ประสิทธิภาพของการรักษาโรคเล็บสะเก็ดเงินด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ชนิดแฟรกชั่นนัลร่วมกับยาทาสเตียรอยด์ เทียบกับการใช้ยาทาสเตียรอยด์เพียงอย่างเดียว: การศึกษาแบบสุ่มและติดตามผล
คำสำคัญ:
คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ชนิดแฟรกชั่นนัล, ยาทาสเตียรอยด์, โรคเล็บสะเก็ดเงินบทคัดย่อ
ปัจจุบันการรักษาโรคเล็บสะเก็ดเงินเป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นโรคที่ยากต่อการรักษาและยากต่อการคาดคะเนผลการรักษาสำหรับผู้เป็นแพทย์ การตอบสนองต่อการรักษาไม่ค่อยได้ผลดีและมีการกลับเป็นซ้ำสูง เนื่องจากทายาที่ใช้ในการรักษาไม่สามารถซึมผ่านตัวเล็บสะเก็ดเงินที่หนาได้ การใช้คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ชนิดแฟรกชั่นนัล (FCO2 laser) สามารถทำให้เล็บเป็นรูขนาดเล็กจึงทำให้ยาทาสามารถซึมผ่านเล็บได้มากขึ้น ซึ่งจากการค้นคว้าพบว่า ยังไม่มีการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรคเล็บสะเก็ดเงินด้วย FCO2 laser ในประเทศไทยมาก่อน โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพ, เปรียบเทียบผลการรักษา, ตลอดจนความพึงพอใจและผลข้างเคียงของการรักษา ระหว่างการรักษาด้วย FCO2 laser ร่วมกับทายาทาสเตียรอยด์ และการรักษาด้วยการใช้ทายาสเตียรอยด์เพียงอย่างเดียว งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มและติดตามผล ดำเนินการศึกษาวิจัยที่โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึง พฤษภาคม 2567 โดยรวบรวมอาสาสมัคร 24 ราย ที่เป็นผู้ป่วยโรคเล็บสะเก็ดเงินที่นิ้วมือทั้ง 2 ข้าง โดยเล็บมือแต่ละข้างจะได้รับการสุ่มให้ได้รับการรักษาด้วยวิธี FCO2 laser ทุก 2 สัปดาห์ จำนวน 6 ครั้ง ร่วมกับการทายาสเตียรอยด์ (0.25% Desoximetasone lotion) ที่เล็บวันละ 2 ครั้งทุกวัน จนครบ 22 สัปดาห์ และเล็บมืออีกข้างของอาสาสมัครจะได้รับการรักษาโดยการทายาสเตียรอยด์ที่เล็บวันละ 2 ครั้ง ทุกวันเพียงอย่างเดียว จนครบ 22 สัปดาห์ โดยการติดตามประเมินผลจะใช้ดัชนีประเมินความรุนแรงของเล็บสะเก็ดเงิน (Nail Psoriasis Severe Index: NAPSI) ประเมินที่ 22 สัปดาห์เปรียบเทียบกับก่อนได้รับการรักษา
ผลการวิจัย จากอาสาสมัครทั้งหมด 24 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 75.0 อายุเฉลี่ย 53.5 ปี อาสาสมัครทายาสเตียรอยด์สม่ำเสมอทุกวันร้อยละ 100.0 และพบว่าเล็บสะเก็ดเงินที่ได้รับการรักษาด้วย FCO2 laser ร่วมกับการทายาสเตียรอยด์ มีค่าเฉลี่ยของ nail matrix, nail bed, total NAPSI ที่ 22 สัปดาห์ ดีขึ้นอย่างมากและมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001 ทุกรายการ) เมื่อเทียบกับก่อนได้รับการรักษา ในขณะที่เล็บสะเก็ดเงินที่รักษาโดยทายาสเตียรอยด์เพียงอย่างเดียวพบว่าที่ 22 สัปดาห์ มีเพียงแค่ค่าเฉลี่ย nail matrix NAPSI ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.036) เมื่อเทียบกับก่อนได้รับการรักษา และเมื่อทำการเปรียบเทียบหลังการรักษาที่ 22 สัปดาห์ระหว่างทั้ง 2 กลุ่มพบว่า กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย FCO2 laser ร่วมกับการทายาสเตียรอยด์ มีค่าเฉลี่ยของ nail matrix, nail bed, total NAPSI ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกลุ่มรักษาโดยทายาสเตียรอยด์เพียงอย่างเดียว (p-value=0.03, p-value=0.03 และ p-value=0.02 ตามลำดับ) ผลข้างเคียงที่พบในงานวิจัยนี้คือความเจ็บปวดขณะทำ FCO2 laser โดยพบว่าอาสาสมัครร้อยละ 20.8 มีอาการเจ็บเล็กน้อยแต่สามารถทนได้ขณะทำหัตถการ FCO2 laser
สรุปผลการวิจัย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแรกในประเทศไทย ที่ศึกษาถึงการใช้ FCO2 laser ในการรักษาโรคเล็บสะเก็ดเงิน และพบว่าการใช้ FCO2 laser ในการช่วยนำพายาทาสเตียรอยด์ในโรคเล็บสะเก็ดเงินนั้นได้ผลดีและผู้ป่วยสามารถทนต่อการรักษาได้ดี อีกทั้งผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยเครื่อง FCO2 laser ได้ง่าย เนื่องจากเป็นเครื่องเลเซอร์ที่สามารถพบได้ตามโรงพยาบาลหรือคลินิกต่างๆ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่ใช้ในการรักษาโรคเล็บสะเก็ดเงินให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้
References
Michalek IM, Loring B, John SM. A systematic review of world wide epidemiology of psoriasis. J Eur Acad Dermatol Venereol 2017;31(2):205-212.
