การดูแลบาดแผลขั้นสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บาดแผล (Wounds) หมายถึง การบาดเจ็บทุกชนิดที่ก่อให้เกิดการแตกสลายของผิวหนัง หรือเยื่อบุส่วนอื่น ๆ ของร่างกายรวมทั้งการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นแก่เนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนล่างลงไปจากผิวหนัง หรือเยื่อบุเหล่านี้ ซึ่งบาดแผลมีหลายชนิด เช่น บาดแผลถลอก บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บาดแผลฉีกขาดจากอุบัติเหตุ หรือเคยได้รับการผ่าตัดรักษา บาดแผลจากโรคเรื้อรัง เป็นต้น เมื่อเกิดแล้วก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ บาดแผลบางชนิดสามารถหายเองได้ แต่บางชนิดจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการทำแผล การดูแลบาดแผลนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งในทางเวชปฏิบัติ และพบได้ในทุกโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นที่ห้องฉุกเฉิน ห้องตรวจผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วยใน เป็นต้น หรือแม้กระทั่งที่บ้านของผู้ป่วยเอง เป้าหมายหลักในการทำแผล คือ การทำให้บาดแผลหายดี และเร็วที่สุด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการผลิตวัสดุในการดูแลบาดแผลออกมามากมายหลายชนิด มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ทำให้สามารถดูแลบาดแผลให้กับผู้ป่วยได้หลากหลาย แต่ก็มักมีราคาแพง การใช้วัสดุในการดูแลบาดแผลถือเป็นการทำดูแลบาดแผลขั้นสูง เป็นหนึ่งในบทบาทพยาบาลเฉพาะทางบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ที่ต้องมีการเลือกใช้วัสดุในการดูแลบาดแผลให้เหมาะสมกับผู้ป่วย รวมทั้งก่อให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มทุน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้อุปกรณ์ทำแผลชนิดต่าง ๆ และทราบถึงข้อดี-ข้อเสียของวัสดุนั้น ๆ เพื่อลดระยะเวลาการทำแผล และความคุ้มค่าในการใช้จ่าย ส่งผลให้การรักษาบาดแผลประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กนกพร เรมกานนท์.(2553). การศึกษาประสิทธิภาพของพลาสมาที่มีปริมาณเกล็ดเลือดเข้มข้นโดยการฉีดเข้าในผิวหนังต่อการลดริ้วรอยและความเรียบของผิวหนังบริเวณใบหน้า (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กัลยา ประไพนพ และ จินตนา อาจสันเที๊ยะ. (2560). การดูแลบาดแผลผู้ป่วยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยนาโน เทคโนโลยี. วารสารการพยาบาลทหารบก,ปีที่ 18(ฉบับที่3 กันยายน-ธันวาคม 2560). หน้า 9 - 15
ณัทธร บูชางกูร. (2560). อุปกรณ์ทำแผลขั้นสูง. ธรรมศาสตร์เวชสาร, ข้อมูล: file:///C:/Users/acer/Downloads/99517-Article%20Text-249414-1-10-20170919.pdf
แพทย์หญิงวิจิตรา วิมลชัยฤกษ์และศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ เทียนสิวากุล.(2560). การศึกษาประสิทธิภาพ ของการฉีดพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้นของตนเองเข้าชั้นใต้ผิวหนังเพื่อการรักษารอยแตกลายสีขาว จากเว็บไซด์http://www.dpu.ac.th/graduate/upload/content/files/ (สืบค้นเมื่อ 20กรกฎาคม 2562)
อมรรัตน์ รุ่งจรูญธนกุล.(2555). การศึกษาแบบสุ่มประเมินผลการลดลงของริ้วรอยส่วนบนของใบหน้าโดย การฉีดพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้นของตนเองเข้าใต้ผิวหนังหนังด้านหนึ่งของใบหน้า เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Greer N, Foman N, Dorrian J, et al.( 2014). Advanced Wound Care Therapies for Non-Healing Diabetic, Venous, and Arterial Ulcers: A Systematic Review. Washington (DC): Department of Veterans Affairs (US)