ผลการให้ Tranexamic Acid ทางหลอดเลือดดำร่วมกับทางข้อเข่ากับการให้ยาทางหลอดเลือดดำอย่างเดียวในการลดการสูญเสียเลือดภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
คำสำคัญ:
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ปริมาณการสูญเสียเลือด, ยา Tranexamic acidบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารยา Tranexamic acid ให้ทางหลอดเลือดดำร่วมกับทางข้อเข่ากับการให้ยาทางหลอดเลือดดำอย่างเดียวในการลดปริมาณการสูญเสียเลือดภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลวานรนิวาส กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลวานรนิวาส ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2565 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ให้ Tranexamic acid ทางหลอดเลือดดำร่วมกับทางข้อเข่าและกลุ่มควบคุมที่ให้ทางหลอดเลือดดำทางเดียว สุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้ตัวอย่างกลุ่มละ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัด (calculated blood loss) ระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent T-test
ผลการศึกษา พบว่าคุณลักษณะของตัวอย่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน ดังนี้ เป็นเพศหญิงทั้งหมดทั้งสองกลุ่ม อายุเฉลี่ย 65.32±7.39 ปีและ 65.56±6.91 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 26.12±4.69 kg/m2 และ 25.07±4.20 kg/m2 มีโรคประจำตัวร้อยละ 72.00 และร้อยละ 60.00 ASA classification II ร้อยละ 72.00 และร้อยละ 60.00 ระยะเวลาในการผ่าตัดเฉลี่ย 120.0±5.77 นาทีและ 122.40±12.34 นาที ระยะเวลาที่ใช้สายรัดห้ามเลือดเฉลี่ย 120.0±5.77 นาทีและ 123.60±13.50 นาที ความเข้มข้นเลือดก่อนผ่าตัดเฉลี่ยเท่ากับ 35.96±4.15% และ 35.52±3.23% ตามลำดับ ผลลัพธ์การผ่าตัดพบว่ากลุ่มทดลองสูญเสียเลือดใน 24 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ( =215.76±146.88 ml และ =217.27 ml±145.81 ml) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ( =422.53±222.09 ml และ =422.53±222.09 ml) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 และ p<0.001 ตามลำดับ) โดยพบว่ากลุ่มทดลองมีการให้เลือด 1 ยูนิต ร้อยละ 8.00 แต่ในกลุ่มควบคุมมีการให้เลือด 1 ยูนิต ร้อยละ 44.00 แต่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทั้งสองกลุ่ม
สรุป การให้ Tranexamic acid ทางหลอดเลือดดำร่วมกับทางข้อเข่าสามารถลดการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัดข้อเข่าเทียมดีกว่าให้ทางหลอดเลือดดำเพียงทางเดียว
References
ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2554 [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thairheumatology.org/phocadownload/36/Guideline_003.pdf
Banerjee S, Issa K, Kapadia BH, Khanuja HS, Harwin SF, Mclnerney VK, et al. Intraoperative nonpharmacotherapeutic blood management strategies in total knee arthroplasty. J Knee Surg 2013;26(6):387-393.
Bong MR, Patel V, Chang E, Issack PS, Hebert R, Di Cesare PE. Risks associated with blood transfusion after total knee arthroplasty. J Arthroplasty 2004;19(3):281-287.
Mutsuzaki H, Ikeda K. Intra-articular injection of tranexamic acid via a drain plus drain-clamping to reduce blood loss in cementless total knee arthroplasty. J Orthop Surg Res 2012;7(32):1-6.
Alshryda S, Mason J, Sarda P, Nargol A, Cooke N, Ahmad H, et al. Topical (intra-articular) tranexamic acid reduces blood loss and transfusion rated following total hip replacement: a randomized controlled trail (TRANX-H). J Bone Joint Surg Am 2013;95(21): 1969-1974.
Friedman R, Homering M, Holberg G, Berkowitz S. Allogeneic blood transfusions and postoperative infections after total hip or knee arthroplasty. J Bone Joint Surg Am 2014; 96(4):272-278.
