ผลของการให้ยามอร์ฟีนทางชั้นใต้ผิวหนังที่บ้านแก่ผู้ป่วยระยะท้ายโดยใช้ Opioids box : กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ริมชัยสิทธิ์ งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย, การให้ยามอร์ฟีนทางชั้นใต้ผิวหนังในผู้ป่วยระยะท้าย, Opioids box

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้ามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกและค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับยามอร์ฟีนทางชั้นใต้ผิวหนังที่บ้านโดยใช้ Opioids box ก่อนและหลังการเยี่ยมบ้าน ดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยระยะท้ายจำนวน 49 รายที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมิน Edmonton Symptom Assessment System ฉบับภาษาไทย และแบบบันทึก (drug related problems : DRPs) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired T-test

ผลการวิจัย ผู้ป่วยระยะท้ายส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี(ร้อยละ 61.12) โรคหลัก 3 อันดับแรกเป็นมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 16.33 มะเร็งปอด ร้อยละ 12.25 และติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 12.25 พบปัญหาจากการใช้ยา 12 ราย ร้อยละ 24.49 ได้แก่ การใช้ยาไม่ตรงตามแพทย์สั่ง (ร้อยละ 33.33) ผลข้างเคียงจากการใช้ยา (ร้อยละ 25.00) การใช้ยาในขนาดต่ำ (ร้อยละ 16.67) การเกิดอันตรกิริยาของยากับสมุนไพร (ร้อยละ 16.67) และ การสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 8.33) ส่งผลให้ไม่ได้ผลจากการรักษา (ร้อยละ 66.67) เกิดอาการไม่พึงประสงค์จาการใช้ยา (ร้อยละ 33.33)  วิธีการจัดการปัญหาได้แก่การให้คำแนะนำการใช้ยา ทวนสอบวิธีการบริหารยามอร์ฟีน ประสานรายการยา และใช้สื่อความรู้ด้านยา ผลลัพธ์ทางคลินิกเปรียบเทียบก่อนและหลังเยี่ยมบ้าน 72 ชั่วโมงพบว่าอาการทางคลินิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปวด เหนื่อยอ่อนเพลีย คลื่นไส้ วิตกกังวล ง่วงซึม/สะลึมสะลือ เบื่ออาหาร   สบายดีทั้งกายใจและเหนื่อยหอบ (p-value < 0.001 ทุกรายการ) ส่วนอาการซึมเศร้าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p-value = 0.139) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประหยัดเวลาเดินทางมาโรงพยาบาลมากกว่า 240 นาที ร้อยละ 48.98 ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า 300 บาทต่อครั้ง ร้อยละ 55.10

สรุป การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะท้ายที่ใช้ยามอร์ฟีนทางชั้นใต้ผิวหนังโดยใช้ Opioids box ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีอย่างมีนัยสำคัญ ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวได้

References

Worldwide Palliative Care Alliance. Global atlas of palliative care at the end of life [Internet]. World Health Organization; 2020 [cited 2023 June 19]. Available from: https://www.who.int/nmh/Global_Atlas_of_Palliative_Care.pdf

ฐานข้อมูล ระบบสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต] Health data center; HDC service; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=b08560518ca0ebcaf2016dab69fb38b5&id=203af802132eb248d8bf1da-c725113bf#

กระทรวงสาธารณสุข. กองบริหารการสาธารณสุข. แนวทางการบริหารจัดการระบบยาในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dmsic.moph.go.th/dmsic/admin/files/userfiles/files/palliativecaredrugsystem2561_edited030562.pdf

Joint Commission of Pharmacy Practitioners. The Pharmacists’ Patient Care Process [Internet]. 2014. [cited 2023 June 18]. Available from: https://jcpp.net/patient-care-process/

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=3914

กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557. กรุงเทพฯ; 2557.

กระทรวงสาธารณสุข. กองบริหารการสาธารณสุข. แนวทางการจัดการระบบยาในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง(Palliative care) ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว. วิธีการประเมินอาการต่างๆโดยใช้แบบประเมิน Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2023]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/fammed/th/palliativecare/tools/doctorpalliative2th

พิจักษณา มณีพันธุ์, กรกมล รุกขพันธ์. ปัญหาด้านยาของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการจัดการปัญหาโดยเภสัชกร. ว.เภสัชกรรมไทย 2561; 10(2): 551-562.

อัทธยา พิจอมบุตร, รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์, นราวดี เนียมหุ่น. การพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมการจัดการความปวดโดยญาติซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย. ว.เภสัชกรรมไทย 2566; 15(1): 73-88.

รุจิรา อนุสุริยา. การศึกษาผลของการใช้ยามอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อมเพื่อรักษาอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยระยะท้าย โรงพยาบาลอุดรธานี. ว.การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2560; 25(2): 190-198.

ทิพย์สุคนธ์ เจริญพันธ์, จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์. การพัฒนาบทบาทเภสัชกรในทีมสหวิชาชีพสำหรับการจัดการอาการปวดด้วยยาในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม อย่างต่อเนื่องจนถึงที่บ้าน โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. ว.ไทยไภษัชยนิพนธ์ 2022; 17(2): 1-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30