โครงการศึกษาระดับการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความรุนแรงน้อย ไม่มีปัจจัยเสี่ยง และได้รับ สารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรแคปซูลในการร่วมรักษา ที่รับบริการในโรงพยาบาลของจังหวัดอุดรธานี ประจำปี 2564

ผู้แต่ง

  • จิระภา พันธุเศรษฐ์ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • มะโนตร นาคะวัจนะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

ฟ้าทะลายโจร, โควิด-19, อาการโรค

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยนำร่องการใช้สารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรแคปซูลเพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาในผู้ป่วยจำนวนมากต่อไป มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วยโควิด-19 โดยเปรียบเทียบอาการก่อนและหลังการใช้ยาสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรแคปซูลในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความรุนแรงน้อย ไม่มีปัจจัยเสี่ยง        กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการว่าป่วยเป็นโควิด-19 ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าไม่มีอาการหรือมีอาการรุนแรงน้อย ไม่มีโรคร่วม หรือปัจจัยเสี่ยงที่จะดำเนินอาการโรครุนแรง ที่เข้าบริการในโรงพยาบาลของจังหวัดอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8 ระหว่างเดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนสิงหาคม 2564 โดยผู้ป่วยจะได้รับสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรในขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน นานติดต่อกัน 5 วัน ประเมินอาการตนเองด้วยการใช้ visual analogue scale (VAS) ในวันแรก, วันที่ 3 และวันที่ 6 หลังได้รับยา สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติวิเคราะห์ Friedman Test เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนอาการหลังจากได้รับสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจร กำหนดให้ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา อาสาสมัครเข้าร่วมการศึกษา 344 ราย ได้รับสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจร 180 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันนาน 5 วัน เข้าร่วมการศึกษาจนสิ้นสุดการวิจัย 308 ราย อายุเฉลี่ย 20.31 ปี (SD= 9.8 ปี) เพศชายและหญิงใกล้เคียงกัน ผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครที่ได้รับสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรแคปซูลประเมินอาการตนเองว่าดีขึ้น 258 ราย คงที่ 50 ราย ร้อยละ 83.77 และ 16.23 ตามลำดับ ผลต่างของค่าเฉลี่ย VAS แต่ละอาการ เมื่อเวลาก่อนและหลังได้รับสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรแคปซูล 6 วัน พบว่าหลังผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรแคปซูลมีความรุนแรงในการไอลดลง ความถี่ในการไอลดลง อาการเจ็บคอลดลง ไข้ลดลง อาการปวดศีรษะลดลง ปวดกล้ามเนื้อลดลง หายใจเหนื่อยน้อยลง น้ำมูกน้อยลง การถ่ายเหลวลดลง ปัญหาการรับกลิ่นและปัญหาการรับรสดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอาสาสมัครส่วนใหญ่อาการดีขึ้นในวันที่ 3 และอาการหายไปภายในวันที่ 6 ทั้งนี้หลังการใช้ยาอาสาสมัครเกิดปอดอักเสบ 17 ราย โดยทั้งหมดสามารถกลับบ้านได้ตามระยะเวลากักตัวในขณะนั้น

สรุป หลังผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับยาสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจร มีความรุนแรงของโรคในเรื่องการไอเจ็บคอ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ถ่ายเหลว หายใจเหนื่อยลดลง การรับรสและการได้กลิ่นดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/256404171148 30AM_CPG_COVID-19%20_ns_%2017apr%202021.pdf

Cai N, Can Wang, Shusen Sun, Xuansheng Ding. Theoretical basis and effect characteristics of andrographolide against COVID-19. Chinese Traditional and Herbal Drugs 2020; 24: 1159-1166.

สุภาพร ภูมิอมร. ผลการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดฟ้าทะลายโจร และ andrographolide ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Plaque reduction assay ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คำแนะนำการใช้ฟ้าทะลายโจร สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2564: หน้า 8-9.

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133, ตอนพิเศษ 86ง (ลงวันที่ 12 เมษายน 2559). หน้า 241.

Hu XY, Wu RH., Logue M., Blondel C, Lai LYW, Stuart B, et al. Andrographis paniculata (Chuan Xin Lian) for symptomatic relief of acute respiratory tract infections in adults and children: A systematic review and meta-analysis. PLoS ONE 2017; 12(8): e0181780.

Wagner L, Cramer H, Klose P, Lauche R, Gass F, Dobos G, et al. Herbal Medicine for Cough: a Systematic Review and Meta-Analysis. Forsch Komplementmed 2015; 22(6): 359-68.

Cáceres D D, Hancke J L, Burgos R A, Sandberg F, Wikman G K. Use of visual analogue scale measurements to assess the effectiveness of standardized Andrographis paniculata extract SHA-10 in reducing the symptoms of common cold. A randomized double blind-placebo study. Phytomedicine 1993; 6(4): 217-23.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยสมุนไพร. มาตรฐานสมุนไพรไทยฟ้าทะลายโจร. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2542: หน้า 42-54.

โครงการการศึกษานำร่องผลของสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาดสูงต่อผู้ป่วยโรคโควิด-19 ระดับความรุนแรงน้อย โรงพยาบาลสมุทรปราการ กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กรมการแพทย์แผนไทยแลการแพทย์ทางเลือกและสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/06/19650

อัมพร เบญจพลพิทักษ์, ขวัญชัย วิศิษฐานนท์, ธิติ แสวงธรรม, เทวัญ ธานีรัตน์, กุลธนิต วนรัตน์. รายงานสังเขปผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยโควิด -19. ว.การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2021; 19(1): 229-233.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31