การเปรียบเทียบกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเอดส์ร่วมโรคความดันโลหิตสูงและโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ผู้แต่ง

  • สุนันทา เนตรพรหม งานผู้ป่วยนอกอายุรกรรม กลุ่มการพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร

คำสำคัญ:

โรคเอดส์, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไตวายเรื้อรัง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การพยาบาล

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยเอดส์ร่วมโรคความดันโลหิตสูงและโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์ สอดคล้องกัน และมีภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลเพื่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยให้ใช้ชีวิตได้ปกติ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยเอดส์ร่วม โรคความดันโลหิตสูงและโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโดยใช้ทฤษฎีแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนและกระบวนการพยาบาลเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วย 2 รายที่มีโรคประจำตัว ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ความดันโลหิตสูง และ ไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและเข้ามารักษาที่สถาบันบำราศนราดูร ศึกษาข้อมูลจากประวัติผู้ป่วย นำมาเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ระยะเวลาตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2567 ถึง มิถุนายน 2567

ผลการศึกษา พบว่า รายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 40 ปี มาโรงพยาบาลด้วย ปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ อาเจียน     เวียนศีรษะ ความดันโลหิตสูง โปแตสเซียมในเลือดสูง แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้น มีภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) แพทย์ให้รักษาตัวโดยการนอนในโรงพยาบาล พยาบาลดูแลประเมินสัญญาณชีพ และสังเกตอาการผิดปกติ หากมีให้รายงานแพทย์ แนะนำงดอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง ดูแลส่งฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หลังฟอกเลือดไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาการดีขึ้น รวมนอนโรงพยาบาล 1 วัน รายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 45 ปี มาโรงพยาบาลด้วย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อย ส่งฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หลังฟอกเลือดผู้ป่วยมีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้น             มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (atrial fibrillation) ขณะฟอกเลือด แพทย์ให้รักษาตัวโดยการนอนในโรงพยาบาล พยาบาลดูแลประเมินสัญญาณชีพ และสังเกตอาการลิ่มเลือดอุดตันส่วนต่างๆของร่างกาย ดูแลให้นอนพักรักษาอยู่บนเตียง อาการดีขึ้น  รวมนอนโรงพยาบาล 1 วัน การประเมินและการพยาบาลโดยใช้ 11 แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน พบความผิดปกติ คล้ายกันในเรื่อง การรับรู้และการดูแลสุขภาพ โภชนาการและการเผาผลาญอาหาร การพักผ่อนและการนอนหลับ การรู้จักตนเองและ   อัตมโนทัศน์ ยกเว้นเรื่องกิจกรรมและการออกกำลังกายที่ผิดปกติต่างกัน การพยาบาลจึงมุ่งเน้นเกี่ยวกับการดูแลตนเอง        ที่เหมาะสม การรับประทานยาให้สม่ำเสมอ ประเภทการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การนอน การจัดการความเครียดและความกังวล  แนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับสุขภาพของผู้ป่วย

จากการศึกษาครั้งนี้ พยาบาลจะต้องมีความรู้และสมรรถนะในการประเมินอาการ คัดกรอง จัดระดับความรุนแรง  วินิจฉัยปัญหา วางแผนและปฏิบัติการพยาบาล ตั้งแต่ในระยะก่อนตรวจรักษา ขณะตรวจรักษา และหลังการตรวจรักษา    ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ตลอดจนให้ความรู้ คำแนะนำ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องต่อเนื่อง  

References

ศูนย์รวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย. ชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส

เอชไอวี จังหวัดขอนแก่น. ว.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 2565;27(1):2.

สุเมธ องค์วรรณดี, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, อัญชลี อวิหิงสานนท์, เอกจิตรา สุขกุล, รังสิมา โล่ห์เลขา.

แนวทางการตรวจรักษาและป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560. นนทบุรี: สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค; 2560.

ลักษณ์ จันเทร์มะ, อนิวัต ชุมนิรัตน์, นฤมล อนุมาศ, วารณี ธีระกุล, อภิรดี แซ่ลิ่ม. ว.วิชาการสาธารณสุข

;31(3):487.

สถาบันบำราศนราดูร. เวชสถิติประจำปี 2564 ถึง 2566 ของสถาบันบำราศนราดูร [ฐานข้อมูล]. นนทบุรี:

สถาบันบำราศนราดูร; 2566.

Gordon, M. Nursing Diagnosis: Process and Application. 3rd ed. St. Louis: Mosby; 1994.

นนทิยา กาลิ้ม. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่มีภาวะ

เมตาบอลิกซินโดรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง. ว.วิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2564;1(1):37-48.

สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

Wolman, B. B. Dictionary of behavioral science. London: Litton Educational; 1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30