การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล “ระบบผูกยึดผู้ป่วยโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ”

ผู้แต่ง

  • ปิติณัช ราชภักดี มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • วริญทร ผิวดี มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การผูกยึดผู้ป่วย, สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ, นวัตกรรมทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมระบบผูกยึดผู้ป่วยโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบผูกยึดผู้ป่วยโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ และประเมินประสิทธิผลนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น การศึกษาแบ่งเป็น 2  ระยะ คือ ระยะที่ 1  การออกแบบและพัฒนาระบบผูกยึดผู้ป่วยโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ พัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรม และระยะที่ 2  การประเมินประสิทธิผลของระบบผูกยึดผู้ป่วยโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่พัฒนาขึ้น ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 – พฤษภาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานีวิทยาเขตอุดรธานี จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินประสิทธิผลต่อการใช้ระบบผูกยึดผู้ป่วยโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ได้แก่ แบบประเมินการเลื่อนหลุดของการผูกยึดหลังการผูกยึด 5 นาที  แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า 1) ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมโดยเป็นการนำระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำมาใช้ในการผูกยึดผู้ป่วยซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ควบคุมระบบโดยใช้รีโมท และเมื่อเลื่อนหลุดมีสัญญาณแจ้งเตือนพยาบาลทันที 2) ผลการทดลองใช้นวัตกรรมมีการเลื่อนหลุดของระบบผูกยึดคิดเป็นร้อยละ 13.33 และมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อระบบผูกยึดผู้ป่วยโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.40, SD=0.64)

ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าระบบผูกยึดผู้ป่วยโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พยาบาลสามารถนำไปใช้ในการผูกยึดผู้ป่วยได้ แต่อย่างไรก็ตามการที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วยได้นั้นต้องได้รับการฝึกการใช้งานระบบผูกยึดผู้ป่วยโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำให้ชำนาญเพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยในการใช้งานจริง และควรตรวจเช็คอุปกรณ์ให้ละเอียดทุกครั้งก่อนนำไปใช้งาน

References

วิจิตรา กุสุมภ์, สุนันทา ครองยุทธ. ผลกระทบด้านจิตใจในผู้ป่วยวิกฤต: กลยุทธ์ในการจัดการารสารพยาบาล. ว.พยาบาล 2563;69(3):53-61.

กองบริหารระบบสุขภาพจิต. แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน (Acute Care). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บิยอน พับลิสซิ่ง; 2563.

De Silva PS, Fonseca MC. Unplanned Endotracheal Extuba-tions in the Intensive care unit: Systematic review, critical appraisal and evidencbased recommend-dations. Anesthesia & Analgesia 2012;114(5):1003-1014.

Kiekkas P, Aretha D, Panteli E, Baltopoulos G, Filos KS. Unplanned extubation in critically ill adults: clinical review. Nurs Crit Care 2012;18(3):123-34.

จิรารัตน์ ทรัพย์เกิด, กรรณิการ์ อุดรพิมพ์, นวลจันทร์ ขันธุแสดง. ผลการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. ว.วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2557;7(2):243-7.

บุบผา ลาภทวี, ธิดา ธรรมรักษา. อุบัติการณ์การถอดท่อช่วยหายใจออกโดยไม่ได้วางแผนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 1 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ [โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานของโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2558.

นันทวัช สิทธิรักษ์, ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ, ณัฎฐา สายเสวย, วรภัทร รัตนอาภา, พนม เกตุมาน, วีระนุช รอบสันติสุข, และคนอื่นๆ. แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผูกยึด. ว.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2552;54(4):385-398.

ดุษฎี พูลทรัพย์, อัญชลี พุ่มพวง. นวัตกรรม ปลอกข้อมือ safety โรงพยาบาลสิรินธร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sirindhornhosp. go.th/userfile/file/ha/6_65.pdf

ตรีชฎา วรรณโร, กวีวรรณ กาลานุสนธิ์, อาริยา สมัยสงค์, มลฤดี นะหีม. นวัตกรรม ถุงมือปลอดภัย ป้องกันการดึงท่อช่วยหายใจ/สาย NG สิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรมปี ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://medinfo.psu.ac.th/nurse/research/ innovation_research.pdf

ตึกผู้ป่วยชาย โรงพยาบาลขุขันธ์. CQI เรื่อง การผูกยึดด้วยผ้า Restrain [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://49.231.188.70/Nursekhukhan/file/ cqi/img 601a00d2324a8.pdf

ตึกผู้ป่วยชาย โรงพยาบาลขุขันธ์. นวัตกรรมการทําผ้า restraints และ การเตรียมสารน้ำ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://gishealth. moph.go.th /healthmap/upload/document/work_ 10930_280316_095901.pd

ตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลโป่งน้ำร้อน.นวัตกรรม Safety Restrain [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://pongnamron.thaiddns.com:10838/goodjob/ nawat2560 /%E0%B8%99%E0% B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8% 81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1W2SaftyRestain.pdf

ศวรรยาพร นันทะบุญมา, เนาวรัตน์ วิชัย. ผูกยึดกายไม่ติดใจ [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://gishealth.moph.go.th/healthmap/upload/ document/work_ 10980_ 151117_142222.pdf

สาวิตรี จันทคา. สายคาดนิรภัย (safety belt). ว.พยาบาลศิริราช 2550;1(1):55-59.

อริยพล จิวาลักษณ์. ไฟฟ้าแม่เหล็ก (Electromagnetism). [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://elsd.ssru.ac.th/ariyaphol_ji/pluginfile.php/113/course/ summary/GEP%20%E0%B8%A1.6%20%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C%205%20%20%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81.pdf

Gowanit C, Thawesaengskulthai N, Sophatsathit P, Chaiyawat T. Information technology systems of service process innovation. ARPN J Eng Appl Sci 2015;10 (2):488-98.

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. นวัตกรรมบริการพยาบาล. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2554;22(2):71-79.

Kaya, N., Turan, N., Aydın, GÖ. A Concept Analysis of Innovation in Nursing. Procedia Soc Behav Sci 2015;195:1674-1678.

Kimble, LE., Massoud, M. What do we mean by innovation in healthcare?

Innovations 2017;(1):89-91.

Kahn, KB. Understanding innovation. Business Horizons 2018;61(3):453-460.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30