45-55.

ธนิดา ผาติเสนะ, วิภาวรรณ มุ่งยุทธกลาง, อรชร กอหญ้ากลาง, เสฏฐวุฒิ ไพสีสาน. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านทันตสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. ว.วิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2562; 5(2): 121-131.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. ว.พยาบาลสภากาชาดไทย 2562; 12(1): 38-48.

อุดมพร ทรัพย์บวร. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. ว.แพทย์เขต 4-5 2562; 38(4): 244-255.

นุจรี พาณิชย์เจริญรัตน์, เสมอจิต พิธพรชัยกุล, สุกัญญา เธียรวิวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะช่องปากกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของพลทหารแรกเข้าภาคใต้ ประเทศไทย. วิทยาสารทันตแพทย์ศาสตร์ 2562; 69(2): 209-216.

กรรณิกา เรืองเดช, ชาวสวน ศรีเจริญ, ปฏิภัทร เคลือบคล้าย, ลีละชาติ ประเสริฐ.ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในโครงการฟันเทียมพระราชทานของโรงพยาบาลวังวิเศษ จังหวัดตรัง. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 5(3): 152-168.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30