การเปรียบเทียบการผ่าตัดด้านหลังข้อศอกแบบเปิดกล้ามเนื้อ Triceps และแบบไม่เปิดกล้ามเนื้อ Triceps ในการรักษากระดูกต้นแขนบริเวณข้อศอกหักในเด็ก

ผู้แต่ง

  • ธารทิพย์ บุญทรง กลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

คำสำคัญ:

กระดูกต้นแขนบริเวณข้อศอกหัก, การผ่าตัดด้านหลังข้อศอกแบบเปิดกล้ามเนื้อ Triceps, การผ่าตัดด้านหลังข้อศอกแบบไม่เปิดกล้ามเนื้อ Triceps

บทคัดย่อ

กระดูกต้นแขนบริเวณข้อศอกหักในเด็กแบบเคลื่อนออกจากกันเป็นภาวะที่พบได้บ่อย การรักษาส่วนใหญ่ใช้การรักษาโดยการผ่าตัดจัดกระดูกให้เข้าที่และใส่เหล็กดาม การเปิดแผลผ่าตัดมีหลากหลายวิธี ยังเป็นที่ถกเถียงทั้งข้อดีข้อเสียโดยดูจากการง่ายในการผ่าตัดและผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของวิธีการผ่าตัดด้านหลังข้อศอกแบบเปิดกล้ามเนื้อ Triceps และแบบไม่เปิดกล้ามเนื้อ Triceps ในการรักษากระดูกต้นแขนบริเวณข้อศอกหักในเด็กโดยศึกษาเปรียบเทียบ เวลาในการผ่าตัด, การสูญเสียเลือดในระหว่างผ่าตัด,การติดตามผลที่ระยะ 6 เดือนหลังผ่าตัดโดยดูจากผลเอกซเรย์หลังการผ่าตัด, การงอเหยียดข้อศอกหลังจากกระดูกติดแล้วโดยมีรูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลังทำการศึกษา (Retrospective cohort study) ทำการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยเด็กกระดูกต้นแขนหักที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินในช่วงเวลาตั้งแต่ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี ที่มีปัญหากระดูกต้นแขนบริเวณข้อศอกหักแบบเคลื่อนออกจากกัน (Gartland classification Type III) และไม่สามารถรักษาโดยการจัดกระดูกจากภายนอกให้เข้าที่ จำนวน 88 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับการรักษาการผ่าตัดทางด้านหลังข้อศอกแบบเปิดกล้ามเนื้อTriceps จำนวน 43 คน และ กลุ่มที่ 2 ได้รับการรักษาการผ่าตัดแบบไม่เปิดกล้ามเนื้อ Triceps จำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ใช้ Chi-square และ independent T-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็ก 88 ราย อายุเฉลี่ย 6.4 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย กลุ่มที่ 1 การผ่าตัดแบบเปิดกล้ามเนื้อ  Triceps ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ (38 และ 53 นาที ตามลำดับ, p<0.001) ส่วนการเสียเลือดในระหว่างผ่าตัด, ผลเอกซเรย์หลังการผ่าตัด, ภาวะแทรกซ้อน, การงอเหยียดข้อศอกเมื่อติดตามผลที่ 6 เดือน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทั้ง 2 กลุ่ม

สรุปการวิจัย: การผ่าตัดเข้าไปทางด้านหลังแบบเปิดกล้ามเนื้อ Triceps มีประสิทธิผลดีกว่าแบบไม่เปิดกล้ามเนื้อ Triceps ในแง่ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ผลที่ได้จะนำไปใช้พัฒนาในการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป

 

References

Omid R, Choi PD, Skaggs DL. Supracondylar humeral fractures in children. J Bone Joint Surg Am 2008;90:1121–1132.

Farnsworth CL, Silva PD, Mubarak SJ. Etiology of supracondylar humerus fractures. J Pediatr Orthop 1998;18(1):38–42.

Paradis G, Lavallee P, Gagnon N, Lemire L. Supracondylar fractures of the humerus in children. Technique and results of crossed percutaneous K-wire fixation. Clin Orthop Relat Res 1993;297:231–237.

