การพัฒนาโปรแกรมบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่ได้รับการดูแลจากสหสาขาวิชาชีพ ในคลินิกหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สินีนาถ คำตา โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ดลวิวัฒน์ แสนโสม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธิดาพร ตั้งกิตติเกษม อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมบันทึกข้อมูล, ฐานข้อมูล, ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว, สหสาขาวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนาโปรแกรมบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่ได้รับการดูแลจากสหสาขาวิชาชีพในคลินิกหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลอุดรธานี ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม 2565 – มกราคม 2566 แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและวิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมและฐานข้อมูล และระยะที่ 3 ประเมินผล ตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ บุคลากรสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ 15 ราย และเวชระเบียนผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว 100 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามผลการพัฒนาโปรแกรมฯ แบบตรวจสอบความครบถ้วนของเวชระเบียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติประมาณค่าสัดส่วน (Proportion Z test) ความครบถ้วนของเวชระเบียน

ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า บุคลากรบันทึกข้อมูลโดยเขียนร่วมกันในเวชระเบียน ทำให้มีการบันทึกข้อมูลไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บางรายการซ้ำซ้อน ไม่ครบถ้วนและไม่มีฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมบันทึกข้อมูลฯ ของสหวิชาชีพที่ใช้ร่วมกันระหว่างแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และโภชนากร ที่บันทึก risk    stratification, 6MWT METs, quality of life, nutrition behavior, drug compliance, GDMT checklist เป็นต้น และระยะที่ 3 หลังนำใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลพบว่า ประสิทธิภาพของโปรแกรมบันทึกข้อมูลฯ มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.5, S.D. = 0.6) และสัดส่วนของการจัดเก็บเวชระเบียนมีความครบถ้วนเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2565 จากร้อยละ 86 (95% CI = 0.93-1.07) เป็นร้อยละ 93 (95% CI 0.87-0.98) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.0437) และความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.5, S.D. = 0.5) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมบันทึกข้อมูลฯ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในคลินิกโรคหัวใจล้มเหลว

 

References

Metra M, Teerlink JR. Heart failure. Lancet 2017; 390(10106): 1981-1995.

Groenewegen A, Rutten FH, Mosterd A, Hoes AW. Epidemiology of heart failure. Eur J Heart Fail 2020; 22(8): 1342-1356.

อรวิกาญจน์ ชัยมงคล, ศริญญา ภูวนันท์และศุทธิจิต ภูมิวัฒนะ. บทความวิชาการบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ณ หน่วยบริการผู้ป่วยนอก. วชิรสารการพยาบาล 2565; 24(1): 75-95

Laothavorn P, Hengrussamee K, Kanjanavanit R, Moleerergpoom W, Laorakpongse D, Pachirat O, et al. Thai acute decompensated heart failure registry (Thai ADHERE). CVD prevention and control 2010; 5(3): 89-95.

งานเวชสถิติโรงพยาบาลอุดรธานี. ข้อมูลสถิติโรคหัวใจล้มเหลว. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2565.

Writing Committee Members; ACC/AHA Joint Committee Members. 2022 AHA/ACC/HFSA Guideline for the Management of Heart Failure. J Card Fail 2022; 28(5): e1-e167.

Sim KS, Chong SS, Tso CP, Nia ME, Chong AK, Abbas SF. Computerized database management system for breast cancer patients. Springer plus 2014; 27(3): 268.

Kodama K, Sakamoto T, Kubota T, Takimura H, Hongo H, Chikashima H, et al. Construction of a Heart Failure Database Collating Administrative Claims Data and Electronic Medical Record Data to Evaluate Risk Factors for In-Hospital Death and Prolonged Hospitalization. Circ Rep 2019; 1(12): 582-592.

วรนิษฐา ธรรมขัน, วราภรณ์ บุญเชียง, อักษรา ทองประชุม, เอกรัฐ บุญเชียง. การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศการจัดการข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลฮอดจังหวัดเชียงใหม่. ว.วิจัยการพยาบาลและการสาธารสุข 2564; 1(2): 42-56.

มาลีวัลย์ ศรีวิลัย. การพัฒนารูปแบบระบบฐานข้อมูลสาธารณสุข จังหวัดเชียงราย. ว.สาธารณสุขล้านนา 2017; 13(1): 14-24.

Chow, Shein-Chung, Jun Shao, Hansheng Wang. In vitro bioequivalence testing. Statistics in medicine 2003; 55-68.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2556. หน้า 120-121.

McDonagh TA, Metra M, Adamo M, Gardner RS, Baumbach A, Böhm M, Burri H, et al.; ESC Scientific Document Group. 2021 ESC Guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure. Eur Heart J 2021; 42(36): 3599-3726.

Jaarsma T, Hill L, Bayes-Genis A, La Rocca HB, Castiello T, Celutkiene J, et al. Self-care of heart failure patients: practical management recommendations from the Heart Failure Association of the European Society of Cardiology. Eur J Heart Fail 2021; 23(1): 157-174.

Rector TS, Kubo SH, Cohn JN. Validity of the Minnesota Living with Heart Failure questionnaire as a measure of therapeutic response to enalapril or placebo. Am J Cardiol 1993; 71(12): 1106-7.

Vellone E, De Maria M, Iovino P, Barbaranelli C, Zeffiro V, Pucciarelli G, Durante A, et al. The Self-Care of Heart Failure Index version 7.2: Further psychometric testing. Res Nurs Health 2020; 43(6): 640-650.

Ponikowski P, Voors AA, Anker SD, Bueno H, Cleland JG, Coats AJ, et al ; Authors/Task Force Members; Document Reviewers. 2016 ESC Guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure: The Task Force for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure of the European Society of Cardiology (ESC). Developed with the special contribution of the Heart Failure Association (HFA) of the ESC. Eur J Heart Fail 2016; 18(8): 891-975.

Yancy CW, Jessup M, Bozkurt B, Butler J, Casey DE Jr, Colvin MM, et al. 2016 ACC/AHA/HFSA Focused Update on New Pharmacological Therapy for Heart Failure: An Update of the 2013 ACCF/AHA Guideline for the Management of Heart Failure: A Report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Clinical Practice Guidelines and the Heart Failure Society of America. J Am CollCardiol 2016; 68(13): 1476-1488.

Maddox TM, Januzzi JL, Allen LA, Breathett K, Butler J, Davis L. Update to the 2017 ACC Expert Consensus Decision Pathway for Optimization of Heart Failure Treatment: Answers to 10 Pivotal Issues About Heart Failure With Reduced Ejection Fraction. J Am CollCardiol 2021; 77(6): 772-810.

McDonagh TA, Metra M, Adamo M, Gardner RS, Baumbach A, Bohm M, et al. 2021 ESC Guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure: Developed by the Task Force for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure of the European Society of Cardiology (ESC) With the special contribution of the Heart Failure Association (HFA) of the ESC. Eur Heart J 2021; 42(36): 3599-3726.

Deka P, Pozehl BJ, Pathak D, Williams M, Norman JF, Alonso WW, Jaarsma T. Predicting maximal oxygen uptake from the 6 min walk test in patients with heart failure. ESC Heart Fail 2021; 8(1): 47-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31