การลดความคลาดเคลื่อนทางยาด้วยการประสานรายการยาภายใน 8 ชั่วโมงแรก ใน หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
การประสานรายการยา, ความคลาดเคลื่อนทางยาบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน การลดความคลาดเคลื่อนทางยา ด้วยการเทียบประสานรายการยาแรกรับ(medication reconciliation)ภายใน 8 ชั่วโมงแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาพรรณนาย้อนหลัง เก็บข้อมูลย้อนหลังระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2564 ในหอผู้ป่วย55 หอ (ยกเว้นหอผู้ป่วยเคมีบำบัด และหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม3 เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นยารักษามะเร็ง ที่รับประทานช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น) โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มีรายการยาโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 รายการ และสแกนข้อมูลใบประสานรายการยาผ่านอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ความถี่ และ ไคสแคว์(chi square)
ผลการศึกษาผู้ป่วยถูกคัดเข้าการศึกษาจำนวน 297 ราย มีใบประสานรายการยาที่ส่งมาภายใน 8 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 68.69 ใบรายการยาที่ระบุเวลารับประทานยาครั้งล่าสุดด้วย พบร้อยละ 27.91 พบใบประสานรายการยาที่ไม่ผ่านคุณภาพซึ่งจะถูกแก้ไขและปรับเปลี่ยนภายใน 24 ชั่วโมง เพียงร้อยละ 4.38 ไม่พบจำนวนความคลาดเคลื่อนทางยา ระดับความรุนแรงสูงที่ต้องเฝ้าระวังหรือถึงเสียชีวิต(ร้อยละ0.00)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ บุคลากรควรทำการประสานรายการยาแรกรับให้เรียบร้อยก่อนในผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาเพื่อลดความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนทางยา ที่เกิดขึ้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย
References
กัญญามาส จีนอนันต์, อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา, กรแก้ว จันทภาษา, ธิดา นิงสานนท์. การดำเนินงานการประสานรายการยากรณีผู้ป่วยในของโรงพยาบาลรัฐในเขตสุขภาพที่ 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ว.เภสัชศาสตร์อีสาน 2560;13(4):11-23.
World Health Organization. Assuring Medication Accuracy at Transitions in Care: Medication Reconciliation. The High5s Project Standard Operating Protocol. Geneva: World Health Organization; 2014. p.4-27.
The National Institute for Health and Care Excellence. Medicines reconciliation in acute settings. Medicines optimization. London: NICE; 2016. p.22-25.
จันทนี ฉัตรวิริยาวงศ์, สุรพงษ์ ตุลาพันธุ์. ผลของกระบวนการประสานรายการยาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. ว.สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2561;15(3):95-102.
ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล. การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย1. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2547.
เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร, ศมน อนุตรชัชวาล, เพียงขวัญ นครรัตนชัย. การพัฒนาระบบการประสานรายการยาบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557;29(3):276-282.
นวรัตน์ ศรีโอฬาร. การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา โดยใช้กระบวนการ Medication
Reconciliation. ว.โรงพยาบาลระยอง 2559;15(30):1-11.
โรงพยาบาลอุดรธานี. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ. ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลอุดรธานี.
รายงานผลการปฏิบัติราชการโรงพยาบาลอุดรธานีตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขและเขตสุขภาพที่ 8 กรณีรอบปกติ รอบที่ 1. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2563. หน้า 1-51.
กุลวดี นันทะเสนา. ผลลัพธ์ทางคลินิกและต้นทุนที่ประหยัดได้ของการประสานรายการยาแผนกผู้ป่วยใน
โรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น. ว.สำนักงานสาธารณสุข 2564;3(1):21-37.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร