ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการปวดไหล่และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ถิร เอี่ยมจิตร แผนกกิจกรรมบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

อาการปวดไหล่, กิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ (correlational research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการปวดไหล่กับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยการใช้แบบสอบถามความเจ็บปวดแบบย่อของแมคกิลล์ ฉบับภาษาไทย (short-form McGill Pain Questionnaire; Thai version) และแบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน บาร์เธล ฉบับภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการปวดไหล่ร่วมด้วย จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน 2564 ถึงเดือนสิงหาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติอนุมานสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 76.00) มีอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกขวา (ร้อยละ 54.00) อายุเฉลี่ย 57.70 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.60) ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการเจ็บป่วยในช่วง 6 เดือนถึง 1 ปี (ร้อยละ 74.00) คะแนนรวมความปวด (total score) เฉลี่ย 4.43 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.42) คะแนนรวมลักษณะความปวด (total count) เฉลี่ย 3.94 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.68) และระดับอาการปวดในขณะที่ถูกประเมิน (present pain intensity) เฉลี่ย 0.97 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.78) ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในระดับช่วยเหลือตนเองในการทำ ADL ได้ดี คะแนนเฉลี่ย 13.42 คะแนน และเมื่อตรวจสอบสมมติฐาน พบว่า ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนการปวดไหล่ทุกหัวข้อ จึงสามารถสรุปได้ว่าคะแนนการปวดไหล่กับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ การศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่สนับสนุนในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้มากขึ้น แม้ว่าจะมีอาการปวดไหล่อยู่ ทั้งในขณะการฝึกทางกิจกรรมบำบัดหรือในขณะที่จำเป็นต้องช่วยเหลือตนเองด้านการทำกิจวัตรประจำวันด้านต่างๆ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการให้บริการ การพัฒนารูปแบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการปวดไหล่ และเป็นแนวทางในการให้การดูแลป้องกันและบำบัดรักษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในอนาคตต่อไป

References

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, อามีนะห์ เจะปอ. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/knowledge//ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก_ปี_2561.pdf

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรครณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2562 ให้ประชาชนรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ลดความเสี่ยงเป็นอัมพาต [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2564] เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph. go.th/?url=pr/detail/2/02/133619

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์. แพทย์เตือนประชาชนตื่นตัว ป้องกันตนเองจาก โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์; 2563 [เข้าถึงเมื่อ22 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_ page?contentId=23923

นพพล ประโมทยกุล. การจัดการทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการปวดข้อไหล่. ว.เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2553; 22(3): 218-11.

Lo SF, Chen SY, Lin HC, Jim YF, Meng NH, Kao MJ. Arthrographic and clinical findings in patients with hemiplegic shoulder pain. Arch Phys Med Rehabil 2003; 84(12): 1786-91.

Stroke Association. Pain after stroke [Internet]. UK: Stroke Association; 2017 [Cited 2021 April 7]. Available from: https://www. stroke.org.uk/sites/default/files/pain _after_stroke.pdf.

Pertoldi S, Di BP. Shoulder-hand syndrome after stroke: a complex regional pain syndrome. Eura Medicophys 2005; 41(4): 283-92.

Lee IS, Shin YB, Moo TY, Jeong YJ, Song JW, Kim DH. Sonography of patients with hemiplegic shoulder pain after stroke: correlation with motor recovery stage. AJR Am J Roentgenology 2002; 192(2): W40–W44.

Braus D, Krauss J, Strobel J. The shoulder-hand syndrome after stroke: a prospective clinical trial. Ann Neurol 1994; 36(5): 728-33.

The World Federation of Occupational Therapists. About Occupational Therapy [Internet]. The World Federation of Occupational Therapists; 2012 [Cited 2021 January 12]. Available from: https://www.wfot.org/about/about-occupational-therapy

The American Occupational Therapy Association. Occupational therapy practice framework: Domain and process 3rd edition. Am J Occup Ther 2014; 68:S1-S48.

กณิฐา ตุ้ยดา, พัชราพร เกิดมงคล, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, ทัศนีย์ รวิวรกุล. ปัจจัยทำนายความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในกรุงเทพมหานคร. ว.พยาบาลสาธารณสุข 2560; 31 (Special Edition): 27-42.

Gamble, G., Barberan, E., Laasch, H., Bowsher, D., Tyrrell, P., Jones, A. Poststroke shoulder pain: a prospective study of the association and risk factors in 152 patients from a consecutive cohort of 205 patients presenting with stroke. Eur J Pain 2002; 6(6): 467-474.

Melzack, R. The short-form McGill pain questionnaire. Pain 1987; 30(2): 19.

วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล, จักรกริช กล้าผจญ, อภิชนา โฆวินทะ. แบบประเมินความเจ็บปวด Short-form McGill pain questionnaire ฉบับภาษาไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2547; 14(3): 83-92.

Kitisomprayoonkul W. Revised Thai short-form McGill pain questionnaire (revised Th-SFMPQ). Chula Med Journal 2005; 40(3): 143-155.

Van SJC, Koudstaal PJ, Visser MC, Schorelen HJA, Van GJ. Interobserver agreement of handicap in stroke patients. Stroke 1988; 19(5): 604-607.

Cusick CP, Brooks CA, Whiteneck GG. The use of proxies in community integration research. Arch Phys Med Rehabil 2001; 82(8): 1018-1024.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. การวิเคราะห์ผู้สูงอายุ: หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร; 2540.

สุพรรณี เตรียมวิศิษฎ์, สุพรรณี เตรียมวิศิษฎ์, วิไลวรรณ จงรักษ์สัตย์, วนรักษ์ วัชรศักดิ์ิศิลป์, รุจี รัตนสเถียร, สังวาลย์ สายสุวรรณ, และคนอื่นๆ. ระบาดวิทยา คุณลักษณะ และปัจจัยทำนายโรคหลอดเลือดสมองแตก. เชียงใหม่เวชสาร 2562; 58(3): 159-170.

Yoneda Y, Okuda S, Hamada R, Toyota A, Gotoh J, Watanabe M, et al. Hospital cost of ischemic stroke and intracerebral hemorrhage in Japanese stroke centers. Health Policy 2005; 73(2): 202-11.

Feigin VL, Norrving B, Mensah GA. Global burden of stroke. Circ Res 2017; 120: 439-48.

Lindgren, I., Jonsson, A. C., Norrving, B., Lindgren, A. Shoulder pain after stroke: a prospective population-based study. Stroke 2006; 38(2): 343–348.

เบญจมาภรณ์ สีพิมพ์, วรุณนภา ศรีโสภาพ, น้อมจิตต์ นวลเนตร์. การทำงานและภาวะแทรกซ้อนของรยางค์ส่วนบนของข้างอัมพาตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรังในชุมชน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(1): 51-58.

Clark FA, Parham D, Carlson ME, Frank G, Jackson J, Pierce D, et al. Occupational science: academic innovation in the service of occupational therapy's future. Am J Occup Ther 1991; 45(4): 300-10.

Chae J, Mascarenhas D, Yu DT, Kirsteins A, Elovic EP, Flanagan SR, et al. Poststroke shoulder pain: its relationship to motor impairment, activity limitation, and quality of life. Arch Phys Med Rehabil 2007; 88(3): 298-301.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31