การผ่าตัดกระจกตาในเขตสุขภาพที่แปด

ผู้แต่ง

  • ภัสธร นรานันทน์ กลุ่มงานจักษุ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • วันปิยะ นรานันทน์ กลุ่มงานจักษุ โรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อัตราการเปลี่ยนประจกตาในผู้ป่วยโรคกระจกตา        (2) ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา (3) ผลลัพธ์ และ (4) ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนกระจกตาในเขตสุขภาพที่แปด ทำการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาแบบย้อนหลัง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560-2563 ที่แผนกจักษุ โรงพยาบาลอุดรธานีซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาในเขตสุขภาพที่ 8

ผลการวิจัย: อัตราการเปลี่ยนกระจกตาเพื่อการมองเห็นคือ 5.5% และอัตราการเปลี่ยนกระจกตาเพื่อการรักษาคือ 3.4% ตามลำดับ งานวิจัยนี้ศึกษาผู้ป่วย 84 ราย 90 ตา ข้อบ่งชี้ที่พบมากที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเพื่อการมองเห็น(optical PKP) 58.9% การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเพื่อการรักษา (therapeutic PKP) 40.0% และการผ่าตัดปะกระจกตา (tectonic PKP) 1.1% ตามลำดับ โดยวินิจฉัยโรคที่พบมากที่สุดคือโรคติดเชื้อกระจกตา (corneal ulcer) 41.1% เกิดจากเชื้อรา 20.0% อัตราความสำเร็จของการผ่าตัดที่ 3 เดือน ของผู้ป่วยกลุ่ม optical PKP เป็น 92.5% ค่าการมองเห็นก่อนและหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเพื่อการมองเห็น ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากค่าเฉลี่ย 2.04 LogMAR เป็น 1.14 LogMAR (p<0.001) และการมองเห็นที่ดีขึ้นมากกว่าสองบรรทัด Snellen เมื่อเทียบกับก่อนผ่าตัดก็ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ ภาวะต้อหินแทรกซ้อน 37.8%

สรุป: แม้การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเพื่อการมองเห็น จะเป็นข้อบ่งชี้อันดับหนึ่งในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกในโรงพยาบาลอุดรธานี แต่การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเพื่อการรักษาก็เป็นอีกหนึ่งข้อบ่งชี้ที่สำคัญและมีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าภูมิภาคอื่น อัตราความสำเร็จของการรักษาใกล้เคียงกับการศึกษาอื่น ทั้งนี้ควรมีการศึกษาในระยะยาวเพิ่มเติมต่อไป

 

References

Whitcher JP, Srinivasan M, Upadhyay MP. Corneal blindness: a global perspective. Bull World Health Organ 2001; 79(3): 214-21.

Tangpagasit W, Reanpinyawat T. Outcome of Urgent Penetrating Keratoplasty for Corneal Ulcer at Thammasat University Hospital. J Med Assoc Thai 2016;99(1):6.

Pariyakanok L, Erjongmanee S, Saonanon P. Indications for corneal transplantation in Thailand between 1996 and 2008. Asian Biomedicine 2011; 5(6): 843-8.

Holladay JT. Visual acuity measurements. J Cataract Refract Surg 2004; 30(2): 287–90.

Scott IU, Schein OD, West S, Bandeen-Roche K, Enger C, Folstein MF. Functional status and quality of life measurement among ophthalmic patients. Arch Ophthalmol 1994;112(3): 329–35.

Chaiear S. Indication and Visual Results of Penetrating Keratoplasty in Udonthani Hospital Between 1997 and 2006: a Retrospective review of 84 Cases. Srinagarind Medical Journal [Internet]. [cited 2022 Mar 7]. Available from: http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1378

Chaidaroon W, Ausayakhun MS, Ngamtiphakorn S, Prasitsilp J. Clinical Indications for Penetrating Keratoplasty in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, 1996-1999. J Med Assoc Thai 2003; 86(3): 206.

Reinprayoon U, Srihatrai P, Satitpitakul V, Puangsricharern V, Wungcharoen T, Kasetsuwan N. Survival Outcome and Prognostic Factors of Corneal Transplantation: A 15-Year Retrospective Cohort Study at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Clin Ophthalmol 2021; 15: 4189–99.

Thanathanee O, Sripawadkul W, Anutarapongpan O, Luanratanakorn P, Suwan-Apichon O. Outcome of Therapeutic Penetrating Keratoplasty Using Glycerol-Preserved Donor Corneas in Infectious Keratitis. Cornea 2016; 35(9): 1175–8.

Xie L, Song Z, Zhao J, Shi W, Wang F. Indications for penetrating keratoplasty in north China. Cornea 2007; 26(9): 1070–3.

Dasar L, Pujar C, Gill KS, Patil M, Salagar M. Indications of Penetrating Keratoplasty in Southern India. J Clin Diagn Res JCDR 2013; 7(11): 2505–7.

Chaidaroon W, Lewsakul S. Visual Outcomes after Penetrating Keratoplasty. CMU J 2002; 1(2): 161-5.

Vail A, Gore SM, Bradley BA, Easty DL, Rogers CA. Corneal Graft Survival and Visual Outcome: A Multicenter Study. Ophthalmology 1994; 101(1): 120–7.

Chotikavanich S, Prabhasawat P, Satjapakasit O. Ten-Year Survival of Optical Penetrating Keratoplasty and Risk Factors for Graft Failure in Thai Patients. J Med Assoc Thai 2020; 103(9): 883–90.

Baltaziak M, Chew HF, Podbielski DW, Ahmed IIK. Glaucoma after corneal replacement. Surv Ophthalmol 2018; 63(2): 135-48.

Haddadin RI, Chodosh J. Corneal Transplantation and Glaucoma. Semin Ophthalmol. 2014; 29(5-6): 380–96.

Leelachaikul Y, Waiyawuth T, Ruangsuksriwong V, Methasiri S. Glaucoma Associated with Penetrating Keratoplasty. Thai J ophthalmol 2005; 19(2): 9.

Zemba M, Stamate AC. Glaucoma after penetrating keratoplasty. Roma J Ophthalmol 2017; 61(3): 159–65.

França ET, Arcieri ES, Arcieri RS, Rocha FJ. A study of glaucoma after penetrating keratoplasty. Cornea 2002;21(3):284–8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31