Silliman CC, Fung YL, Ball JB, Khan SY. Transfusion-related acute lung injury (TRALI): current concepts and misconceptions. Blood Rev 2009;23(6):245-255.
Roy N, Smith M, Anwar M, Elsworth C. Delayed release of drain in total knee replacement reduces blood loss. A prospective randomized study. Acta Orthrop Belg 2006;72(1):34-38.
Hiippala ST, Strid LJ, Wennerstrand MJ, Arvela JV, Mantyla SK, Ylinen J, et al. Tranexamic acid (Cyklokapron) reduces perioperative blood loss associated with total knee arthroplasty. Br j Anaesth 1995;74(5):534-537.
Tobias JD. Strategies for minimizing blood loss in orthopedic surgery. Semin Hematol 2004;41(1Suppl1):145-156.
Hiippala ST, Strid LJ, Wennerstrand MI, Arvela JV, Niemela HM, Mantyla SK, et al. Tranexamic acid radically decreases blood loss and transfusions associated with total knee arthroplasty. Anesth Analg 1997;84(4):839-844.
Dang P, Schwarzkopf R. Tranexamic acid and total knee arthroplasty. Ann Orthop Rheumatol 2013;1(1):1001.
Tai TW, Yang CY, Jou IM, Lai KA, Chan CH. Temporary drainage clamping after total knee arthroplasty: a meta-analysis of randomized controlled trials. J Arthroplasty 2010;25(8):1240-1245.
Shen PC, Jou Im Lin YT, Lai KA, Yang CY, Chern TC. Comparison between 4-hour clamping drainage and nonclamping drainage after total knee arthroplasty. J Arthroplasty 2005; 20(7):909-913.
Mi B, Liu G, Zhou W, Lv H, Liu Y, Zha K, et al. Intra-articular versus intravenous tranexamic acid application in total knee arthroplasty: a meta-analysis of randomized controlled trials. Arch Orthop Truama Surg 2017;13(7):997-1009.
Nielsen CS, Jans O, Orsnes T, Foss NB, Troelsen A, Husted H. Combined intra-articular and intravenous tranexamic acid reduces blood loss in Total knee arthroplasty: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. J Bone Joint Surg Am 2016;98:835-841.
Nadler SB, Hidalgo JH, Bloch T. Prediction of blood volume in normal human adults. Surgery 1962;51:224–232.
ชนากานต์ บุญนุช, ยุวดี เกตสัมพันธ์, สุทธิพล อุดมพันธุรัก, จุฬาภรณ์ พลเอี่ยม, ปรีชญา พลเทพ. ขนาดกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเชิงปริมาณ. เอกสารชุมชนนักปฏิบัติ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิริราช; 2554.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2556.
Erskine JG, Fraser C, Simpson R, Protheroe k, Walker ID. Blood loss with knee joint replacement. J R Coll Surg Edinb 1981;26(5):295-297.
Maalouly J, Assaad DE, Ayoubi R, Tawk A, Darwish M, Aouad D, et al. Efficacy and safety of systemic tranexamic acid administration in total knee arhtroplasty: A case series. Int J of Surg Case Rep 2020;73:90-94.
Tsukada S, kurosaka K, Nishino M, Maeda T, Yonekawa Y, & Hirasawa N. Intra-articular tranexamic acid as an adjunct to intravenous tranexamic acid for simultaneous bilateral total knee arthroplasty: a randomized double-blind, placebo-controlled trial. BMC Musculoskeletal Disord 2019;20(464):1-7.
Hart A, Khalil JA, Carli A, Huk O, Zukor D, Antoniou J. Blood transfusion in primary total hip and knee arthroplasty: Incidence, risk factors, and thirty-day complication rates. J Bone Joint Surg AM 2014;96(23):1945-1951.
Noticewala MS, Nyce JD, Wang W, Geller JA, Macaulay W. Predicting need for allogeneic transfusion after total knee arthroplasty. J Arthroplasty 2012;27(6):961-967.
Mufarrih Sh, Qureshi NQ, Ali A, Malik AT, Naim H, Noordin H. Total knee arthroplasty: risk factors for allogeneic blood transfusions in the south Asian population. BMC Musculoskelet Disord 2017;18(1):359.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร