ความต่อเนื่องของการใช้ยาฝังคุมกำเนิดที่ 36 เดือนในสตรีวัยรุ่นเปรียบเทียบกับสตรีวัยผู้ใหญ่ที่เข้ารับบริการฝังยาคุมกำเนิด ณ คลินิกสูตินรีเวช โรงพยาบาลหนองคาย
คำสำคัญ:
ยาฝังคุมกำเนิด, สตรีวัยรุ่น, ความต่อเนื่องในการฝังยาคุมกำเนิดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อ ศึกษาอัตราความต่อเนื่องของการใช้ยาฝังคุมกำเนิดที่ 36 เดือน ในสตรีวัยรุ่นเปรียบเทียบกับสตรีวัยผู้ใหญ่ที่เข้ารับบริการฝังยาคุมกำเนิด (Etonogestrel contraceptive implant) ณ คลินิกสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหนองคาย โดยเป็นการศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลเวชระเบียนในระบบคอมพิวเตอร์โรงพยาบาลและการโทรศัพท์สอบถาม ในสตรีวัยรุ่นอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 19 ปีและ สตรีวัยผู้ใหญ่ที่อายุ 20 – 49 ปี ที่ได้รับการฝังยาคุมกำเนิดที่ โรงพยาบาลหนองคาย ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2560 – ธันวาคม พ.ศ.2565 โดยเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและสาเหตุที่ตัดสินใจถอดยาฝังคุมกำเนิดก่อนกำหนด การวิเคราะห์โดยใช้การทดสอบ Mann-Whitney U, Chi-square, Fisher exact test และ Cox-proportional hazard model & survival analysis ร่วมกับการใช้กราฟ Kaplan-Meier curve
ผลการศึกษา จากสตรี 656 คนที่มีระยะเวลาฝังยาคุมจนถึงวันเก็บข้อมูลมากกว่าหรือเท่ากับ 36 เดือน ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนเวชระเบียน และโทรศัพท์ติดตาม พบว่ามีสตรีจำนวน 58 คน ที่ติดต่อไม่ได้ ดังนั้น มีสตรีที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้าโครงการวิจัยจำนวน 598 คน ในจำนวนนี้เป็นสตรีวัยรุ่น ร้อยละ 93.31 และสตรีวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 6.68 พบว่าสตรีวัยรุ่น ร้อยละ 87.81 และสตรีวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 67.50 ฝังยาคุมครบกำหนด 36 เดือน โดยสตรีวัยรุ่นฝังยาคุมครบกำหนดมากกว่าสตรีวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p= 0.002) สาเหตุหลักที่ผู้รับบริการตัดสินใจถอดยาฝังคุมกำเนิดก่อน 36 เดือน คือ ภาวะเลือดออกผิดปกติ และหลังจากถอดยาฝังคุมกำเนิดผู้รับบริการส่วนใหญ่ไม่คุมกำเนิดต่อ การวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์ถดถอยย้อนหลังแบบขั้นตอนที่ได้รับการควบคุมปัจจัยกวนพบว่า สตรีวัยรุ่นยังคงมีอัตราการฝังยาครบกำหนด(ร้อยละ 87.81)สูงกว่าสตรีวัยผู้ใหญ่(ร้อยละ 67.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยพบว่าสตรีวัยรุ่น, สตรีที่อาศัยอยู่นอกเขตเมือง สตรีที่มีดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 กก/ตรม. และการฝังยาคุมต่อเนื่องมีผลต่อการฝังยาคุมกำเนิดให้ครบ 36 เดือนสูง เมื่อวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์สตรีวัยรุ่นกับวัยผู้ใหญ่ พบว่าสตรีวัยรุ่นมีความต่อเนื่องในการฝังยาคุมครบ 36 เดือนสูงกว่าสตรีวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)
สรุป สตรีวัยรุ่น, สตรีที่อาศัยอยู่นอกเขตเมือง สตรีที่มีดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 กก/ตรม. และการฝังยาคุมต่อเนื่องมีผลต่อการฝังยาคุมกำเนิดให้ครบ 36 เดือนสูง และเมื่อเปรียบเทียบสตรีวัยรุ่นกับวัยผู้ใหญ่ พบว่าสตรีวัยรุ่นมีความต่อเนื่องในการฝังยาคุมครบ 36 เดือนสูงกว่าสตรีวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) โดยสาเหตุหลักผู้รับบริการถอดยาฝังคุมกำเนิดก่อน 36 เดือน คือ ภาวะเลือดออกผิดปกติ
References
Stoddard A, McNicholas C, Peipert JF. Efficacy and safety of long-acting reversible contraception. Drugs 2011;71(8):969-80.
Taylor HS, Pal L, Seli E. Long acting method of contraception. Speroff's Clinical Gynecologic Endocrinology and Infertility. 9th ed. Wolters Kluwer; 2019.
ACOG Committee Opinion No. 735: Adolescents and long-acting reversible contraception: implants and intrauterine devices. Obstet Gynecol 2018;131:e130-9.
Chaovisitsaree S, Piyamongkol W, Pongsatha S, Morakote N, Noium S, Soonthornlimsiri N. One year study of Implanon on the adverse events and discontinuation. J Med Assoc Thai 2005;88:314-7.
G/Medhin T, Gebrekidan KG, Nerea MK, Gerezgiher H, Haftu M. Early Implanon discontinuation rate and its associated factors in health institutions of Mekelle City, Tigray, Ethiopia 2016/17. BMC Res Notes 2019;12:8.
Melkamu Asaye M, Syoum Nigussie T, Mequannt Ambaw W. Early Implanon Discontinuation and Associated Factors among Implanon User Women in Debre Tabor Town, Public Health Facilities, Northwest Ethiopia, 2016. Int J Reprod Med 2018;2018:3597487.
Harvey C, Seib C, Lucke J. Continuation rates and reasons for removal among Implanon users accessing two family planning clinics in Queensland, Australia. Contraception 2009;80:527-32.
Casey PM, Long ME, Marnach ML, Bury JE. Bleeding related to etonogestrel subdermal implant in a US population. Contraception 2011;83:426-30.
Jain AK, Winfrey W. Contribution of contraceptive discontinuation to unintended births in 36 developing countries. Stud Fam Plann 2017;48:269-78.
Darroch JE, Woog V, Bankole A, Ashford LS. Adding It Up: Costs and Benefits of Meeting the Contraceptive Needs of Adolescents. New York: Guttmacher Institute; 2016.
Singh S, Darroch JE, Ashford LS. Adding It Up: The Costs and Benefits of Investing in Sexual and Reproductive Health 2014. New York: Guttmacher Institute; 2014.
กรมอนามัย. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/rh/n86
_0559234e9637e6dbb75f01b6e1e1a1aa_%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8CRH_2562_Website.pdf
World Health Organization. Global health estimates: Life expectancy and leading causes of death and disability [Internet]. 2020 [cited 2020 Jun 25]. Available from: http:// https://www.who.int/data/gho/data/themes/mortality-and-global-health-estimates
World Health Organization; UNAIDS. Global standards for quality health-care services for adolescents: Volume 1: Standards and criteria. Geneva: World Health Organization; 2015.
World Health Organization. Adolescent pregnancy [Internet]. 2023 [cited 2023 Jun 2]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy
สภาประชากร. โครงการสำมะโนระดับชุมชนเรื่องสุขภาพผู้หญิง และประวัติการตั้งครรภ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2545. [เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/hiso5/report/download.php?
name=thai2006_3
Jacqueline E. Darroch SSaEW. Adding it up: The Costs and Benefits of Investing in Sexual and Reproductive Health 2014-Estimation Methodology. New York: Guttmacher institute; 2016.
สำนักข่าว Hfocus. ลดปัญหาแม่วัยรุ่น สปสช.- กรมอนามัย ให้ยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยฟรี [อินเทอร์เน็ต] 2558 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2015
/05/10031
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สปสช.ชี้แจง “ฝังยาคุมกำเนิด” สิทธิประโยชน์ฟรี สำหรับหญิงไทยตามกลุ่มเป้าหมายทุกสิทธิการรักษ. [อินเทอร์เน็ต]. 2565.[เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/news/3598
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี และข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/tinymce/kpi65/1-15/1.15-1.9.pdf
Trussell J. Contraceptive failure in the United States. Contraception 2011;83(5):397-404.
Bellizzi S, Mannava P, Nagai M, Sobel HL. Reasons for discontinuation of contraception among women with a current unintended pregnancy in 36 low and middle-income countries. Contraception 2020;101(1):26-33
World Health Organization. High rates of unintended pregnancies linked to gaps in family planning services: New WHO study [Internet]. 2019 [cited 2019 Oct 25]. Available from: https://www.who.int/news/item/25-10-2019-high-rates-of-unintended-pregnancies-linked-to-gaps-in-family-planning-services-new-who-study
Diedrich JT, Zhao Q, Madden T, Secura GM, Peipert JF. Three-year continuation of reversible contraception. Am J Obstet Gynecol 2015;213(5):662.e1-8
Sappan R, Wattanakamolchai P, Werawatakul Y, Sothornwit J. Discontinuation of Contraceptive Implants within 12 Months of Use. Thai J Obstet Gynaecol 2021;29:198-207.
อนุชา ดีสวัสดิ์. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวนกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 (ความผิดฐานทำแท้งลูก) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.parliament.go.th/ewtadmin
/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=80660&filename=house2558
Bahamondes L, Brache V, Meirik O, Ali M, Habib N, Landoulsi S, et al. A 3-year multicentre randomized controlled trial of etonogestrel- and levonorgestrel-releasing contraceptive implants, with non-randomized matched copper-intrauterine device controls. Hum Reprod 2015;30:2527-38.
Weisberg E, Bateson D, McGeechan K, Mohapatra L. A three year comparative study of continuation rates, bleeding patterns and satisfaction in Australian women using a subdermal contraceptive implant or progesterone releasing-intrauterine system. Eur J Contracept Reprod Health Care 2014;19(1):5-14.
Ireland LD, Goyal V, Raker CA, Murray A, Allen RH. The effect of immediate postpartum compared to delayed postpartum and interval etonogestrel contraceptive implant insertion on removal rates for bleeding. Contraception 2014;90(3):253-8.
Grunloh DS, Casner T, Secura GM, Peipert JF, Madden T. Characteristics associated with discontinuation of long-acting reversible contraception within the first 6 months of use. Obstet Gynecol 2013;122(6):1214-21.
Berlan E, Mizraji K, Bonny AE. Twelve-month discontinuation of etonogestrel implant in an outpatient pediatric setting. Contraception 2016;94:81-6.
Teunissen AM, Grimm B, Roumen FJ. Continuation rates of the subdermal contraceptive Implanon® and associated influencing factors. Eur J Contracept Reprod Health Care 2014;19(1):15-21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร