การพัฒนากระบวนการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาโดยใช้แนวคิดลีน (Lean concept)

ผู้แต่ง

  • ภาวนา ดาวงศ์ศรี กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ ห้องตรวจตา โรงพยาบาลอุดรธานี
  • รัตนา ค้าขาย กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ ห้องตรวจตา โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

กระบวนการลีน, กระบวนการให้บริการ, ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) นี้ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปรับปรุงกระบวนการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาโรงพยาบาลอุดรธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบขั้นตอน ระยะเวลารอคอย ความพึงพอใจของผู้ป่วยและบุคลากรห้องตรวจตาก่อนและหลังการนำกระบวนการให้บริการที่พัฒนาขึ้นจากการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน (Lean concept) กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรห้องตรวจตา 21 คน และผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา 38 คน คำนวณโดยโปรแกรม G*Power เลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลเดือนมีนาคม 2565 - มิถุนายน 2565 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความพึงพอใจ แบบบันทึกการจับเวลากิจกรรมย่อยของการให้บริการ แผนผังสายธารแห่งคุณค่า (value stream mapping: VSM) และเครื่องมือวิเคราะห์ความสูญเปล่า DOWNTIME ตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบบันทึกการจับเวลาเท่ากับ 1.0 ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรก่อนการใช้ลีนเท่ากับ 0.69 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยก่อนการใช้ลีนเท่ากับ 0.68 เปรียบเทียบเวลาเฉลี่ยระยะเวลารอคอยในกระบวนการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ป่วยและบุคลากร ก่อนและหลังการพัฒนา โดยใช้สถิติ Mann Whitney U-test

ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนสามารถลดขั้นตอนย่อยจาก 13 ขั้นตอนเหลือ 9 ขั้นตอน เวลารอคอยลดลง โดยเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในกระบวนการ (process time: PT) ลดลงจาก 58.25 นาที เหลือ 51.98 นาที เวลารอคอยเฉลี่ยทั้งกระบวนการ (delayed time: DT) ลดลงจาก 306.98 นาที เหลือ 137.55 นาที ระยะเวลาตั้งแต่กดคิวจนถึงพบแพทย์ (pre-doctor time) ลดลงจาก 73.29 นาที เหลือ 48.40 นาที รวมรอบเวลาทั้งหมดที่ใช้จากจุดเริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการให้บริการ (total turnaround time: TAT) ลดลงจาก 365.23 นาที เหลือ 189.53 นาที คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพิ่มขึ้นจาก 34.05 คะแนน (S.D.=2.95) เป็น 41.74 คะแนน (S.D.=2.51) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) คะแนนความพึงพอใจของบุคลากรหลังการประยุกต์ใช้แนวคิดลีนมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 56.90 คะแนน (S.D.=3.08) เป็น 65.90 คะแนน (S.D.=5.88) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)

 

References

โรงพยาบาลอุดรธานี. ห้องตรวจตา. สถิติการให้บริการห้องตรวจตา โรงพยาบาลอุดรธานี ปีงบประมาณ 2564. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ จังหวัดอุดรธานี รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2564; วันที่ 4-6 สิงหาคม 2564; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลอุดรธานี ปีงบประมาณ 2566; วันที่ 15-16 ธันวาคม 2565; โรงแรมหนองคายธาวิลล่า จังหวัดหนองคาย.

Womack, J.P., Jones, D.T. Lean thinking: Banish waste and create wealth in your corporation. New York: Free Press; 2003.

โรงพยาบาลอุดรธานี. ห้องตรวจตา. สถิติการให้บริการห้องตรวจตา โรงพยาบาลอุดรธานี เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ. 2564 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2565. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2565.

สิทธิพรร์ สุนทร, วัชรินทร์ สุทธิศัย, พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส, รัชนิดา ไสยรส, ภัณฑิลา น้อยเจริญ. แนวคิดและกระบวนทัศน์ในการกำหนดขนาดตัวอย่างด้วย G*Power. ว.สหวิทยาการวิจัย 2562;8(1):29-39.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. เลื่อนไหล เลียบเลาะ เจาะลึก ภาค 2 . นนทบุรี: ปรมัตถ์การพิมพ์; 2553.

เกตนิภา สนมวัฒนะวงศ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการการรับใหม่ผู้ป่วยอายุรกรรมงานผู้ป่วยใน 2 โรงพยาบาลท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ [รายงานอิสระ].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

ศศินภา บุญพิทักษ์, กรณ์ปภพ รัตนวิจิตร. การศึกษาประยุกต์ใช้แนวความคิดลีนเพื่อลดปัญหาการรอคอย:กรณีศึกษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. ว.มหาวิทยาลัยทักษิณ 2561; 21(2):21-31.

ชญาภา เยยโพธิ์. การพัฒนารูปแบบบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน โรงพยาบาล พยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index. php/MKHJ/article/view/247825

สุธี สฤษฎิ์ศิริ. การนำแนวคิด LEAN มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการบริการในคลีนิกเบาหวานของศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. ว.สาธารณสุขศาสตร์ 2557;44(1): 45-57.

อุไรวรรณ วรรณศิริ. การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนกับภาคบริการทางการแพทย์เพื่อลดความสูญเปล่าของระบบ กรณีศึกษาแผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลตติยภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/1545/973

บานเย็น มณียศ, ชัยฤทธิ์ ทองรอด. การจัดการลีน โลจิสติกส์ในงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลยันฮี(Lean Logistics Management for out-patient ward of Yanhee Hospital) [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2560.

วิชชุลดา ภาคพิเศ, จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์. การนำระบบลีนมาประยุกต์ใช้ในงานบริการผู้ป่วยนอกของศูนย์บริการสาธารณสุข 68 สะพานสูง. ว.เภสัชกรรมไทย 2562;11(1):18-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31