การพัฒนาระบบบริการสุขภาพชาวต่างชาติ ศูนย์บริการชาวต่างชาติ โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ, ผู้รับบริการชาวต่างชาติ, ศูนย์บริการชาวต่างชาติบทคัดย่อ
การพัฒนาระบบบริการมีผลโดยตรงต่อคุณภาพและความพึงพอใจของผู้รับบริการ การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพชาวต่างชาติและศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 2 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ให้บริการชาวต่างชาติแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุดรธานี 30 คนและผู้รับบริการชาวต่างชาติโรคเรื้อรัง 90 คน รวม 120 คน กระบวนการพัฒนามี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การสังเกตการณ์และการสะท้อนกลับ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกเวลารอคอย แบบสอบถามความคิดเห็นต่อระบบบริการและแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.97, 0.98, 0.85 และ 0.87 ตามลำดับ และความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถามความคิดเห็นและแบบประเมินความพึงพอใจเท่ากับ 0.73 และ 0.78 ตามลำดับ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม ถึง มีนาคม พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา paired - T test และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของการให้บริการชาวต่างชาติ มาจากผู้ให้บริการมีทัศนคติเชิงลบและขาดทักษะการสื่อสารกับชาวต่างชาติ ระบบบริการมีหลายขั้นตอนใช้เวลารอคอยนาน สถานที่คับแคบ มีที่จอดรถไม่เพียงพอ ห้องน้ำไม่สะอาด และด้านผู้รับบริการมีความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและภาษาทำให้ไม่เข้าใจกันและสื่อสารกันลำบาก 2) ระบบบริการที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนขั้นตอนและบทบาทของผู้ให้บริการ การจัดการคิวตรวจ การประสานงานและการให้ข้อมูลการรอคอย 3) การประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนาหลังใช้ระบบใหม่ 3 เดือน พบว่า ผู้รับบริการชาวต่างชาติได้รับการบริการที่ดีขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ( =4.12±0.58 คะแนน) เป็นหลังพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62±0.63 คะแนน) ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยในการเข้ารับบริการพบว่าลดลงร้อยละ37.5 (ก่อนพัฒนา =168 ±0.68 นาที และหลังพัฒนา =105 ±0.58 นาที) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.017และ p=0.03 ตามลำดับ) และผู้ให้บริการเห็นด้วยกับระบบที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก ( =3.80± 0.96 คะแนน) โดยสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพและผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
จากผลการวิจัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากร และสร้างมาตรฐานการพยาบาลสำหรับชาวต่างชาติ
References
นารีรัตน์ ผุดผ่อง, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, สตพร จุลชู, อานนท์ คุณากรจรัสพงศ์, มธุดารา
ไพยารมณ์, พิกุลแก้ว ศรีนาม. สถานการณ์การใช้บริการสุขภาพ การประกันสุขภาพและความจำเป็นด้านสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนองของชาวต่างชาติที่เข้ามามีครอบครัวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูอุดรธานีและขอนแก่น. นนทบุรี: มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) [อินเทอร์เน็ต]. 2024 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านสาธารณสุข. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2024 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก:
https://spd.moph.go.th/20-year-national-strategy-public-health/
สุชาติ เลาบริพัตร. การศึกษาวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ 2561-2580). ว.วิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2562;15(1):20-29.
กระทรวงสาธารณสุข. กองการพยาบาล. แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล. นนทบุรี:สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2561.
CEOWORLD Magazine. 5 เหตุผลชาวต่างชาติอยากอยู่ไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2024 [เข้าถึงเมื่อ
มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอุดรธานี. ข้อมูลชาวต่างชาติจังหวัดอุดรธานี ปี พ.ศ.2566. อุดรธานี: 2566.
โรงพยาบาลอุดรธานี. งานเวชระเบียนและสถิติ. ข้อมูลการเข้ารับบริการตรวจรักษาของชาวต่างชาติ พ.ศ 2564-2566. อุดรธานี: 2566.
ศูนย์บริการชาวต่างชาติ โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานความพึงพอใจของผู้รับบริการชาวต่างชาติ พ.ศ 2564-2566. อุดรธานี: 2566.
กองการพยาบาล. แบบสอบถามความพึงพอใจตอการบริการสําหรับผูปวยนอก (OP VOICE).
[อินเทอร์เน็ต]. 2024 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.don.go.th/book_nursing/Indicators/[QAH_012]Tool.pdf
กมลรัตน์ (ศักดิ์สมบูรณ์) เทอร์เนอร์, ศุภาพิชญ์ (มณีสาคร) โฟน โบร์แมนน์. พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพและการรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพของชาวต่างชาติในประเทศไทย. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556;23(1):1-14.
จิราลักษณ์ นนทารักษ์, อาณัติ วรรณ, อังสุมาลี ผลภาค, สุรสักย์ ธไนศวรรยางกูร, บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ, ปิยะฉัตร สมทรง. การศึกษาสถานการณ์และรูปแบบระบบบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าวในประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2024 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5437
สุวารี เจริญมุขยนันท, สุรพล ตั้งสกุล, ธนสิทธิ์ สนั่นเมือง. สถานการณ์การใช้บริการสุขภาพของผู้ป่วยต่างชาติที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี. สรรพประสิทธิเวชสาร 2557;35(1):43-56.
ศูนย์ประสานงานการดูแลผู้ป่วยต่างชาติ. คู่มือมาตรฐานการให้บริการดูแลผู้ป่วยต่างชาติ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี; 2562.
Stephen Kemmis y, Robin McTaggart. The Action Research Planner [internet].1988 [cited 2024 Mar 7]. Available from:
https://academia.uat.edu.mx/pariente/DO/Lecturas/The%20action%20research%20planner.
Krejcie, R.V, Morgan, D.W. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement [internet]. 1970 [cited 2024 Mar 7]. Available from: https://www.studocu.com/my/document/politeknik-balik-pulau/educator/krejcie-morgan
ละเอียด ศิลาน้อย. การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรมและการท่องเที่ยว. ว.บริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2019;(15):112-126.
สุรศักดิ์ จินาเขียว, อารี ชีวเกษมสุข, พิสิษฐ์ จันทร์วราสุทธ์ิ. การพัฒนารูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอกตามแนวคิดโลจิสติกส์โรงพยาบาลพบพระจังหวัดตาก. ว.วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13(1):442-451.
พัชนี สุมานิตย์. การพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานี.
ว.วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565;3(1):85-98.
รัฐพล สันสน, อมรรัตน์ ศรีวาณัติ, มณฑิกานต์ เอี่ยมโซ้, สิริกุล ประเสริฐสมบูรณ์. การวิเคราะห์ความต้องการและปัจจัยการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพนานาชาติ. ว.บริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ 2561;9(1):87-100.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร