การประเมินค่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่โรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วรุณยุภา อู่ขลิบ กลุ่มงานรังสีวิทยา, โรงพยาบาลราชบุรี, จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงทางการวินิจฉัย, การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, ซีทีดีไอ, ปริมาณรังสีตามระยะการสแกน

บทคัดย่อ

การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนสมอง ส่วนทรวงอก และส่วนช่องท้องที่แผนกรังสีวินิจฉัยโรงพยาบาลราชบุรีในปี พ.ศ.2564 และเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่มาตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ตรวจบ่อย            3 ประเภท ประกอบด้วยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนสมอง ส่วนทรวงอก และส่วนช่องท้องที่โรงพยาบาลราชบุรีในปี พ.ศ. 2564 ในค่าปริมาณรังสีในหนึ่งหน่วยปริมาตร (CTDIvol) และ ปริมาณรังสีตลอดช่วงความยาวในการสแกน (DLP) นำเสนอข้อมูลโดยประเมินค่าปริมาณรังสีของโรงพยาบาลราชบุรีแล้วนำมาเปรียบเทียบค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทยปี พ.ศ. 2564

ผลการศึกษา:จำนวนข้อมูลค่าปริมาณรังสีจากการตรวจด้วยเอกเรย์คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลราชบุรีปี พ.ศ. 2564 ส่วนสมองแบบไม่ฉีดสารทึบรังสีเท่ากับ CTDIvol 62.5 mGy, DLP 1,278.0 mGy.cm ส่วนสมองแบบฉีดสารทึบรังสี CTDIvol 58.1 mGy, DLP 1,343.5 mGy.cm ส่วนทรวงอกแบบฉีดและไม่ฉีดสารทึบรังสีเท่ากับ CTDIvol 9.2 mGy, DLP 406.5 mGy.cm ส่วนช่องท้องแบบไม่ฉีดสารทึบรังสี CTDIvol 9.9 mGy, DLP 581.0 mGy.cm ส่วนช่องท้องแบบฉีดสารทึบรังสีเท่ากับ CTDIvol 10.0 mGy, DLP 592.5 mGy.cm ตามลำดับ โดยพบว่าค่าปริมาณรังสีของโรงพยาบาลราชบุรีจากการตรวจด้วยเอกเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนทรวงอก และส่วนช่องท้องต่ำกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของระดับประเทศไทย แต่ค่าปริมาณรังสีจากการตรวจส่วนสมองมีปริมาณมากกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากการตรวจส่วนสมองของประเทศไทย

สรุป:ค่าปริมาณรังสีจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลราชบุรีปี 2564 ส่วนสมองมีปริมาณมากกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย จึงควรมีการปรับปรุงเทคนิคการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนสมอง เพื่อปรับปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในอนาคต

 

References

Hall EJ, Brenner DJ. Cancer risks from diagnostic radiology. Br J Radiol 2008; 81(965): 362-78.

Brenner DJ. Should we be concerned about the rapid increase in CT usage? Rev Environ Health 2010; 25(1): 63-8.

Brenner DJ. Slowing the increase in the population dose resulting from CT scans. Radiat Res. 2010; 174(6): 809-15.

Schauer DA, Linton OW. NCRP Report No. 160, Ionizing Radiation Exposure of the Population of the United States, medical exposure are we doing less with more, and is there a role for health physicists? Health Phys 2009; 97(1): 1-5.

Pearce MS, Salotti JA, Little MP, McHugh K, Lee C, Kim KP, et al. Radiation exposure from CT scans in childhood and subsequent risk of leukaemia and brain tumours: a retrospective cohort study. Lancet 2012; 380(9840): 499-505.

Buchberger B, Scholl K, Krabbe L, Spiller L, Lux B. Radiation exposure by medical X-ray applications. Ger Med Sci 2022; 20: Doc06.

Smith-Bindman R, Lipson J, Marcus R, Kim KP, Mahesh M, Gould R, et al. Radiation dose associated with common computed tomography examinations and the associated lifetime attributable risk of cancer. Arch Intern Med 2009; 169(22): 2078-86.

Vañó E, Miller DL, Martin CJ, Rehani MM, Kang K, Rosenstein M, et al. ICRP Publication 135: Diagnostic Reference Levels in Medical Imaging. Ann ICRP 2017; 46(1): 1-144.

Department of Medical Sciences. Ministry of Public Health. National Diagnostic Reference Levels in Thailand 2021 [Internet]. 2021 [Cited 2022 Nov 20]. Available from: URL; https://webapp1.dmsc.moph.go.th/petitionxray/web3/

Pema D, Kritsaneepaiboon S. Radiation Dose from Computed Tomography Scanning in Patients at Songklanagarind Hospital: Diagnostic Reference Levels. J Health Sci Med Res 2020; 38(2): 135-43.

Yamane T. Statistics. An Introductory Analysis. 2nd ed. New york: Harper & Row; 1967.

Kalton G. Systematic Sampling. Wiley StatsRef: Statistics Reference Online. p.1-6.

McCollough CH. CT dose: how to measure, how to reduce. Health Phys 2008; 95(5): 508-17.

Cook TS, Zimmerman S, Maidment AD, Kim W, Boonn WW. Automated extraction of radiation dose information for CT examinations. J Am Coll Radiol 2010; 7(11): 871-7.

McNitt-Gray MF. AAPM/RSNA Physics Tutorial for Residents: Topics in CT. Radiation dose in CT. Radiographics 2002; 22(6): 1541-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31