ความชุก อัตราการป่วยตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุของ โรงพยาบาลบึงกาฬ
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, กระดูกข้อสะโพกหัก, ความชุก, อัตราการป่วยตาย, โรงพยาบาลจังหวัดบึงกาฬบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นเชิงพรรณนาแบบบันทึกข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective descriptive study)เพื่อศึกษาความชุก (Prevalence rate) ของการเกิดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ วิธีการรักษาอัตราการเสียชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตใน 1 ปี หลังเกิดภาวะกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบึงกาฬแบบผู้ป่วยใน ศึกษาในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลบึงกาฬและได้รับการวินิจฉัยว่ากระดูกข้อสะโพกหัก มีรหัส ICD10 S7200-S7220 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 250 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ HOS-XP, ระบบฐานข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีของโรงพยาบาลบึงกาฬ สืบค้นข้อมูลการเสียชีวิตจากสำนักงานทะเบียนราษฎร์เทศบาลเมืองบึงกาฬ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเดี่ยวใช้ Chi-square test และ Fisher’s exact testหาปัจจัยที่มีผลต่อการตายภายใน 1 ปี ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุนาม (Multivariate logistic regression) รายงานความสัมพันธ์เป็นค่าอัตราส่วนแต้มต่อ (odds ratio) ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% Confidence Interval) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับp<0.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป IBMSPSS Statistics version 20
ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งหมด 250 คน คิดเป็นความชุกของการเกิดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุไทยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบึงกาฬ ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2563 จำแนกรายปี คิดเป็น 100.47, 67.92, 84.86, 100.19, 96.08 ต่อ 100,000 ประชากร ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.40 อายุเฉลี่ย 76.76± 8.80 ปี ตำแหน่งที่หักแบ่งเป็นกระดูกต้นขาส่วนต้นร้อยละ 58.40 กระดูกต้นขาส่วนคอร้อยละ 41.60 เสียชีวิตหลังจากกระดูกข้อสะโพกหักภายใน 1 ปี 58 ราย(ร้อยละ 23.20) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตหลังเกิดภาวะกระดูกข้อสะโพกหักใน 1 ปี ในผู้สูงอายุ คือ ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 80 ปี (AOR 2.35, 95%CI 1.28-4.32; p=0.006) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินเองได้ก่อนล้ม (AOR 2.59, 95%CI 1.22-5.50; p=0.013) ได้รับการรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด (AOR 3.61, 95%CI 1.47-8.86; p=0.005) มีโรคประจำตัวเป็นต่อมลูกหมากโต (AOR 0.26, 95%CI 0.07-1.06; p=0.043) ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาลนานกว่า 7 วัน (AOR 2.41, 95%CI 1.51-3.84; p<0.001)ภาวะแทรกซ้อนขณะนอนโรงพยาบาลด้วยอาการเพ้อ สับสน (AOR 2.57, 95%CI 1.30-5.11; p=0.007)
สรุป ความชุกของการเกิดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุไทยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบึงกาฬ ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2563 จำแนกรายปี คิดเป็น 100.47, 67.92, 84.86, 100.19, 96.08 ต่อ 100,000 ประชากร ตามลำดับ อัตราการป่วยตายใน 1 ปี ร้อยละ 23.20 ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเสียชีวิตใน 1 ปี คือ อายุมากกว่า 80 ปี ไม่สามารถเดินเองได้ก่อนล้ม การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด มีโรคประจำตัวเป็นโรคต่อมลูกหมากโต มีภาวะเพ้อสับสนขณะนอนโรงพยาบาลและนอนโรงพยาบาลนานกว่า 7 วัน
References
Lyritis GP. Epidemiology of hip fracture: the MEDOS study. Mediterranean osteoporosis study. Osteoporosis Int 1995;6(suppl 3):11-5.
Cooper C, Campion G, Melton L J III. Hip fractures in the elderly: a World-wide projection. Osteoporos Int 1992;2:285-9.
Gullberg B, Johnell O, Kanis JA. World-wide projections for hip fracture. Osteoporos Int 1997;7(5):407-13.
เรืองเดช พิพัฒน์เยาว์กุล. ผลลัพธ์หลังจากการเกิดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษา.
ว.แพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2016;31(2):71-83.
Vaseenon T, Luevitoonvechkij S, Wongtriratanachai P, Rojanasthein S. Long-Term Mortality After Osteoporotic Hip Fracture in Chiang Mai, Thailand. J Clin Densitom 2010; 13(1):63-67.
Sucharitpongpan W, Daraphongsataporn N, Saloa S, Philawuth N, Chonyuen P, Sriruanthong K, Waiwattana K, et al. Epidemiology of fragility hip fractures in Nan, Thailand. Osteoporos Sarcopenia 2019;5(1):19-22.
Huddleston JM, Whitford KJ. Medical Care of Elderly Patients with Hip Fractures. Mayo Clin Proc 2001;76(3):295-98.
Wilkins CH, Birge SJ. Prevention of osteoporotic fractures in the elderly. Am J Med 2005; 118(11):1190-95.
Dhanwal DK, Dennison EM, Harvey NC, Cooper C. Epidemiology of hip fracture: Worldwide geographic variation. Indian J Orthop 2011;45(1):15-22.
Chariyalertsak S, Suriyawongpisal P, Thakkinstain A. Mortality after hip fractures in Thailand. Int Orthop 2001;25(5):294-7.
ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-y60up
ข้อมูลผู้สูงอายุทั่วไป กองกิจกรรมผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610815306-3350.pdf
Ngamjarus C, Pattanittum P, n4Studies: application for sample size calculation in health science research. Version 2.2. App store; 2023.
Paul L. Epidemiology and predictors of fractures associated with osteoporosis. Am J med 1997;103(2):S3-S11.
เกียรติยศ จิตทรงบุญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตในช่วง 1 ปี ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุน โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม 2561;15(2):13-22.
Daraphogsataporn N, Saloa S, Sriruanthong K, Philawuth N, Waiwattana K, Chonyuen P, et al. One-year mortility rate after fragility hip fractures and associated risk in Nan, Thailand. Osteoporos Sarcopenia 2020;6(2):65-70.
Downey C, Kelly M, Quinlan FJ. Changing trends in the mortality rate at 1-year post hip fracture-a systematic review. World J Orthop 2019;10(3):166-75.
ยศ เขียวอมร. อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอัตราตายปีแรกของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ผ่าตัดในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. ว.แพทย์เขต 4-5. 2564;40(3):439-48.
Amphansap T, Nitiwarangkul L. One-year mortality rate after osteoporotic hip fractures and associated risk factors in Police general Hospital. Osteoporos Sarcopenia 2015;1(1): 75-79.
Wongworapitak C. 1-Year mortality in aged hip fracture patients after conservative treatment. ว.วิชาการเขต 11. 2559;30(4):345-55.
Suksrisai B, Linhavong J, Manonom S, Manorangsan S. Prevalence and Factars Affecting First ans Recurrent Hip Fracture in the Elderly: A Retrospective Study from Inpatients at Thammasat University Hospital. Thammasat Medical Journal 2020;20(4):275-85.
Brauer C, Morrison RS, Silberzweign SB, Siu AL. The cause of Delirium in patients with Hip fracture. Arch Intern Med 2000;160(12):1856-60.
Pollman CT, Mellingsaeter MR, Neerland BE, Naesheim TS, Aroen A, Watne LO. Orthogeriatric co-management reduces incidence of delirium in hip fracture patients. Osteoporos Int 2021;32:2225-33.
Dolan MM, Hawkes WG, Zimmerman SI, Morrison RS, Ann L, Baldini G, et al. Delirium on Hospital Admission in Aged Hip Fracture Patients Prediction of Mortality and 2-Year Functional Outcomes. Journal of Gerontology Medical Sciences 2000;55(9):M527-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร