ผลของกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อความรู้และทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • สุภาพักตร์ หาญกล้า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • นงนุช บุญมาลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • อัญชลี อ้วนแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กัตติกา วังทะพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • วรนุช ไชยวาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ไม่พร้อม , การป้องกันการตั้งครรภ์ , การตั้งครรภ์วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยก่อนทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติของวัยรุ่นที่มีผลต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และเพื่อเปรียบเทียบผลของกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่มีต่อความรู้และทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตเทศบาลเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นนักเรียนที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ครบตามกำหนด ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 58 คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมจำนวน 8 กิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2) ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.75 3) ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 4) ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 5) ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired T-test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 58 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.1 อายุอยู่ระหว่าง 14-16 ปี มีแฟนแล้วร้อยละ 44.8 และเคยใช้วิธีการคุมกำเนิดร้อยละ 32.8 ก่อนการทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำและปานกลาง คะแนนความรู้เรื่องการคุมกำเนิดอยู่ในระดับต่ำ คะแนนทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดอยู่ในระดับปานกลาง หลังการทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการตั้งครรภ์อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนความรู้เรื่องการคุมกำเนิดอยู่ในระดับต่ำ คะแนนทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และทัศนคติต่อการคุมกำเนิด ก่อนและหลังการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคะแนนความรู้เรื่องการคุมกำเนิดหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.006 สรุปให้เห็นว่ากิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม สามารถพัฒนาความรู้เรื่องการคุมกำเนิดได้

References

กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. สํานักอนามัยการเจริญพันธุ์. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น นโยบายแนวทางการดําเนินงานและติดตามประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.

ธนิดา ผาติเสนะ, จิรารัตน์ วิเศษสัตย์, ธิดาพร งวดชัย, อัจฉราพรรณ ไทยภักดี. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา .ว.ราชพฤกษ์ 2565;20(1):71-81.

ชลดา กิ่งมาลา, เอื้อจิต สุขพูล, ภาวิณี แพงสุข, วัชรีวงศ์ หวังมีน. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสารการสร้างแรงจูงใจและพัฒนาทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดสุรินทร์. ว.การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2562;27(2):58-65.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยฉบับสมบูรณ์ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2563.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2562. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ปฐมพร โพธิถาวร. ผลการจัดกิจกรรมฉลาดรู้ฉลาดคิดป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล. ว.สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563;5(1):33-49.

กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี. โครงการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นและอนามัยเจริญพันธุ์แบบบูรณาการ. อุดรธานี: ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี; 2565.

ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นเขตสุขภาพที่ 8 โดยศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี. อุดรธานี: ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี; 2562.

Cochrane WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1997.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. โครงการสนับสนุนการบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; [มปป.]

Bloom BS. Handbook on formative. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prention Hall; 1971.

เปรมวดี คฤหเดช. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้การคุมกำเนิดต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ. ว.เกื้อการุณย์ 2560;24(2):145-61.

เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, สุทิน ชนะบุญ, คนธ์พงษ์ คนรู้ชินพงศ์. ความรู้ ทัศนคติ ความตั้งใจ และปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยของวัยรุ่นจังหวัดขอนแก่น. การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557; วันที่ 11-13 มิถุนายน 2557. หน้า 470-477.

อังศินันท์ อิทรกําแหง, ธัญชนก ขุมทอง. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสําหรับสตรีไทยวัยรุ่นอายุ 15-21 ปี. ว.พยาบาลสาธารณสุข 2560;31(3):1-18.

เพียรศรี นามไพร. ความรู้ และเจตคติ ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม 2560;14(3):67-75.

ภาสิต ศิริเทศ, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, ศุภชัย ปิติกุลตัง, กรวรรณ ยอดไม้. ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ว.สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2560;47(3):241-54.

พัชนียา เชียงตา, ศิริวรรณ ทุมเชื้อ, มัณฑนา มณีโชติ, สุภัสสร เลาะหะนะ, พรพรรณ พุ่มประยูร, ศิริธร ยิ่งเรงเริง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมภาวะทางเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เขตเทศบาล เมืองสระบุรี. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2561;34(2):101-11.

ชลดา กิ่งมาลา ทัศนีย์ รวิวรกุล, อาภาพร เผ่าวัฒนา. ผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิง. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2558;31(5):25-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30