ผลการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้ ทักษะ และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤตของพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • สฤษดิ์ชัย ธนบุตรศรี งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ
  • กาญจนา ปัญญาธร มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง, โรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต, , การรับรู้ความสามารถของตนเอง, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยก่อนทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง โดยเปรียบเทียบความรู้ ทักษะ และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤตของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเซกาทุกคน จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เป็นสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤตของพยาบาลวิชาชีพ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ และแบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤติ หาคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านได้ค่าCVI เท่ากับ 0.92 และหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคของแบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะและแบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองเท่ากับ 0.82, 0.78 และ 0.87ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ Paired-t test   

ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ (𝑋̅=11.87±0.35) สูงกว่าก่อนเรียน (𝑋̅=8.50±1.41) มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤติ (𝑋̅=120±0.00) สูงกว่าก่อนเรียน (𝑋̅=100±10.00) และมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤติหลังเรียน (𝑋̅=4.62 ± 0.09) สูงกว่าก่อนเรียน                     (𝑋=3.95±0.15) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทุกรายการ

          จากผลการวิจัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภาวะวิกฤติโดยใช้สถานการณ์จำลอง ติดตามประเมินความสามารถในการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์จริงและควรจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองในประเด็นปัญหาสุขภาพวิกฤติอื่นๆเพื่อให้พยาบาลได้พัฒนากระบวนการคิดและความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. ประเด็นการรณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลกหรือวันอัมพาตโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th ›uploads› files

สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. ว.ประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2022; 39(2):39-46.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. โรคหลอดเลือดสมอง ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. นนทบุรี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง; 2564.

โรงพยาบาลศิริราช ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคหลอดเลือดสมอง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/sirirajonline2021/Article_files/1256_1.pdf

นิภาพร บุตรสิงห์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. ว.สภาการพยาบาล 2562;34(3):19-25.

กัลยา ปวงจันทร์, ศิริกาญจน์ จินาวิน. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลแพร่. ว.โรงพยาบาลแพร่ 2020;28(2):1-17.

ยุพา พลเสน. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันร่วมกับภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว: กรณีศึกษา.

ว.โรงพยาบาลสิงห์บุรี 2564;30(2):62-76.

วันดี แก้วแสงอ่อน, อุทุมพร ดุลยเกษม, สุทัศน์ เหมทานนท์. การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง: จากห้องเรียนสู่การเรียนรู้ด้วยโปรแกรมออนไลน์. ว.มหาจุฬานาคทรรศน์ 2564;8(11):96-111.

ศิริพร ชุดเจือจีน, สุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล, วรางคณา คุ้มสุข. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนทางการพยาบาล.ว.วิทยาลัยพยาบาลสุพรรณบุรี 2566;5(1):17-31.

อรุณี ไชยฤทธิ์. ผลของการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองต่อระดับความรู้โรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562;6(พิเศษ):59-68.

พรรณี ศรีพารา. ผลการใช้โปรแกรมการสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความรู้และทักษะของพยาบาลโรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. ว.วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2564;10(1):26-35.

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิรดา อรรถเมธากุล, รัตนา นิลเลื่อม, นาตยา วงศ์ยะรา. ผลของการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า เพชรบุรี 2565;4(3):178-194.

โรงพยาบาลเซกา. สรุปรายงานผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน. บึงกาฬ: โรงพยาบาลเซกา;2565.

วรางคณา คุ้มสุข, มาเรียม นิลพัน. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง. ว.สภาการสาธารณสุขชุมชน 2564;3(1):1-11.

Artino AR Jr. Academic self-efficacy: from educational theory to instructional practice. Perspect Med Educ 2012;1(2):76-85.

กรมการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2567.

วรรัตน์ เต็มรักษ์. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ยะลาโดยการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง [วิทยานิพนธ์].สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2565.

สุดารัตน์ สิริประภาพล, สมคิด ปานประเสริฐ, ศุภาวีร์ ดิษแพร. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมองจากภาวะความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. ว.วิชาการสาธารณสุข 2565;31(2):353-364.

กุลวดี อภิชาตบุตร, อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. ทักษะการสอนของอาจารย์พยาบาลในการใช้สถานการณ์จำลองด้วยหุ่นผู้ป่วยเสมือนจริง. พยาบาลสาร 2562;46(4):202-210.

พรรณทิพย์ ชับขุนทด, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, นุชมาศ แก้วกุลฑล, รัชนี พจนา. ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ต่อความรู้ ความมั่นใจ และความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอดของนักศึกษาพยาบาล .ว.วิชาการสาธารณสุข 2563;29(6):1062-1072.

ดวงกมล หน่อแก้ว, ปาจรีย์ ตรีนนท์, ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ, นวพล แก่นบุปผา, สำเร็จ เทียนทอง, ชนุกร แก้วมณี. ผลของโปรแกรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน สำหรับนักศึกษาพยาบาล. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;3: 84-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30