ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบเอสที ยกและได้รักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังแบบปฐมภูมิ ในโรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยสูงอายุ, โรคหัวใจขาดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจแบบไม่ผ่าตัดบทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นปัญหาสำคัญทางสุขภาพของผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบเอสที ยก การรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังแบบปฐมภูมิ เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยลดอัตราการตายได้ แต่ก็ยังพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตที่สูงอยู่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบเอสที ยกและได้รักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังแบบปฐมภูมิ ในโรงพยาบาลอุดรธานี วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากฐานข้อมูลโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และเวชระเบียนผู้ป่วยที่วินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบเอสที ยก ที่มีอายุมากกว่า65 ปี และได้รักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังแบบปฐมภูมิ จำนวน 113 ราย โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564- 30 มิถุนายน 2565 แล้วใช้สถิติ univariate , multivariate logistic regression analysis วิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิต กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบเอสที ยก ที่มีอายุมากกว่า65 ปี และได้รักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังแบบปฐมภูมิ มีจำนวน 113 ราย อายุเฉลี่ย74.4 ± 6.6 ปี เป็น inferior wall STE ACS ร้อยละ 49.6 Killip 3&4 ร้อยละ 50.5 เส้นเลือดตีบ 1 เส้น ร้อยละ 51.3 reperfusion time เฉลี่ย 55.0 ± 16.5 นาที อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลร้อยละ 18.6 ในการวิเคราะห์แบบ multivariate พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การบาดเจ็บของไตเฉียบพลัน (AOR=6.8, 95%CI 1.2-39.2, p=0.03)
สรุป :จากการศึกษานี้พบอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลร้อยละ 18.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตคือ การบาดเจ็บของไตเฉียบพลัน การค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเพื่อป้องกันโรค และการพัฒนาระบบการส่งต่อที่ดีน่าจะช่วยให้ผลลัพธ์จากการรักษาดีขึ้นและช่วยลดภาวะแทรกซ้อนได้
References
Kristensen SD, Laut KG, Fajadet J, Kaifoszova Z, Kala P, Di Mario C, et al. European
Association for Percutaneous Cardiovascular Interventions. Reperfusion therapy for ST elevation acute myocardial infarction 2010/2011: current status in 37 ESC countries. Eur Heart J 2014;35(29): 1957-1970.
Byrne RA, Rossello X, Coughlan JJ, Barbato E, Berry C, Chieffo A, et al. 2023 ESC Guidelines for the management of acute coronary syndromes. Eur Heart J 2023;44(38):3720-3826.
Tok D, Turak O, Ozcan F, Durak A, Cağlı K, Başar N, et al. Primary percutaneous coronary intervention for acute myocardial infarction in elderly aged 75 years and over: in-hospital mortality and clinical outcome. Turk Kardiyol Dern Ars 2012;40(7):565-573.
Nasrin S, Islam SI ,Cader FA. Shafi MJ, Haq MM. Outcome of Elderly Population Undergoing Primary PCI in a Tertiary Hospital in Bangladesh. Ibrahim Card Med J 2020;10(1&2):18-26.
Kocayigit I, Yaylaci S, Osken A, Aydın E, Sahinkus S, Can Y, et al . Comparison of effects of thrombolytic therapy and primary percutaneous coronary intervention in elderly patients with acute ST-segment elevation myocardial infarction on in-hospital, six-month, and one-year mortality. Arch Med Sci Atheroscler Dis 2019;4:e82-e88.
Caruntu F, Bordejevic DA, Tomescu MC, Citu IM. Clinical characteristics and outcomes in acute myocardial infarction patients aged ≥65 years in Western Romania. Rev Cardiovasc Med 2021; 22(3): 911-918.
Mello BH, Oliveira GB, Ramos RF, Lopes BB, Barros CB, Carvalho Ede O, et al. Validation of the Killip–Kimball Classification and Late Mortality after Acute Myocardial Infarction. Arq Bras Cardiol. 2014;103(2):107-17.
Mehran R, Rao SV, Bhatt DL, Gibson CM, Caixeta A, Eikelboom J, et al. Standardized bleeding definitions for cardiovascular clinical trials: a consensus report from the Bleeding Academic Research Consortium. Circulation 2011;123(23):2736–2747.
Wu WC, Rathore SS, Wang Y, Radford MJ, Krumholz HM. Blood Transfusion in Elderly Patients with Acute Myocardial Infraction. N Engl J Med 2001;345(17):1230-6.
Sinkovic A, Pehnec Z. In-Hospital Mortality and Treatment in Elderly Patients with ST-Elevation Myocardial Infarction. J Cardiol 2005;12(11-12):282-284.
Mahadevappa M, Nagaraj Desai N , Kumar SS, Kulkarni P. Primary Percutaneous Coronary Intervention in Elderly Patients with Acute Myocardial Infarction: A Single Centre Experience from Southern India. J Clin Diagn Res 2020;14(4):OC16-OC20.
Kooiman J, Seth M, Nallamothu BK, Heung M, Humes D, Gurm HS. Association between acute kidney injury and in-hospital mortality in patients undergoing percutaneous coronary interventions. Circ Cardiovasc Interv 2015;8(6):e002212.
Nikolsky E, Aymong ED, Halkin A, Grines CL, Cox DA, Garcia E, et al. Impact of anemia in patients with acute myocardial infarction undergoing primary percutaneous coronary intervention: analysis from the Controlled Abciximab and Device Investigation to Lower Late Angioplasty Complications (CADILLAC) Trial. J Am Coll Cardiol 2004;44(3):547-53.
Margolis G, Gal-Oz A, Letourneau-Shesaf S, Khoury S, Keren G, Shacham Y. Acute kidney injury based on the KDIGO criteria among ST elevation myocardial infarction patients treated by primary percutaneous intervention. J Nephrol 2018;31(3):423-428.
Goldberg RJ, Makam RC, Yarzebski J, McManus DD, Lessard D, Gore JM. Decade-Long Trends (2001- 2011) in the Incidence and Hospital Death Rates Associated with the In-Hospital Development of Cardiogenic Shock after Acute Myocardial Infarction. Circ Cardiovasc Qual Outcomes 2016;9(2):117-25.
Redfors B, Angerås O, Råmunddal T, Dworeck C, Haraldsson I, Ioanes D, et al. 17-year trends in incidence and prognosis of cardiogenic shock in patients with acute myocardial infarction in western Sweden. Int J Cardiol 2015;185:256-62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร