สัดส่วนประชากรวัยทำงาน ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

ผู้แต่ง

  • อรพรรณ ชัยมณี กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การเข้ารักษาในโรงพยาบาล, ประชากรวัยทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนประชากรวัยทำงาน ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน และลักษณะโรคและการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ปี พศ. 2561 – 2564 โดยนำข้อมูลจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยที่เข้ามานอนพักรับการรักษาในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564  จำนวน 79,574 คน เป็นผู้ป่วยวัยทำงาน (อายุ 15-60 ปี) จำนวน 34,803 คน วิเคราะห์แนวโน้มสัดส่วนการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีของประชากรวัยทำงานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเข้ามานอนพักรับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยวัยทำงานกับลักษณะโรคและการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้สถิติ Chi-square

 

ผลการศึกษา: จากฐานข้อมูลผู้ป่วยวัยทำงานทั้งหมด 34,803 คน พบว่า โรคของระบบทางเดินหายใจเป็นโรคหลักที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากที่สุด เมื่อแยกตามกลุ่มอายุ พบว่า ผู้ป่วยวัยทำงานมีจำนวนมากสุด คิดเป็นร้อยละ 43.7 เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มสัดส่วนการเข้ามานอนพักรักษาของประชากรวัยทำงานในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ในช่วงปี พศ. 2561-2564 พบว่ามีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบการนอนพักรักษาด้วยโรคไส้ติ่งอักเสบและหลอดเลือดสมองตีบมากที่สุด และพบว่า ผู้ป่วยวัยทำงานเข้ารับการรักษาด้วยโรคหลัก ได้แก่ ไส้ติ่งอักเสบ ปอดติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อโควิด 19 และไข้เลือดออกสูงกว่าผู้ป่วยวัยเด็กและผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบความแตกต่างของการเข้ารับการรักษาด้วยหลอดเลือดสมองตีบและไตวายในผู้ป่วยวัยทำงานกับวัยเด็กและผู้สูงอายุ

 

สรุป: ผู้ป่วยวัยทำงานมีสัดส่วนการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มคนวัยทำงานซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองตีบและไตวาย ควรรณรงค์ป้องกันโรคติดเชื้อในสถานที่ทำงานเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติแรงงาน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/02.aspx

Kouvonen A, Koskinen A. National Trends in Main Causes of Hospitalization: A Multi-Cohort Register Study of the Finnish Working-Age Population, 1976–2010. PL๐S One 2014;9(11):e112314.

Daneilsson M, Berlin M. Health in the working-age population Health in Sweden: The National Public Health Report 2012. Scandinavian Journal of Public Health 2012;40(9):72–94.

รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำปีงบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th › downloads › operatingresult

George MG, Tong X, Bowman BA. Prevalence of cardiovascular risk factors and strokes in younger adults. JAMA neurology 2017;74(6):695–703.

Ekker MS, Boot EM, Singhal AB, Tan KS, Debette S, Tuladhar AM, et al. Epidemiology, aetiology, and management of ischaemic stroke in young adults. Lancet Neurol 2018;17(9):790–801.

Krishnamurthi RV, Moran AE, Feigin VL, Barker-Collo S, Norrving B, Mensah GA, et al. Stroke prevalence, mortality and disability-adjusted life years in adults aged 20-64 years in 1990-2013: Data from the global burden of disease 2013 study. Neuroepidemiology 2015;45(3):190–202.

Yahya T, Jilani MH. Stroke in young adults: Current trends, opportunities for prevention and pathways forward. American Journal of Preventive Cardiology 2020;100085

สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. ว.ประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2566;39(2):39-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30