ผลการพัฒนาโปรแกรมความรู้สำหรับ อสม.เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชน (Community- Acquired Sepsis) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโสกน้ำขาว อ.เมือง จ.อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ บุญยานาม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ปาริชาต ตันสุวรรณ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ชุติปภา ญาณวัฒนพันธ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโสกน้ำขาว

คำสำคัญ:

ผลการพัฒนา, โปรแกรมความรู้, การติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชน

บทคัดย่อ

เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาโปรแกรม ประเมินผลการใช้โปรแกรมความรู้ของ อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยสมัครใจ 2 กลุ่ม คือ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 21 คน และผู้ร่วมวิจัยพัฒนาโปรแกรมความรู้ จำนวน 75 คน ดำเนินวิจัยเดือนกันยายน 2564 - กันยายน 2565 แบ่งเป็น 3 ระยะคือ I) ศึกษาสถานการณ์ II) พัฒนาโปรแกรม III) ประเมินผลการใช้โปรแกรมฯ เครื่องมือวิจัยคือโปรแกรมความรู้สำหรับอสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก/สนทนากลุ่ม 2) แนวทางการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม 3) แบบวัดความรู้ อสม. เรื่องการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดในชุมชน เครื่องมือผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่าความสอดคล้อง IOC 0.85 หาค่าความเที่ยงโดยคำนวณ ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired T-test ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย (I) สถานการณ์ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชนส่วนใหญ่พบมีอาการหนักในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีบาดแผล ผู้ประกอบอาชีพสัมผัสสารเคมีทางการเกษตร ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวที่เข้าใจว่าตนเองเจ็บป่วยเล็กน้อยจึงซื้อยารับประทานเองหรือรักษาที่คลินิก (II) การพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้สำหรับ อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชนคือ 1) การออกแบบโปรแกรมความรู้สำหรับอสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชนโดยเครือข่ายมีส่วนร่วม 2) การพัฒนาโปรแกรมความรู้สำหรับ อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชนคือ (2.1) การอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการ เนื้อหาประกอบด้วย 1. ความหมาย 2. สถานการณ์ในพื้นที่ 3. กลุ่มอาการสงสัยติดเชื้อในกระแสโลหิตและอาการสงสัยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รุนแรง 4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 5. การไม่ซื้อยากินเองและเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 6. การประเมิน ดูแลเบื้องต้นและเรียกบริการ 1669 (2.2) ฝึกปฏิบัติประเมินอาการสงสัยติดเชื้อในกระแสโลหิต การดูแลเบื้องต้น และรายงานข้อมูลเมื่อเรียกบริการ 1669 ในห้องประชุมก่อนดำเนินการในพื้นที่จริง (2.3) อสม. ฝึกแนะนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ (III) การประเมินผลพบว่า 1) ด้านความรู้ อสม. หลังการอบรมให้ความรู้สูงกว่าก่อนการอบรมให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) 2) ด้านกระบวนการ อสม.  ร้อยละ 80.00 สามารถให้แนะนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยทำกิจกรรมร่วมกับกิจกรรมอื่นในชุมชนได้ 3) ด้านคุณภาพบริการพบจำนวนประชาชนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ 1669 และเดินทางมาด้วยตนเอง ก่อนและหลังดำเนินโครงการ 25 รายและ 38 ราย ตามลำดับ อัตราเสียชีวิตประชาชนในตำบลโสกน้ำขาวจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตก่อนดำเนินโครงการคือร้อยละ 40.00 ลดลง หลังดำเนินโครงการ 5 เดือนคือร้อยละ 21.05

สรุปโปรแกรมความรู้สำหรับ อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชนใช้แนะนำประชาชนให้เข้าถึงการรักษาการแพทย์ทันเวลาและสามารถลดอัตราเสียชีวิตในพื้นที่ได้

 

References

บดินทร์ ขวัญนิมิตร. นิยามใหม่ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ. ใน: ศิวศักดิ์ จุทอง, กรีฑา ธรรมคัมภีร์, จิรวดี สถิตเรืองศักดิ์, อัสมา นวสกุลพงศ์, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ปริทัศน์ในศตวรรษ 21. สงขลา; ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์; 2560: 135.

World Health Organization. Sepsis. [internet]. 2020 [cited 2023 Jan 06]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis

Robert E. Rakel, David P. Rakel. Textbook of Family Medicine. Philadelphia: Elsevier; 2016: 191.

แนวทางตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2561. Inspection Guideline [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://inspection.dms.moph.go.th

เอกสารแผนงานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ปีงบประมาณ 2563 (Service Plan Sepsis). อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2563.

สรุปรายงานข้อมูลอัตราป่วยและเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชนปี 2561-2563. งานเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชน กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน. อุดรธานี: ศูนย์ข้อมูล สารสนเทศโรงพยาบาลอุดรธานี; 2563.

แนวทางเวชปฏิบัติ Clinical Practice Guideline (CPG) เครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2564. คณะกรรมการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline).อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2564.

สุภาภรณ์ บุญยานาม. การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชน. ว.การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2565; 30: 341-351.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาลระเบียบวิธีวิจัยและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์; 2555.

นิตย์ ทัศนิยม. เอกสารคำสอนเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. ว.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2558: 2(1): 29-48.

Benjamin Bloom. Mastery learning [internet]. 1971 [cited 2022 Nov 03]. Available from: http://www.ibe.unesco.org/sites/default/files/bloome.pdf

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559: 83-84.

Fred F.Ferri. Clinical Advisor. Philadelphia: Elsevier; 2015: p 1065.

Reinhart K., Daniels R., Kissoon N., Flavia R. Machado, Raymond D. Schachter, L.L.B., et al. Recognizing Sepsis as a Global Health Priority [internet]. 2017 [cited 2023 Feb 21]. Available from https://www.nejm.org/doi/full/1 0.1056/nejmp1707170.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31