Gartland JJ. Management of supracondylar fractures of the humerus in children. Surg Gynecol Obstet 1959;109:145–154.

Pirone AM, Graham HK, Krajbich JI. Management of displaced extension-type supracondylar fractures of the humerus in children. J Bone Joint Surg Am 1988;70:641–650.

Yildirim AO, Unal VS, Oken OF, Gulcek M, Ozsular M, Ucaner A. Timing of surgical treatment for type III supracondylar humerus fractures in pediatric patients. J Child Orthop 2009;3(4):265–269.

Archibeck MJ, Scott SM, Peters CL. Brachialis muscle entrapment in displaced supracondylar humerus fractures: a technique of closed reduction and report of initial results. J Pediatr Orthop 1997;17(3):298–302.

Wutphiriyaangkul S. Comparison of posterior and combined medial-lateral surgical approaches in the treatment of supracondylar fractures of the humerus among children. The Thai Journal of Orthopaedic Surgery 2015;39:11-16.

Bekir K, BirkanK, OnurO, Fahri E. Comparision of lateral, medial, and posterior approaches in the surgical treatment of pediatric supracondylar humerus fractures. J Orthop Trauma 2023;10(2):255–262.

Reitman RD, Waters P, Millis M. Open reduction and internal fixation for supracondylar humerus fractures in children. J Pediatr Orthop 2001;21(2):157–161.

Lee C, Brodke DJ. Triceps-sparing approach for distal humerus fixation. J Orthop Trauma 2021;35:S5-S6.

Saeed K, Alessandro C, Mehdi Ai. Triceps-sparing posterior approach for supracondylar humeral fracture in children. Arch Bone Jt Surg 2019;7:416–421.

Björnsson H, Birgitta S. Triceps split: A safe and useful approach for distal humeral fractures. J Orthop Trauma 2020;23:110-115.

Mohammad S, Rymaszewski LA, Runeiman J The Baumann angle in supracondylar fractures of the distal humerus in children. J Pediatr Orthop 1999;19(1):65-69.

Pawaris S, Peen S, Pinkawas K. Diagnostic accuracy of the shaft-condylar angle for an incomplete supracondylar fracture of elbow in children. Eur J Orthop Surg Traumatol 2019;29(1):1673-1677.

Pilla NI, Rinaldi J, Hatch M, Hennrikus W. Epidemiological analysis of displaced supracondylar fractures. Cureus 2020;12(4):e7734-7759.

LiBrizzi CL, Klyce W, Ibaseta A, Shannon C, Lee RJ. Sex-based differences in pediatric supracondylar humerus fractures. Medicine (Baltimore) [internet]. 2020 [cited 2020 May 15]; 99(20):e20267. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32443371/

Cheng JC, NJ BK, Ying SY, Lam PK. A 10-year study of the changes in the pattern and treatment of 6,493 fractures. J Pediatr Orthop [internet]. 1999 [cited 1999 May 1]; 19:344-350. Available from: http://europepmc.org/article/med/10344317

Larson N, Garg S, Weller A Operative treatment of type II supracondylar humerus fractures: does time to surgery affect complications? J Pediatr Orthop 2014;34(4):382-7.

Abbott M, Buchler L, Caltoum C Gartland type III supracondylar humerus fractures: Outcome and complications as related to operative timing and pin configuration. J Child Orthop 2014;8(6):473-7.

Kashani F,Hasankhani E. Surgical outcomes of pediatric humeral supracondylar fractures treated by posterior approach and triceps splitting J Orthop Trauma 2013 ;22:210-215.

Zengin CE, Kayyaokay K, Saruhan S, Davulcu CD, Sener M. Comparison of outcomes after the triceps-split approach versus the triceps-sparing approach for humerus shaft fractures. Medeni Med J 2019;34(1):54-60.

Remia LF, Richards K, Waters PM. The Bryan-Morrey tricepssparing approach to open reduction of T-condylar humeral fractures in adolescents. cybex evaluation of triceps function and elbow motion. J Pediatr Orthop 2004;24(6):615-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31