โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในหลายกลุ่มวัย

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • สาริณี โต๊ะทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • ทานตะวัน แย้มบุญเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

โมเดล, ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ภาวะซึมเศร้า, กลุ่มวัย

บทคัดย่อ

               ปัญหาโรคซึมเศร้ายังเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่สำคัญของโลก หนทางหนึ่งที่สามารถลดจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้คือ การทำให้บุคคลไม่เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้า การป้องกันไม่ให้เกิดหรือแก้ไขภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นแล้วจำเป็นต้องทราบถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้า เพื่อนำไปใช้วางแผนแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้า ปัจจุบันโมเดลสมการโครงสร้างเป็นสถิติวิเคราะห์ขั้นสูงที่เหมาะสำหรับศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ ความรู้ที่เสนอในบทความนี้คือการสังเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง โดยสังเคราะห์โมเดลโครงสร้างจากการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในทางทฤษฎีและการยืนยันจากงานวิจัย และสังเคราะห์โมเดลการวัดของ  ตัวแปรแฝงในโมเดลจากการวิเคราะห์นิยามและการวัดตัวแปรแฝง โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าที่สังเคราะห์ได้ประกอบด้วยตัวแปรแฝงปัจจัยเชิงสาเหตุ 10 ตัวแปร ได้แก่ ความคิดบิดเบือน ทัศนคติที่ผิด ความคิดอัตโนมัติด้านลบ เหตุการณ์ในชีวิตทางลบ ความเครียด การเห็นคุณค่าในตนเอง พื้นอารมณ์ทางบวก ความฉลาดในการจัดการปัญหาอุปสรรค สัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม โดยมีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าทั้งทางตรงเชิงบวกและเชิงลบ และอิทธิพลทางอ้อม วัดด้วยตัวแปรสังเกตรวม 28 ตัวแปร ส่วนตัวแปรแฝงภาวะซึมเศร้าวัดด้วยตัวแปรสังเกต 4 ตัวแปร โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าที่สังเคราะห์ได้นี้เป็นโมเดลเชิงแนวคิดที่สามารถนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย

 

 

 

Author Biographies

เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

 

 

สาริณี โต๊ะทอง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

 

 

ทานตะวัน แย้มบุญเรือง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

 

 

References

Single Care.com. Depression statistics 2022 [Internet]. 2022 [Cited 2022 July 20]. Available from: https://www.singlecare.com/blog/news/depression-statistics

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าปีงบประมาณ 2565 [อินเทอร์เน็ต] เข้าถึงได้จาก: https://thaide-pression.com/www/report/main_report/pdf/ahb-01-22-mix_HDC.pdf

กรมสุขภาพจิต. อัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากรหนึ่งแสนคนประจำปี [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/report/suicide/download

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2552.

อัญมณี มณีนิล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2563.

ครองรัตน์ ดุลลาพันธ์. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และปัจจัยทางจิตที่พยากรณ์ภาวะโรคซึมเศร้า [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2561.

สมศรี นวรัตน์, วรรณโณ ฟองสุวรรณ, บัณฑิต ผังนิรันดร์. การพัฒนาตัวแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นของตัวแปรที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าในระหว่างตั้งครรภ์ของวัยรุ่นไทย. ว.สมาคมนักวิจัย 2556; 18(2): 99-113.

ลักษิกา พิสุทธิไพศาล, จารุพร ตั้งพัฒนกิจ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี. ว.มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2564;12(1):45-65.

จันทนา เกิดบางแขม. โครงการวิจัยเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซมึเศร้าของแรงงานไทย ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก [รายงานการวิจัย]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.

ปราลีณา ทองศรี, อารยา เชียงของ, ธนยศ สุมาลย์โรจน์. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าในข้าราชการตำรวจจราจรเขตนครบาล. ว.พยาบาลสาธารณสุข 2561; 32(1):59-76.

สุนี ทิพย์เกษร, ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ เหตุการณ์ในชีวิตทางลบ ทัศนคติที่ผิด และความคิดอัตโนมัติทางลบที่มีต่อภาวะซึมเศร้าในกลุ่มวัยรุ่นไทยตอนกลางในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ว.เซาธ์อีสท์บางกอก 2558;1(1):9–23.

ดวงใจ วัฒนสินธุ์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์, ธนวรรณ อาษารัฐ, สิริพิมพ์ ชูปาน, พรพรรณ ศรีโสภา. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ว.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558;23(4):1-20.

ประกอบ เอี้ยงแสนเมือง, รังสรรค์ โฉมยา, บังอร กุมพล. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.

เปรมจิต ไชยลังกา, บังอร เทพเทียน, ประภาพรรณ จูเจริญ. ภาวะซึมเศร้า ความคิดอัตโนมัติด้านลบ ทัศนคติบิดเบือนกับความคิดบิดเบือนของผู้เสพยาบ้าอายุระหว่าง 18-24 ปี. ว.วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย-ขอนแก่น 2560;10(1):73-85.

Beck, A. T., Brad, A. A. Depression: causes and treatment. Philadelphia: University of Pennsylvania Press; 2009.

setmem.com. กำจัดทัศนคติผิด ๆ ที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์ [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://setmem.com

กรมสุขภาพจิต. คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

Rosenberg, M. Conceiving the self. New York: Basic Book; 1979.

Coopersmith, S. SEI: Self-esteem inven-tories. Palo Alto CA: Consulting Psychologist Press; 1984.

ธนยศ สุมาลย์โรจน์. แบบจำลองเชิงสาเหตุของปัจจัยทางจิตและสังคมที่มีต่อความพึงพอใจในการเรียนและความพึงพอใจในชีวิตของนักศึกษาแพทย์ ณ โรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง [ดุษฎีนิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.

Watson, D., Clark, L. A., Tellegen, A. Development and validation of brief measures of positive and negative affect schedule: the PANAS scales. JPSP 1998;47:1063-1070.

พระสมุห์วัลลภ วลฺลโภ (เจสระ). การพัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามหลักอริยสัจ 4. ว.พุทธจิตวิทยา 2560;2(1):16-30.

นิดา แซ่ตั้ง. ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคที่มีผลต่อการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555.

ขนิษฐา หะยีมะแซ. การศึกษาเปรียบเทียบการสนับสนุนทางสังคมในผู้ดูแลเด็กกลุ่มอาการออทิซึมและเด็กพัฒนาการสมวัยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์; 2556.

Beck, A. T., Rush, A. J., Shaw, B., Emery, G. Cognitive therapy of depression. New York: Guilford Press; 1979.

สุวรรณี พุทธิศรี, พัชรี พรรณพานิช, ธนิตา ปานทั่งทอง, มนัส สูงประสิทธิ์. ภาวะซึมเศร้าในมารดาของเด็กสมาธิสั้น. ว.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2549;51(3):213-223.

อัจฉรียา น้อยทรง, นิตยา ตากวิริยะนันท์, โอภาส ไตรตานนท์. ผลของโปรแกรมบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต. ว.พยาบาลทหารบก 2564;22(3):498-508.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30