แนวคิดแรงจูงใจในการรักษาโรค: การดูแลผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

Main Article Content

พนิตนันนท์ พรหมดำ

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยสาเหตุเกิดจากสภาพร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงตามวัยและพฤติกรรมทางด้านสุขภาพ หากไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรงส่งผลต่อชีวิตได้ การรักษาผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีทั้งการรักษาโดยการใช้ยา และการปฏิบัติตัว ได้แก่ การลดน้ำหนัก การลดอาหารที่มีเกลือโซเดียม การลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การมีกิจกรรมทางกาย การรับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ และอาหารไขมันต่ำ การผ่อนคลายความเครียด ซึ่งแนวคิดสำหรับการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่น่าสนใจคือการใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค (Protection Motivation Theory) มาประยุกต์ใช้โดยส่งเสริมการรับรู้ด้านความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค การรับรู้ในประสิทธิผลของการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-efficacy) สามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยเน้นด้านการสื่อสารที่ทำให้เกิดความกลัว ผ่านสื่อเพื่อเปลี่ยนกระบวนการรับรู้ของบุคคล เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนเกิดพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขาและ สำลี สาลีกุล. (2562). บทบาทพยาบาลในการป้องกันและการจัดการกับการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 20,31-39.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2017).

Health at a glance Thailand 2017. สืบค้นจาก http://bps.moph.go.th/newbps/sites/ default/ files/health

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานสถาณการณ์ โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. (2562). สืบค้นจากwww.boe.moph.go.th/files/ report/201401 09_40197220.

พนิตนันท์ วงศ์สุวรรณ, วีณา เที่ยงธรรม, อาภาพร เผ่าวัฒนา และสุธรรม นันทมงคลชัย. (2559). โปรแกรมส่งเสริมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(3), 145-160.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http:// www.thaihypertension.org/guideline.html.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. (2564). ชุดข้อมูลอัตราป่วยตาย (Fatality rate) ด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือที่มีภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง สิทธิ UC ของโรงพยาบาลที่ให้บริการ ปี 2560-2563. สืบค้นจากhttps:// data. go.th/th/dataset/dataset-pp_ 35_01.

อรทัย แก้วมหากาฬ และดารารัตน์ อยู่เจริญ. (2562). ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญในผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 6(3), 237-245.

Boer, H. & Sedel, E.R. (1998). Protection Motivation Theory.In M. Conner & P.Norman (Eds.) Predicting Health Behaviour Research and Practice with Social Cognition Models. Hong Kong: Open University Press;. 95-118

Centers for Disease Control and Prevention. (2019). Hypertension Cascade: Hypertension prevalence, treatment and control estimates among US adults aged 18 years and older applying the criteria from the American College of Cardiology and American Heart Association’s 2017 hypertension guideline—NHANES 2013–2016 external icon. Atlanta, GA: US Department of Health and Human Services.

James PA, Oparil S, Carter BL, Cushman WC, Himmelfarb CD, Handler J, et.al. (2014). Evidence-based guideline for the management of high blood pressure in adult report from the panel members appointed to the eighth joint national committee (JNC8). JMMA., 311(5), 507-520.

Rogers, R.W. (1975). A Protection motivation theory of fear appeals and attitude change. Journal of Psychology. 91, 90-99.

World Health Organization. (2013). A global brief on hypertension. (Retrieved May 13,2020). From http://ish-world .com/ downloads/pdf/global_ brief_ hypertension .pdf.