การใช้ระบบ Paperless ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ

ผู้แต่ง

  • วิทยา ไชยจันพรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
  • ทศพร ทองย้อย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
  • มลินา ปฐมเจริญสุขชัย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

ระบบ Paperless, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ระบบ Paperless ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ แพทย์ พยาบาล และทีมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบ Paperless จำนวน 38 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ระบบ paperless และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ระบบ Paperless ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรผู้ใช้งานระบบ paperless จำนวน 38 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.58 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 97.37 มีประสบการณ์ในการใช้งานระบบ paperless ส่วนใหญ่อยู่ที่ระยะเวลา 12 – 18 เดือน ร้อยละ 71.05 การใช้ระบบ paperless ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อช่วยทำให้การทำงานและการดูแลผู้ป่วยนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย 2) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บเอกสารข้อมูลผู้ป่วย 3) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลของผู้ป่วย 4) ช่วยให้เกิดความประหยัดในด้านวัสดุอุปกรณ์ และ 5) ช่วยลดความผิดพลาดในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วย ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาการใช้ระบบ Paperless ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อต่อไป ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการต่อไปในอนาคต เพื่อการให้บริการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

ฐกร รัตนกมลพร. ดิทโต้ เปลี่ยนเอกสารสู้ดิจิทัล ลดกระดาษ ลดคาร์บอน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/social/1013028

ณัฐหทัย นิรัติศัย, ณัฐชยา กำแพงแก้ว.ระบบสาธารณสุขไทย : ความท้าทายในสถานการณ์วิกฤติ. ว. มจร การพัฒนาสังคม 2564;6(3):174-188.

จารุจรรย์ ลาภพานิช. รู้หรือไม่ ปีหนึ่งเราจะใช้กระดาษกันมากที่สุดกี่แผ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://urbancreature.co/save-papers-save- trees/

มูลนิธิศูนย์เพื่อการพัฒนา. ทำไมต้องประหยัดกระดาษ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://secretary.dms.go.th/secretary/paperless/data/2-2563.pdf

ธนวัฒน์ ชูวัน. การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อการนำระบบไร้กระดาษ (Paperless) มาใช้ในบริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จำกัด [รายงานการค้นคว้าอิสระ]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2563.

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ, ผกามาศ พีธรากร, ทินกฤต รุ่งเมือง. การศึกษาแนวทางการพัฒนาสำนักงานประหยัดกระดาษของสำนักงานอธิการบดี. ว.ศึกษาศาสตร์ มหาววิทยาลัยศิลปากร 2556;10(2):176-187.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบต่อสุขภาพและการเตรียมการด้านสาธารณสุขสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. นนทบุรี: โครงการผลิตสื่อและมัลติมีเดีย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2559.

ทิพย์วดี ทองอ่อน, วีระพันธ์ เกลี้ยงสิน. การพัฒนาระบบ paperless ในโรงพยาบาลป่าพะยอม [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก:http://data.ptho.moph.go.th/ptvichakarn62/uploads/50813_0502_20190606102830.pdf

Nastasi BK, Schensul SL. Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. J Sch Psychol 2005;43(3):177-195.

Elo S, Kyngäs H. The qualitative content analysis process. J Adv Nurs 2008;62(1):107-115.

Fernando H, Hewavitharana T, Perera A. Evaluation of Electronic Management (EDM)

systems for construction organizations. Moratuwa: Department of Civil Engineering University of Moratuwa Sri Lanka; 2019.

ยุทธนา กังแฮ. การประเมินโครงการระบบสำนักงานไร้กระดาษของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30