ผลของโปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันเฉียบพลัน โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมการพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมอง, ปอดอักเสบจากการสำลักบทคัดย่อ
เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ( Quasi-experiment research ) แบบ 2 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการสำลักของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการสำลัก และ กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวทางปกติของหน่วยงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน ในหอผู้ป่วย stroke unit โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มละ 33 ราย จำนวนทั้งหมด 66 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการสำลัก ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก 2) การประเมินการกลืน 3) การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก และจัดทำแผ่นพับให้ความรู้ในเรื่องการบริหารกล้ามเนื้อที่ใช้การกลืน 10 ท่า 4 ) การประเมินผลลัพธ์การเกิดปอดอักเสบ ดำเนินการเก็บข้อมูล กลุ่มควบคุมจากเวชระเบียนผู้ป่วยระหว่างวันที่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ 2566 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ 2566 จำนวน 33 ราย และกลุ่มทดลองเก็บข้อมูล วันที่ 1 มกราคม พ.ศ 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ 2567 จำนวน 33 ราย การวิเคราะห์ข้อมูล ลักษณะทั่วไปและลักษณะทางคลินิกด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics ) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก ใช้ chi-square
ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไประหว่างสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการสำลักหลังการทดลองทั้งสองกลุ่มโดยใช้ chi –square พบว่า กลุ่มทดลองมีอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p = 0.038 ) โดยในกลุ่มควบคุมพบว่าอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการสำลักร้อยละ 9.1 ส่วนกลุ่มทดลองไม่พบเลย ( ร้อยละ 0.0 ) เปรียบเทียบคะแนนการปฏิบัติการพยาบาลตามโปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการสำลักของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการทดลอง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p <0.001 ) โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองเท่ากับ 26.80 คะแนน หลังการทดลอง เท่ากับ 30.80 คะแนน
สรุปและข้อเสนอแนะ การป้องกันปอดอักเสบจากการสำลักควรมีการประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ ก่อน และหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง และควรจะมีการแนะนำผู้ดูแลให้มีประเมินการสำลัก และการดูแลเพื่อป้องกันการสำลักอย่างต่อเนื่องไปจนถึงหลังจำหน่ายกลับบ้าน
References
Feigin VL,Stark BA. burden of stroke and its risk factors. A systematic analysis for the
Global Burden of Disease Study. Lancet Neurol 2019;20(10):795-820.
World Stroke Organization. Global Stroke Fact Sheet 2019 [Internet]. 2023 [Cited 2023 Oct 25]. Available from: http://www.world-stroke.org.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. โรคหลอดเลือดสมองอดีต ปัจจุบันและอนาคต. ว.ประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย2566;30(3):38.
Prendergast V, Hinkle JL. Oral care assessment tools and interventions after stroke. Stroke 2018;49(4):153-163.
Rofes L,Muriana D. risk factors and complications of oropharyngeal dysphagia in stroke patients:a cohort study. Neurogastroenterol Motil 2018;30(8):133-138.
กนกพรรณ งามมุข, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. การดูแลความสะอาดช่องปากในผู้ป่วยวิกฤตเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วชิรสารการพยาบาล 2559;18(2):1-11.
Mitchell BG. Strategies to reduce nonventilator-associated hospitalacquired Pneumonia : A systematic review. Infect Dis Health 2019;24(4),229-39.
โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานสถิติโรคหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พ.ศ.2563-2566. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2566.
N4 study Application. Two dependent proportion [Internet]. 2023[Cited 2023 Oct 28]. Available from:
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.chetta.n4Studies
สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: ธาเพรส; 2558.
กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก (Clinical practice guidelines: dysphagia). นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนดพับลิสชิ่ง; 2562. หน้า 83-89.
ศศิชา จันทร์วรวิทย์. การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณปากและลิ้นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=2450.
สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Clinical Practice Guidelines for Stroke Rehabilitation). ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2559.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. การพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับแพทย์และทีมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขต 7 ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น. นนทบุรี: คลังความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564.
Okubo PCMI, Fabio SRC, Domenis DR, Takayanagui OM. Using the national institute of health stroke scale to predict dysphagia in acute ischemic stroke. Cerebrovasc Dis 2012;33(6):501-7.
Buaphan F. The development of nursing practice guidelines for dysphagia assessment of older adults with stroke in Udonthani Hospital. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2012.
Minnerup J, Wersching H, Brokinkel B, Dziewas R, Heuschmann PU, Nabari D, et al. The impact of lesion location and lesion size on poststroke infection frequency. Neurol Neurosurg Psychiatry 2010;81(2):198-202.
Sorensen RT, Rasmussen RS, Overgaard K, Lerche A, Johansen AM, Lindhardt T.Dysphagia screening and intensified oral hygiene reduce pneumonia after stroke.J Neurosci Nurs 2013;45(3):139–46.
Tada A, Miura H. Prevention of aspiration pneumonia with oral care. Archives of Gerontology and Geriatrics 2012; 55(1): 16–21.
Moolkaew R. Effectiveness of implementing clinical practice guidelines for dysphagia management among stroke patients Theppanya hospital, Chiang Mai province [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2014.
จิราวรรณ เนียมชา, สมศักดิ์ เทียมเก่า. ผลของโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันต่อการเกิดการสำลักและปอดอักเสบในโรงพยาบาล. ว.การพยาบาลและสุขภาพ 2560;35(4):167-175.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร