ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เข็มทอง ตรีเนตรไพบูลย์ โรงพยาบาลแก้งคร้อ
  • เอมอร ส่วยสม โรงพยาบาลแก้งคร้อ
  • อณัญญา ลาลุน กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่มารับบริการหน่วยดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลแก้งคร้อ จำนวน 138 คน ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเก็บข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 – กรกฎาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความพึงพอใจและแบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-square และ Fisher’s exact test และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองเป็นเพศหญิงใกล้เคียงกับเพศชาย (ร้อยละ 50.72 และ 49.28) มีอายุระหว่างอายุ 61-80 ปี ร้อยละ 47.10 คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =75.51, S.D.=8.76) และปัจจัยที่มีความความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตได้แก่ระดับการศึกษา (p=0.019) และรายได้ต่อเดือน (p=0.005) ระยะเวลาการเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตในระดับน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.316, p<0.001) ส่วนความพึงพอใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.538, p<0.001)

 

References

วรรณกานต์ ประโพธิ์ทัง, อมรรัตน์ ศรีอำไพ วราภรณ์, ภาณุ อดกลั้น. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาตัวในโรงพยาบาลอุดรธานี. ว.กรมการแพทย์ 2559; 41(6): 126-131.

รัตนมาลา เทียมถนอม. การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งโรงพยาบาลนครพิงค์. ว.โรงพยาบาลนครพิงค์ 2563; 11(2): 132-144.

นภา ทวียรรยงกุล, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม, บัวหลวง สำแดงฤทธิ์. ประสบการณ์อาการและการจัดการในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง. Rama NursJ 2558; 21(1): 82-95.

วารุณี มีเจริญ, ฐิติกานต์ กาลเทศ, กัลยา นุตระ. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและญาติผู้ดูแล. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(4): 52-61.

ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยประคับประคองที่มารับการรักษาที่คลินิกประคับประคอง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน. ว. สาธารณสุขล้านนา 2563; 16(1): 70-81.

วิภาดา พึ่งสุข, พิษณุรักษ์ กันทวี, ภัทรพล มากมี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในระยะท้าย จังหวัดเชียงราย. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562; 29(2): 116-128.

อนุรักษ์ ทราปัญ, ดาว เวียงคำ. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. เชียงราย เวชสาร 2562; 11(1): 93-101.

ฉัตรกมล เจริญวิภาดา. กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายต่อเนื่องจากสถานพยาบาลไปยังบ้านและชุมชนในบริบทของศูนย์การดูแลแบบประคับประคองหน่วยงานให้คำปรึกษากลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลคลองท่อม. Krabi Medical Journal 2561; 1(1): 11-21.

กิตติกร นิลมานัต, กัลยา แซ่ชิต. ผลของโปรแกรมการพยาบาลจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายต่อความทุกข์ทรมานจากอาการและการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยระยะท้าย. ว.สภาการพยาบาล 2561; 33(3): 51-66.

WHOQOL Group. WHO QOL-BREF Introduction, Administration, Scoring and Generie Version of the Assessment [Internet]. 1996 [cited 2020 June 1]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/635 29/WHOQOL-BREF.pdf?sequence=1

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. ว.วิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2562; 5(1): 496-507.

กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย [อินเทอรเน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/test/whoqol/

ชุติมา จันทร์สมคอย, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานบางประการความรุนแรงของอาการพฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประคับประคองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. ว.พยาบาลทหารบก 2561; 19 (ฉบับพิเศษ): 108-117.

วิภาดา พึ่งสุข, พิษณุรักษ์ กันทวี, ภัทรพล มากมี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในระยะท้ายจังหวัดเชียงราย. ว.สุขศึกษา 2563; 43(1): 143-154.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคมะเร็ง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.

พัชรมน เชื้อนาคะ. คุณภาพการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31