การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชิดชนก พันธ์ป้อม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พัชนียา เชียงตา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฏฐ์นรี คำอุไร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พรนิภา วงษ์มาก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

แท้งคุกคาม, การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม

บทคัดย่อ

               ภาวะแท้งคุกคาม (threatened abortion) หมายถึง การแท้งที่การตั้งครรภ์มีโอกาสดำเนินต่อไปได้จนครบกำหนดคลอด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคามจะมีเลือดออกทางช่องคลอดโดยที่ปากมดลูกยังปิดอยู่ ปริมาณเลือดที่ออกมักจะ  ไม่มาก อาจมีหรือไม่มีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย การตรวจภายในจะพบว่ามีปากมดลูกปิด ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจงต่อภาวะแท้งคุกคาม ได้มีการนำโปรเจสเตอโรน เพื่อการรักษาภาวะปกติที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ เนื่องจาก โปรเจสเตอโรนมีบทบาทสำคัญต่อการตั้งครรภ์ปกติ โดยเริ่มมีบทบาทตั้งแต่การฝังตัวของตัวอ่อน ช่วยลดการ    บีบตัวของมดลูกและอาการปวดท้อง ทำให้การตั้งครรภ์ดำรงอยู่จนครบกำหนดคลอดได้

               ผู้ป่วยกรณีศึกษารายนี้เป็นหญิงไทยอายุ 32 ปี สถานภาพสมรส อายุครรภ์ 16+6 สัปดาห์ แพทย์วินิจฉัยว่ามีภาวะแท้งคุกคาม บทบาทของพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การตั้งครรภ์ในครั้งนี้ปลอดภัยและสามารถดำเนินการตั้งครรภ์จนกระทั่งครบกำหนดคลอด และกรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม ประกอบด้วย การประเมินสภาพ การรักษาและการให้การพยาบาลอย่างเป็นองค์รวมโดยใช้กรอบแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงสังคม

 

 

 

Author Biographies

ชิดชนก พันธ์ป้อม, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

 

 

พัชนียา เชียงตา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

 

 

ณัฏฐ์นรี คำอุไร, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

 

 

พรนิภา วงษ์มาก, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

 

 

References

ชฎาภรณ์ วัฒนวิไล. การพยาบาลสตรีที่มีภาวะฉุกเฉินในระยะตั้งครรภ์และคลอด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

ถวัลย์วงค์ รัตนสิริ. สูติศาสตร์ฉุกเฉิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการแม่และเด็กชุดที่ 11 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2555.

Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Dashe JS, Hofman BL, Casey BM, et al. Chapter

: Abortion. Williams’s obstetrics. 25th ed. New York: McGraw-Hill; 2018..

ธีระ ทองสง. สูติศาสตร์. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 6. เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564.

Mc Leroy K, Bibeau D, Stecker A, Glant K. An ecological perspective on health promotion program. Health Education Quarterly 1988;15:351-77.

Duan L, Yan D, Zeng W, Yang X, Wei Q.Effect of progesterone treatment due to threatened abortion in early pregnancy for obstetric and perinatal outcomes. Early Human Development 2010;86:41-3.

นันทพร แสนศิริพันธ์, ฉวี เบาทรวง. การพยาบาลผดุงครรภ์ เล่ม 3 (สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน). เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

ปิยะพร ศิษย์กุลอนันต์. การพยาบาลสตรีที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ว.พยาบาลศาสตร์ 2550;25(2):4-12.

Jones C, Chan C, Farine D. Sex in pregnancy. CMAJ 2011;183(7):815-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30