ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลหลักและจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในชุมชนแบบมีส่วนร่วม เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ ปัญหาราช งานส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟู กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • นิดา สาครเจริญ งานส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟู กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • รุ่งนภา ภูแข็ง กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, ผู้ดูแลหลัก, จิตอาสา, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลหลักและจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในชุมชนแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นผู้ดูแลหลักเด็ก 0-5 ปี ในชุมชน จำนวน 50 คน และจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีของผู้ดูแลหลักมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค = 0.9 และแบบสอบถามความรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กของจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีมีค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 = 0.8          เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ Paired T-test

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลหลักเด็ก 0-5 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 54.0 เด็ก 0-5 ปีที่ดูแลเป็นบุตรคนที่ 1 ของครอบครัวร้อยละ 66.0 และมีความสัมพันธ์กับเด็กคือเป็นตายายร้อยละ 52.0 ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีรวมก่อนพัฒนา x̄ = 54.7 (SD = 5.2) หลังการพัฒนา x̄ = 67.8 (SD = 2.0) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมรวมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.0 มีอายุเฉลี่ย 49.9 ปี (SD = 8.8) การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 100.0 ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีรวมก่อนการพัฒนา x̄ = 32.4 (SD = 1.6) หลังการพัฒนา x̄ = 34.6 (SD = 0.8) หลังพัฒนามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้รวมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

การนำรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลหลักและจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีในชุมชนแบบมีส่วนร่วมจึงสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในชุมชนได้

 

References

วัลลภ ไทยเหนือ. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2564.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ 2561 - 2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2561.

กองบริหารสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการกลุ่มวัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ: กองบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กรแก้ว ถิรพงษ์สวัสดิ์, จันทร์ธรา สมตัว, พรพรรณ นามตะ, มณฑินี จุลละนันทน์. การจัดการความรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในพื้นที่รับผิดชอบศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2560.

Mansell G, Pearson H. Health for all and community participation. In Stowell FA, West D, Howell JG, editors. Systems Science Addressing Global Issues. United Kingdom: Scotland; 1993. p.301-304.

อรพินท์ สพโชคชัย. การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน. ประชุมวิชาการประจำปี 2538; วันที่ 9-10 ธันวาคม 2538; โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย; 2538.

Smith WE. Where dose power come from? [Internet]. 2004 [cited 2021 June 18]. Available from: https://www.odii.com/papers/Where_Does_Power_Come_From-Final.pdf

HDC ระบบคลังข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ผลการคัดกรอง Social Risk พัฒนาการเด็ก[Internet]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 23 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph. go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=1ed9 0bc32310b503b7ca9b32af425ae5 &id=890c7adff77936af39aa9c76f6c15e35

ลัดดา เหมาะสุวรรณ, วิชัย เอกพลาการ, นิชรา เรืองดารกานนท์, ปราณี ชาญณรงค์, ภาสุรี แสงศุภวาณิชย์, จิราลักษณ์ นนทารักษ์ และคนอื่นๆ. สุขภาวะเด็กไทย 2553. กุมารเวชสาร 2553;17(2): 87-88.

สุภาภรณ์ ปัญหาราช. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลหลักและจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในชุมชนแบบมีส่วนร่วม. ว.การแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี 2562; 27(2): 98-108.

Orem DE. Nursing concept of practice. 5th ed. St Louis: Mosby; 1995.

ชูชาติ มีรอด. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ต่อความรู้การปฏิบัติของมารดาและพัฒนาการเด็กอาย 1-3 ปี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550. หน้า 57-72.

กัลยา วานิชย์บัญชา. หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2545; 243-77.

ดวงเนตร์ ภู่วัฒนาวนิชย์. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล 2560; 19(2): 35-44.

โรงพยาบาลราชวิถี สารไอโอดีนช่วยสมองเจริญเติบโตเต็มที่ [Internet]. 2016 [cited 2021 June 20]. Available from: https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=2142

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31