การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ปัญญาธร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ณัฐวรรณ ไชยมีเขียว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • รวีวรรณ เผ่ากัณหา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • จุฑารัตน์ เสาวพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

แกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน, การดูแลผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรังติดเตียง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน     ในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียงและผลลัพธ์ของการพัฒนา ดำเนินการในพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอเมือง                  จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนมิถุนายน 2564 ถึงพฤษภาคม 2565 ผู้ให้ข้อมูลหลักคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง            เป็นแกนนำสุขภาพครอบครัว 30 คนและแกนนำสุขภาพชุมชน 27 คน รวม 57 คน และผู้ให้ข้อมูลรองเป็นผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง 30 คน รวมทั้งสิ้น 87 คน กระบวนการวิจัยประกอบด้วย 4 ระยะ คือ การวางแผนกระบวนการพัฒนา การสังเกตผลและการสะท้อนกลับ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม ประชุมเชิงปฏิบัติการและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา paired T- test และวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย สถานการณ์ผู้ป่วยติดเตียงมีข้อติดร้อยละ 23.33 แผลกดทับร้อยละ 13.33 การดูแลของครอบครัวผู้ดูแลขาดความรู้ ขาดทักษะการดูแลและขาดอุปกรณ์จำเป็น ขาดคนช่วยเหลือและการจัดสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม การดูแลของชุมชนโดยบริบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชนกิจกรรมมีความทับซ้อนกัน ครอบครัวหวังพึ่งชุมชนไม่พึ่งตนเอง ได้แนวทางการพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การประเมินปัญหา การประชุมเชิงปฏิบัติการ ฝึกปฏิบัติและ            การเยี่ยมบ้านและการพัฒนาแกนนำสุขภาพชุมชน ประกอบด้วย การฝึกวิเคราะห์ปัญหา เขียนโครงการ             สร้างข้อตกลงของชุมชนและการเยี่ยมบ้าน  ผลลัพธ์ของการพัฒนา แกนนำสุขภาพครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้น (ก่อนพัฒนา x̄= 20.00±0.71 หลังพัฒนาx̄= 26.53±1.41) และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้น (ก่อนพัฒนา x̄= 25.67±0.41 และหลังพัฒนา x̄= 32.80 ±0.24) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p‹ 0.01) ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น แกนนำสุขภาพชุมชนมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นด้านการวิเคราะห์ปัญหา การเขียนโครงการ เกิดข้อตกลงของชุมชนและเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

          จากผลการวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอย่างต่อเนื่องทุกปี จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน ทีมสหวิชาชีพและเสริมสร้างความมีจิตอาสาของคนในชุมชน ในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง

References

กองโรคไม่ติดต่อ.จำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อปี2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php

ศกุนตลา อนุเรือง. ภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคในผู้สูงอายุ: สถานการณ์ ประเด็นท้าทายและการจัดการดูแล. ว.พยาบาลศาสตร์ 2560;29(2):1-14.

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. รายงานประจำปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://eh.anamai.moph.go.th/web-upload/

กรมกิจการผู้สูงอายุ. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๘๐) [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/laws/1/28/843

ณปภา ประยูรวงษ์. สถานการณ์แนวโน้มและการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงประเทศไทย. ว.ศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม 2565;2(2):14-25.

สุวรรณา วุฒิรณฤทธิ์, วลัยนารี พรมลา. การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. ว.พยาบาลทหารบก 2564;22(3):367-375.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ความเสี่ยงและผลกระทบต่อผู้สูงอายุในช่วง Covid-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://op.mahidol.ac.th/ga/posttoday-13/

ธวัชชัย สัตยสมบูรณ์, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารรสุขภาคใต้ 2563;7(2):232-243.

Nata Tubtimcharoon. Participatory action research: A Possible research method for developing sustainable tourism in Thailand. ว.ปัญญาภิวัฒน์ 2564;13(2):293-309.

พิศมัย บุติมาลย์, แสงอรุณ อิสระมาลัย, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่บ้าน. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38(3):79-91.

จิตรกร วนะรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชมรมจริยธรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา. ว.วิชาการสาธารณสุข 2564;30(2):285-294.

พิสมัย สุระกาญจน์, ดารุณี จงอุดมการณ์. บทบาทของผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพของสมาชิกครอบครัวที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง: การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์แบบการวิจัยเชิงคุณภาพ. ว.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 2562;26(2):83-92.

ณฐกร นิลเนตร, เพ็ญวิภา นิลเนตร. ภาวะสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. ว.พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2562;20(39):36-44.

ณิชารีย์ ใจคำวัง, วรดา จักษุพรรณ, วลีพร น้อยเจือ, สกาวเดือน ชุ่มชุมภู, อินธิรา ตระกูลฤกษ. ศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. ว.วิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2562;(1):1–19.

สายใจ จารุจิตร, ราตรี อร่ามศิลปะ, วรรณศิริ ประจันโน. รูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงตามปัญหาและความต้องการของผู้ดูแล. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า 2562;30(1):54-68.

นงนุช โอบะ, รุ่งเพชร หอมสุวรรรณ์, ชญาภา บุญลือ. ถอดบทเรียนการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในครอบครัวของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย. ว.วิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2563;22(1);95-109.

จรรยา เจนสวัสดิ์พงศ์. ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. ว.วิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2564;1(3):49-58.

เพ็ญนภา มะหะหมัด. รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. ว.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561;10(2):51-63.

ประหยัด ธุระแพง, ปุริมพรรษ มหาเสนา, เรืองศิริ ภานุเวศ, ศิริรัตน อินทรเกษ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. ว.วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2561;1(2):15-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30