การพัฒนาโปรแกรมสร้างความตระหนักและความรอบรู้ต่อการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • วิวรรณ พงศ์พัฒนานนท์ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

โปรแกรมสร้างความตระหนักและความรอบรู้, การป้องกันพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมสร้างความตระหนักและความรอบรู้ต่อการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุและวัดประสิทธิผลของโปรแกรมฯ ผ่านการเปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านการออกกำลังกายทั้งก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-70 ปี ที่อยู่ในเขตเทศบาลท่าเรือ และเขตเทศบาลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมจำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสร้างความตระหนักและความรอบรู้ต่อการป้องกันพลัดตกหกล้มและกลุ่มควบคุมศึกษาข้อมูลด้วยตนเอง กลุ่มละ 40 คน การวิจัยดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 ดำเนินการเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมสร้างความตระหนักและความรอบรู้ต่อการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุและทดลองใช้โปรแกรมฯ ระยะที่ 3 ดำเนินการใช้โปรแกรมฯ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยระยะที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลสภาพปัญหาแบบบันทึกข้อมูล แนวคำถามการสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 โปรแกรมสร้างความตระหนักและความรอบรู้ต่อการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่ครอบคลุมทั้ง (2.1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2.2) แบบสอบถามระดับความรอบรู้ด้านการออกกำลังกาย (2.3) แบบประเมินความสามารถในการทรงตัว ระยะที่ 3 แบบประเมินความเสี่ยงต่อการล้มด้วย Timed Up and Go test การวิจัยได้วิเคราะห์ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่ผ่านการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสร้างข้อสรุป ควบคู่กับข้อมูลเชิงปริมาณที่ใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติวิเคราะห์ Paired T-test และ Independent T-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัย ระยะที่ 1 สภาพปัญหาพบว่า ผู้สูงอายุมักหกล้มขณะทำกิจกรรมภายในบ้าน เมื่อขณะก้าวขึ้นลงพื้นที่ต่างระดับมากที่สุดร้อยละ 86.70 บริเวณหกล้มที่พบมากที่สุดคือบริเวณนอกชาน การพัฒนาโปรแกรมสร้างความตระหนักและความรอบรู้ต่อการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุมีองค์ประกอบตามแนวคิดของนัทบีม 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะการเข้าถึงข้อมูล     2) ทักษะความรู้ความเข้าใจ 3) ทักษะการสื่อสาร 4) ทักษะการจัดการตนเอง 5) ทักษะการตัดสินใจ 6) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ   ซึ่งเมื่อนำโปรแกรมดังกล่าวไปทดลองใช้ในการสร้างความตระหนักต่อการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุต่อเนื่องรวมระยะเวลา 10 สัปดาห์ในระยะที่ 2 จนได้โปรแกรมที่สมบูรณ์เพื่อนำไปดำเนินการในระยะที่ 3 ได้ผลสรุปก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯ ดังนี้ คะแนนความรอบรู้ด้านการออกกำลังกายโดยเฉลี่ยก่อนใช้โปรแกรมฯ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอยู่ในระดับต่ำที่   ร้อยละ 46.76 และ 57.73 ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.463) หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนความรอบรู้ด้านการออกกำลังกายเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่ร้อยละ 87.66 และกลุ่มควบคุมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 55.98 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.049) ทั้งนี้คะแนนความรอบรู้ด้านการออกกำลังกายโดยเฉลี่ยของกลุ่มทดลองเมื่อเทียบก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.045) ระดับความสามารถด้านการทรงตัวด้วย Timed Up and Go test ก่อนใช้โปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่ามัธยฐานที่ 10.27, 10.58 วินาที ตามลำดับไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.213) หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานความสามารถด้านการทรงตัวที่ 7.52 วินาที กลุ่มควบคุมมีค่ามัธยฐานที่ 10.55 วินาทีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) ค่ามัธยฐานความสามารถด้านการทรงตัวของกลุ่มทดลองก่อนใช้โปรแกรมฯ และหลังใช้โปรแกรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (median10.27 และ 7.52 วินาที ตามลำดับ, p=0.001)

 

References

World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older Age. Geneva; 2007.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุกรมการแพทย์. แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ (Geriatric Syndrome). กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสุขภาพปีี 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

โรงพยาบาลท่าเรือ. รายงานผลการดำเนินงาน 2564. พระนครศรีอยุธยา: โรงพยาบาลท่าเรือ; 2565.

นิพา ศรีช้าง. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/th/site/offic/view/boe

Nutbeam, D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century.” Health Promotion International 2000; 15(3): 259-267.

กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. เอกสารประกอบการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปด้านสาธารณสุข: ประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565. หน้า 2072-2078.

งานอนามัยวัยเรียน ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy School: HLS). อุดรธานี: ศูนย์อนามัยที่ 8 จังหวัดอุดรธานี; 2561.

จุฑาทิพย์ รอดสูงเนิน. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. ว. ศูนย์อนามัยที่ 9 2564; 15(38): 541-60.

Gupta, K. K., Attri, J. P., Singh, A., Kaur, H., Kaur, G. Basic concepts for sample size calculation: Critical step for any clinical trials! Saudi J Anaesth 2016; 10(3): 328-331.

กองสุขศึกษา. การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy) ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัย มหิดล มีนาคม 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมี่อ 4 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed. go.th/news/5523

คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ. คู่มือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าวี.รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ของประเทศไทย ปี พ.ศ 2560-2564. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/violence/การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ2560-2564.pdf

วนิดา ราชมี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 6. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

โสภณา จิรวงศ์นุสรณ์, ณัฐวดี จิตรมานะศักดิ์. การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ ของผู้สูงอายุ. Journal of Roi Kaensarn Academi 2022; 7(4): 233-249.

ชัยณรงค์ บุรัตน์, อรชร สุดตา, สวัสดิ์ งามเถื่อน. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงบ้านไร่ขี ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจจังหวัดอำนาจเจริญ [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อเมื่อ 29 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files/1p16.pdf.

Gillespie, L. D., Robertson, M. C., Gillespie W. J., Sherrington, C., Gates, S., Clemson, L., Lamb, S.E. (2012). Interventions for Preventing Falls in Older People Living in the Community (Review). Cochrane Database Syst Rev 2012; 9(1): 1-369.

รัฎภัทร์ บุญมาทอง. ผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.

ธีรภัทร อัตวินิจตระการ, ชวนนท์ อิ่มอาบ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. ว.แพทย์เขต 4-5 2562; 38(4): 288-298.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, กรรณิการ์ เทพกิจ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(3): 186-195.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31