de Vries AC, Bogaards NA, Hooft L. Interventions for nail psoriasis. Cochrane Database
Syst Rev 2013;31(1):CD007633.
Saner MV, Kulkarni AD, Pardeshi CV. Insights into drug delivery across the nail plate barrier. J Drug Target 2014;22(9):769-89.
Crowley JJ, Weinberg JM, Wu JJ, Robertson AD, Van Voorhees AS. National Psoriasis
Foundation: Treatment of nail psoriasis: best practice recommendations from the Medical
Board of the National Psoriasis Foundation. JAMA Dermatol 2015;151(1):87-94.
Oram Y, Karincaoğlu Y, Koyuncu E, Kaharaman F. Pulsed dye laser in the treatment of nail psoriasis. Dermatol Surg 2010;36(3):377-81.
Peruzzo J, Garbin GC, Maldonado G, Cestari TF. Nail psoriasis treated with pulsed dye laser.
An Bras Dermatol 2017;92(6):885-87.
Vélez NF, Jellinek NJ. Response to onychodystrophy treated using fractional carbon dioxide laser therapy and topical steroids. Dermatol Surg 2014;40(7):801-2.
Yang CH, Tsai MT, Shen SC, Ng CY, Jung SM. Feasibility of ablative fractional laser-assisted drug delivery with optical coherence tomography. Biomed Opt Express 2014;5(11):3949-59.
Lim EH, Kim HR, Park YO, et al. Toenail onychomycosis treated with a fractional carbon-
Dioxide laser and topical antifungal cream. J Am Acad Dermatol 2014;70(5):918-923.
Lim EH, Seo YJ, Lee JH, Im M. Onychodystrophy treated using fractional carbon dioxide laser therapy and topical steroids: new treatment options for nail dystrophy. Dermatol Surg
;39(12):1931-33.
Rich P, Scher RK. Nail Psoriasis Severity Index: a useful tool for evaluation of nail psoriasis. J Am Acad Dermatol 2003;49(2):206-12.
Essa Abd Elazim N, Mahmoud Abdelsalam A, Mohamed Awad S. Efficacy of combined fractional carbon dioxide laser and topical tazarotene in nail psoriasis treatment: A randomized intrapatient left-to-right study. J Cosmet Dermatol 2022;21(7):2808-16. 13. Nassar A, Atef H, Eldeeb F, Alakad R. Comparison of fractional laser-assisted drug delivery and intralesional injection of triamcinolone acetonide in nail psoriasis. J Dtsch Dermatol Ges 2022;20(6):788-96.
Dhand, N. K., Khatkar, M. S. Statulator: An online statistical calculator. Sample Size Calculator for Comparing Two Independent Means. [Internet]. 2014 [cited 2023 Oct 5]. Available from: http://statulator.com/SampleSize/ss2M.html
Khashaba SA, Gamil H, Salah R, Salah E. Efficacy of long pulsed Nd-YAG laser in the treatment of nail psoriasis: a clinical and dermoscopic evaluation. J Dermatolog Treat 2021;32(4):446-452.
H Yan, Zhu Y, Zou S. Metabolic Syndrome and Psoriasis: Mechanisms and Future Directions. Front Immunol 2021;12:711060.
Alakad R, Nassar A, Atef H, Eldeeb F. Fractional CO2 Laser-Assisted Delivery Versus Intralesional Injection of Methotrexate in Psoriatic Nails. Dermatol Surg 2022;48(5):539-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร