ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ อนุศักดิ์ พ.บ. โรงพยาบาลลำพูน
  • รัตนนุช มาธนะสารวุฒิ พ.บ. โรงพยาบาลลำพูน
  • โภคิน ศักรินทร์กุล พ.บ. โรงพยาบาลลำพูน
  • วิชุดา จิรพรเจริญ พ.บ. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

อาการกำเริบเฉียบพลัน, ห้องฉุกเฉิน, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาซ้ำด้วยอาการกำเริบเฉียบพลันในจังหวัดลำพูนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปี 2561 มีอัตราเฉลี่ยการกำเริบเฉียบพลันอยู่ที่  1.46 ครั้ง เพิ่มขึ้นเป็น 1.52 ในปี 2562 และมีอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 6.57 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกันเรื้อรังที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน  วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ใช้แบบบันทึก AECOPD กับกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในช่วงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 จำนวนทั้งสิ้น 60 ราย โดยบันทึกข้อมูลปัจจัยด้านประชากรปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ความรุนแรงของโรค การรักษา และปัจจัยด้านครอบครัวและชุมชนผล: ความชุกของการเกิด AECOPD ที่มาห้องฉุกเฉิน อยู่ที่ร้อยละ 5.33 โดยส่วนใหญ่จะมีอาการกำเริบเฉียบพลัน และปัจจัยด้านระดับความรุนแรงโรคตาม GOLD (p = 0.000) ผู้ป่วยที่ยังสูบบุหรี่อยู่ ( p = 0.010) และการใช้ home oxygen (p = 0.009) มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคที่ระดับ D จะมีโอกาสเกิดภาวะกาเริบเฉียบพลันและต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินสรุป: ความชุก AECOPD อยู่ที่ร้อยละ 5.33 และระดับความรุนแรงของโรคที่ระดับ D จะมีโอกาสเกิดภาวะกำเริบเฉียบพลันและต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน

Author Biographies

รัตนนุช มาธนะสารวุฒิ พ.บ., โรงพยาบาลลำพูน

โรงพยาบาลลำพูน

โภคิน ศักรินทร์กุล พ.บ., โรงพยาบาลลำพูน

โรงพยาบาลลำพูน

วิชุดา จิรพรเจริญ พ.บ., ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

Chest Disease Institute, Department of Medicine. Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD). Bangkok: Chest Disease Institute, Department of Medicine; 2019.

Medical Office of Health Region 1, Department of Medical Services. Information on Chronic Obstructive Pulmonary Disease Branch, Health Area 1, Round 2/2020. Chiang Mai: Medical Office of Health Region 1, Department of Medical Services; 2020.

The Urological Society of Thailand. Guidelines for diagnosis and treatment of chronic obstructive pulmonary disease in Thailand. Bangkok: Bangkok Printing; 2017.

Hewitt R, Farne H, Ritchie A, Luke E, Johnston SL, Mallia P. The role of viral infections in exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease and asthma. Ther Adv Respir Dis 2016; 10: 158-74.

Wouters EF. Chronic obstructive pulmonary disease. 5: systemic effects of COPD. Thorax 2002; 57: 1067-70.

Agusti AG, Noguera A, Sauleda J, Sala E, Pons J, Busquets X. Systemic effects of chronic obstructive pulmonary disease. Eur Respir J 2013; 21: 347-60.

Hurst JR, Vestbo J, Anzueto A, Locantore N, Müllerova H, Tal-Singer R, et al. Susceptibility to exacerbation in chronic obstructive pulmonary disease. N Engl J Med 2010; 363: 1128-38.

Wannaphak K. A Study of DNA Fracture in COPD Patients in Chiang Mai Province during High and Low Air Pollution. Research Report, Research Fund Office (TRF); 2017.

Müllerova H, Maselli DJ, Locantore N, Vestbo J, Hurst JR, Wedzicha JA, et al. Hospitalized exacerbations of COPD: risk factors and outcomes in the ECLIPSE cohort. Chest 2015; 147: 999-1007.

Iamlaor U, Saisawang Y, Chaisuwan P, Kopatanakit A. Incidence and risk factors for retreatment at 28 days in COPD patients in Ang Thong Hospital. Eastern Asia University Academic Journal Science and Technology 2018; 12: 240-52.

Roberts MH, Mapel DW, Von Worley A, Beene J. Clinical factors, including all patient refined diagnosis related group severity, as predictors of early rehospitalization after COPD exacerbation. Drugs Context, 2015; 4: 212278.

García-Sanz MT, Pol-Balado C, Abellás C, Cánive-Gómez JC, Antón-Sanmartin D, González-Barcala FJ. Factors associated with hospital admission in patients reaching the emergency department with COPD exacerbation. Multidiscip Respir Med 2012; 7: 6.

Alexopoulos EC, Malli F, Mitsiki E, Bania EG, Varounis C, Gourgoulianis KI. Frequency and risk factors of COPD exacerbations and hospitalizations: a nationwide study in Greece (Greek Obstructive Lung Disease Epidemiology and health ecoNomics: GOLDEN study). Int J Chron Obstruct Pulmon Dis 2015; 10: 2665-74.

Anderson F, Carson A, Whitehead L, Burau K. Age, race and gender spatiotemporal disparities of COPD emergency room visits in Houston, Texas. Occupational Diseases and Environmental Medicine 2015; 3:1-9.

Lamphun Hospital. Report of a patient with chronic obstructive pulmonary disease who had an acute exacerbation and was admitted to an emergency room. Lamphun: Lamphun Hospital; 2019.

Donaldson GC, Seemungal TA, Bhowmik A, Wedzicha JA.

Relationship between exacerbation frequency and lung function decline in chronic obstructive pulmonary disease. Thorax 2012; 57: 847-52.

Gupta B, Kant S, Mishra R, Verma S. Nutritional status of chronic obstructive pulmonary disease patients admitted in hospital with acute exacerbation. J Clin Med Res 2010; 2: 68-74.

Gobal initative for chronic obstructive lung disease. [Internet]. [cited 2020 Dec 3]. Pocket guideline for diagnosis management and prevention. Available from: http://www.goldcopd.it/ materiale /2015/ GOLD_ Pocket_2015.

Boyle AH, Locke DL. Update on chronic obstructive pulmonary disease. Medsurg Nurs 2004; 13: 42-8.

Sehatzadeh S. Influenza and pneumococcal vaccinations for patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD): an evidence-based review. Ont Health Technol Assess Ser 2012; 12: 1-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-01-2022

How to Cite

1.
อนุศักดิ์ ก, มาธนะสารวุฒิ ร, ศักรินทร์กุล โ, จิรพรเจริญ ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน. J DMS [อินเทอร์เน็ต]. 21 มกราคม 2022 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];46(4):67-73. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/251477

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