การพัฒนาระบบการจัดการโรคระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา: กรณีศึกษา โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาและประเมินผลคุณภาพระบบการจัดการโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในโรงงานอุตสาหกรรม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหา 2) พัฒนาระบบ 3) ทดลองใช้ระบบในโรงงานอุตสาหกรรม 12 แห่ง 4) ประเมินคุณภาพระบบ กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) บุคลากรสาธารณสุข 28 คน 2) บุคลากรฝ่ายปกครอง ได้แก่ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร 12 คน 3) เครือข่าย 8 คน 4) ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน 2564 – เมษายน 2565 รวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ การอภิปรายกลุ่ม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ระบบการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน 1) จัดตั้งทีมควบคุมโรค 2) จัดระบบโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน 3) พัฒนากระบวนการเฝ้าระวัง 4) จัดสภาพแวดล้อม 5) พัฒนาระบบสื่อสาร 6) พัฒนาระบบรักษา ผลการประเมินคุณภาพระบบ พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเหมาะสม (± SD.; 4.37 ± 0.20) ด้านอรรถประโยชน์ (4.30 ± 0.22) ด้านมาตรฐานความถูกต้อง (4.22 ± 0.29) ด้านมาตรฐานความเป็นไปได้ (4.21 ± 0.29) ข้อเสนอแนะ ควรนำระบบดังกล่าว ไปประยุกต์ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นกิจลักษณะการดำเนินงานปกติของโรงงานอุตสาหกรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization Thailand. Coronavirus disease 2019 (COVID-19). Bangkok: World Health Organization Thailand; 2020.
Department of Disease Control. Communicable Diseases Act. Nontaburi: Ministry of Public Health; 2020.
Department of Disease Control. Guidelines for disease control by Bubble and Seal principles. Nontaburi: Ministry of Public Health; 2022.
Epidemiology Subdivision. Coronavirus Disease 2019 Situation. District health network coordinating committee meeting, 2022 Oct 19; Songkhla Province. Songkhla: Provincial Public Health Office; 2022.
Yamphaka N. Achievement of Communications and Public relations for risk Management of Emerging Infectious Diseases: Department of Disease Control. Khon Kaen Journal of the office of DPC 7 Khon Kaen 2016; 23: 79-107.
Stufflebeam DL, Webster JW. Evaluation as an Administrative Function, in N.J. Boyan (Ed), Hand Book of Research on Educational Administration, London: Longman 1989.
Vanichbuncha K. Principal statistics. (7thed.) Bangkok: Chulalongkorn University Printing Houses; 2002.
Karnjanawasri S. Modern Test Theories.(5thed.) Bangkok: Faculty of education Chulalongkorn University; 2012.
Issarasongkhram M. The study of sensitivity, specificity and accuracy of Antigen Test Kits (ATK) compare with Real time RT-PCR for Coronavirus 2019at Coronavirus 2019’s field screening service. Khon Kaen Journal of the office of DPC 7 Khon Kaen 2022; 6: 101-111.
Chookarn C, Taweephon Y. The Practice of People according to Prevention and Control Measures for COVID-19 Pandemic D-M-H-T-T Type in Extreme Control Zone. Public Health policy & Laws Journal[internet].2022. [cited 2022 April 5]. Available from: http://library.md.chula.ac.th/guide/vancouver2011.pdf.
Kedde K (Alias). The prevention of coronavirus in the industrial Plants. [Interview]. The administrator, Industrial Plants group; 2021.
Chacrit M (Alias). Patient management system. [Interview]. Network Governance of Hatyai District; 2021.