การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุชานันท์ โพธิ์สูง หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ณฐมน ภัทรเกริกชัย หอผู้ป่วย joint unit โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, แนวปฏิบัติการพยาบาล, ปอดอักเสบ, การใช้เครื่องช่วยหายใจ, ทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลอุดรธานี ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะตาม Soukup model (2000) กลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลอุดรธานี  จำนวน 15 คน และทารกแรกเกิด ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 72 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล    ผลการใช้แนวปฏิบัติ และแบบประเมินความพึงพอใจและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.91 แนวปฏิบัติการพยาบาล 6 แนวปฏิบัติหลัก รายละเอียด 39 ข้อย่อย ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ได้คะแนนเฉลี่ยในภาพรวม 4.45 คะแนน ในระดับความพึงพอใจมาก การประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ได้คะแนนเฉลี่ย 57.60 มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับสูง ความสามารถของพยาบาลในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ตามข้อปฏิบัติ เป็นร้อยละ 100 พบอัตราการเกิด VAP 5.15 ครั้ง/1000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ

สรุปได้ว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ปฏิบัติเป็นมาตรฐานในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดอย่างมีประสิทธิภาพ

 

References

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์. Ramathibodi Handbook of Neonatology. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2565. 182-185.

Apisarnthanarak, A., Holzmann-Pazgal, G., Hamvas, A., Olsem, M., Fraser, V.J. Ventilator-associated Pneumonia in extremely preterm neonates in a neonatal intensive care unit: Characteristics, risk factors, and outcomes. Pediatric 2003;112(6):1283-1289.

Alriyami, A., Kiger, JR., Hooven, TA. Neoreviews (2022) 23 (7): e448–e461. [Internet]. [Access 25th December 2022]. Available from https://doi.org/10.1542/neo.23-7-e448.

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย, สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย, ชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. แนวเวชปฺฏิบัติการดูแลรักษาและป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาลและปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจในผู้ใหญ่ในประเทศไทย. จุลสารสมาคมเวชบำบัดวิกฤติแห่งประเทศไทย 2549;15(1):10-21.

ณัฐกา รุจีรไพบูลย์. ปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์ของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด. ว.วิชาการแพทย์เขต 11 2562;33(2):233-242.

ลัคนา นาอุดม, ทิวากร กล่อมปัญญา, วรนาฎ จันทร์ขจร, วราภรณ์ ประทุมนันท์, มนัสวี พันธวาศิษฏ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยทารกแรกเกิด. ว.วิชาการสาธารณสุข 2562;42(2):36-42.

Almuneef, M., Memish, Z., A., Balkhy, H.H, Alalem, H., Abutaleb, A. ventilator-associated pneumonia in a pediatric intensive care unit in Saudi Arabia: 30-month prospective surveillance. Infect Control and Hosp Epidemiol 2004;25(9):753-758.

โรงพยาบาลอุดรธานี. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล.รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลประจำปี 2565. อุดรธานี: กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลอุดรธานี; 2565.

Soukup, S. M. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am 2000;35(2): 301-309.

จุฬีพรรณ การุโณ.การพัฒนามาตรฐานการพยาบาลเพื่อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด หออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์; 2558.

ธัญญากร นันทิยกุล. โรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดก่อนกำหนด ณ หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช อัตราการเกิดปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์. ว.วิชาการสาธารณสุข 2551; 17(3): 724-735.

มาลัย มั่งชม. Prevention of Nosocomial Infection: Ventilator Association Pneumonia (VAP) & Carbapenam Resistant Enterobacteriaceae (CRE). Good Clinical Practice in Neonatology. กรุงเทพฯ: ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย; 2560:233-241.

วีณา จิระแพทย์. การพยาบาลทารกที่อยู่ในเครื่องหายใจ. Important Issues in Neonatology. กรุงเทพฯ: ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย; 2564: 107-114.

ศุภวัชร บุญกษิดิ์เดช. แนวทางป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายสวนหลอดเลือดและปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. Practice towards Good Outcomes. กรุงเทพฯ: ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย; 2565: 247-262.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรคสถาบันบำราศนราดูร. คู่มือวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล; นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561: 21-32.

สมพิศ ปุระชะคึง, วัฒนา พุทธิสวัสดิ์, พัชราวลัย เวทศักดิ์, สมบูรณ์ ชัยชนะ, สายสมร พลดงนอก. ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤติ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ว.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2550; 30(2):20-27.

Center for Disease Control and Prevention [CDC]. Guideline for prevention health-care associated pneumonia. Morbidity and Mortality Weekly Report 2004;53:1-36.

National Nosocomial Infections Surveillance System [NNIS]. National Nosocomial Infections Surveillance System report, data summary from January 1992 through June 2004. Am J Infect Control 2004:32:470-485.

Graneheim, UH, Lundman, B. Qualitative content analysis in nursing research: concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse Educ today 2004; 24(2): 105-112.

โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์.คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประจำปี 2556. นราธิวาส: กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์; 2556.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=656&articlegroup_id=146.2551.

สมหมาย คชนาม. เอกสารประกอบประชุมวิชาการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรพัฒนาศักยภาพนักวิจัยสู่การปฏิบัติและพัฒนางานประจำ วันที่ 14-16 ธันวาคม 2565. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2565.

โรงพยาบาลอุดรธานี. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. มาตรฐานการล้างมือ อ้างอิงตามแนวทางของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. อุดรธานี: กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอุดรธานี; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31