ผลของลูกอมสมุนไพรหญ้าดอกขาวในการลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชน ชุมชนบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ดลณชา อิสริยภานันท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • นวลใย พิศชาติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • อุบล ชุ่มจินดา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • วิเนตรา แน่นหนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • นภวรรณ แก้ววังอ้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสูบบุหรี่, ลูกอมสมุนไพร, สมุนไพรหญ้าดอกขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชน ชุมชนบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ลูกอมสมุนไพรหญ้าดอกขาวกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ 18-60 ปี ในเขตพื้นที่ชุมชนบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีจำนวน 30 คน ในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2565 ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่จำนวน 10 ข้อ แบบบันทึกการสูบบุหรี่ในแต่ละสัปดาห์ แบบบันทึกการอมลูกอมสมุนไพรหญ้าดอกขาวในแต่ละวัน  แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ลูกอมสมุนไพรหญ้าดอกขาวลดการสูบบุหรี่ จำนวน 10 ข้อ แบบสอบถามการติดนิโคตินจำนวน 6 ข้อ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเนื้อหาเท่ากับ 0.92 หาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ 0.867 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการทดสอบ T-test กำหนดค่านัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 96.67 อายุเฉลี่ย 31-40 ปี (SD=33.33) ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน โดยปริมาณการสูบบุหรี่อยู่ระหว่าง 10-20 มวนต่อวัน ส่วนใหญ่บุหรี่ที่สูบเป็นบุหรี่ซองหรือสำเร็จรูปโดยจะสูบบุหรี่มากขึ้น เมื่อรู้สึกเครียด กดดัน หรือวิตกกังวล ร้อยละ 33.33 หากไม่ได้สูบบุหรี่จะมีอาการหงุดหงิด ร้อยละ 50.00 และมีอาการกระวนกระวายร้อยละ 33.33 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนมีการสูบบุหรี่สูบในแต่ละสัปดาห์มีปริมาณการสูบบุหรี่ที่ลดลงหลังจากการใช้ลูกอมสมุนไพรหญ้าดอกขาว โดยค่าเฉลี่ยที่ใช้วันแรกอยู่ที่ 24.83 มวน (SD=6.65) สัปดาห์ที่ 4 มีปริมาณการสูบบุหรี่ที่ลดลงเหลืออยู่ที่ 14.83 มวน (SD=4.65) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.001 ในการเปรียบเทียบกันทุกสัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างที่มีความพึงพอใจต่อลูกอมสมุนไพรหญ้าดอกขาวมากที่สุด (x̄ =4.44, SD=0.18)

 

References

กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2564 ผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชากร. นนทบุรี: กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ; 2564: 32-35.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2564: 16-19.

World Health Organization. WHO report on the global tobacco epidemic 2021: addressing new and emerging products. Geneva: World Health Organization; 2021: 20-23.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2564: 20-21.

สถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร. ขอมูลสมุนไพรหญ้าดอกขาว [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ12 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th

กัญญภัค สุวรรณศรี. ผลโปรแกรมสุขศึกษา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ที่สูบบุหรี่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ว.สุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566; 8(2): 89-100.

วิโรจน์ วีระชัย, อภินัย ชินพิพัฒน์, สำเนา นิลบรรพ์, สมพร สุวรรณมาโจ, รสสุคนธ์ ธนธีระบรรจง, รุ้งลาวัลย์ พันธุ์สวัสดิ์, และคนอื่นๆ. การเปรียบเทียบประสิทธิผลดอกหญ้าขาว (Vernonia cinerea (L.) Less) กับ bupropion ในการบำบัดผู้ติดบุหรี่. ว.วิชาการเสพติด 2557; 2(1): 1-15.

ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ(ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: 2560: 1-2.

พัชญา คชศิริพงศ์, ดวงใจ ดวงฤทธิ์, วรวรรณ สายงาม. การพัฒนาสูตรตำรับหญ้าดอกขาวเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่: การศึกษานำร่อง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2561; 62(6): 463-472.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, อรทัย ใจบุญ. บัญญัติสมุนไพรหญ้าดอกขาวช่วยเลิกบุหรี่ เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ. ก้าวทันวิจัยกับ ศจย 2554; 3(3): 3.

สถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร. ขอมูลสมุนไพรหญ้าดอกขาว [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.อภัยภูเบศร.com. article/8/สมุนไพรหญ้าดอกขาว

พีรยา สุธีรางกูร, กัลยา ศารทูลทัต. การสัมผัสควันบุหรี่มือสอง การติดนิโคติน และการสนับสนุนให้เป็นมหาวิทยาลัย ปลอดบุหรี่ของนักศึกษาและบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง. ว.วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2564;15(1): 205-217.

ดลรวี ลีลารุ่งระยับ, ประสงค์ เทียนบุญ. ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ลูกอมหญ้าหมอน้อย เพื่อช่วยเลิกบุหรี่ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่. เชียงใหม่: สำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) เครือข่ายภาคเหนือ; 2558: 8-48.

วิเชียร เกตุสิงห์. หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2538.

Fagerstrom, K. O., Schneider, N. G. Measuring Nicotine dependence: A review of the Fagerstrom Tolerance Questionnaire. Journal Behav Med 1989; 12(2): 159–182.

กรองจิต วาทีสาธกกิจ. การส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในงานประจำ (Smoking cessation in daily work). กรุงเทพฯ: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่; 2551.

ศรินทิพย์ หมื่นแสน. สมุนไพรหญ้าดอกขาวทางเลือกสำหรับลดความอยากบุหรี่. ว.เพื่อการวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม 2560; 24(3): 16-20.

คณิศร เอมทิพย์, กิติยา จันทบิล, ผาณิต เลื่อนลอย, วรัญญา บุญมาตย์, มณฑา หมีไพรพฤกษ์, วสุนธรา รตโนภาส, และคนอื่นๆ. ผลการใช้ลูกอมหญ้าดอกขาวลดอาการอยากบุหรี่. ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.) 2558; 2(2): 31-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31