ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สันติภาพ โพธิมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • สุพัฒน์ กองศรีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • พีรยุทธ แสงตรีสุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • ณัฐพร นิจธรรมสกุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนอุดม จังหวัดสกลนคร
  • ภูวนาภ ศรีสุธรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสะอาด จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, โรคเบาหวาน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง(cross-sectional descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน เขตตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 คน และการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2566 โดยใช้แบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.97 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์โดยหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.09 อายุเฉลี่ย 70.21±7.16ปี มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 67.42 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 81.81 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ =2.55 ±0.29) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก(x̅ =2.69 ±0.35) พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.699, p < 0.001)  ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้เกิดแก่ผู้สูงอายุในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตัวเอง เพื่อที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้จริงในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพตนเองอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

References

World Health Organization. Global report on diabetes. Geneva: World Health Organization; 2019.

American Diabetes Association. Pharmacologic approaches to glycemic treatment: Standard of medical care in diabetes-2019. Diabetes Care 2019;42(Suppl 1):S90-S102.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: อิโมชั่น อาร์ต; 2560: 3-10.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554-2564. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย; 2560.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine 2008;67(12):2072-8.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองสุขศึกษา. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/linkHed/333

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.

นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. โปรแกรมระบบงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: กุมภวาปี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสีออ; 2566.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น; คลังนานาวิทยา; 2547. 1-5, 167-168.

นภา พวงรอด. การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. ว.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2555;2(1):63-74.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. Englewood CHffs, NJ; 1981.

เนตรนภา กาบมณี, สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ, ฐิติวรรณ โยธาทัย. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2021;24(1):23-33.

Yeh J, Ostini R. The impact of health literacy environment on patient stress: A systematic review. BMC Public Health 2020;20(1):1-4.

Liu Y, Meng H, Tu N, Liu D. The relationship between health literacy, social support, depression, and frailty among community-dwelling older patients with hypertension and diabetes in China. Frontiers Public Health 2020;30;8:1-11.

Pynnönen K, Törmäkangas T, Heikkinen RL, Rantanen T, Lyyra TM. Does social activity decrease risk for institutionalization and mortality in older people? J Gerontol 2012;67:765.

Cho GS, Kim DS, Yi ES. Verification of relationship model between Korean new elderly class's recovery resilience and productive aging. J Exerc Rehabil 2015;11:326–30.

Baker DW, Gazmararian JA, Williams MV, Scott T, Parker RM, Green D, et al. Functional health literacy and the risk of hospital admission among Medicare managed care enrollees. Am J Public Health 2002;92(8):1278-83.

กรฐณธัช ปัญญาใส, พิชามญชุ์ ภูเจริญ, ณิชกมล เปียอยู่. การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2560;28(1):51–62.

เกษดาพร ศรีสุวอ. การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่นนท์ ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ว.การพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2564;4(2):35-44.

จิราภรณ์ อริยสิทธิ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2564;18(2):142-155.

มนตรี นรสิงห์, สุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิตกรณีศึกษาโรงพยาบาลนครพิงค์. ว.โรงพยาบาลนครพิงค์ 2562;10(1):35-50.

ลักษณา พงษ์ภุมภา, ศุภรา หิมานันโต. ความรู้และพฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ว. มฉก.วิชาการ 2560;20(40):67-76.

สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, นิลุบล นันตา, จุฑามาศ สุขเกษม. พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560;28(2):93-103.

จริยา นพเคราะห์, โรจนี จินตนาวัฒน์, ทศพร คำผลศิริ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร 2563; 47(2):251-261.

สมใจ อ่อนละเอียด. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุพฤฒพลัง จังหวัดนครปฐม. ว.วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2021;14(3):333-45.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. (ร่าง)

แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20161115144754_1_แผน12.2559.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30