ผลของน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ต่อเสถียรภาพสีของซี่ฟันเทียมอะคริลิกเรซินสองชนิดโดยใช้เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์

ผู้แต่ง

  • วนิดา ยกเลี้ยน สถาบันทันตกรรม
  • สายทิพย์ ลีวรกานต์ สถาบันทันตกรรม

คำสำคัญ:

น้ำยาฆ่าเชื้อ, น้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์, เสถียรภาพสี, ฟันเทียมเรซินอะคริลิก

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง : ขั้นตอนทางทันตกรรมประดิษฐ์ถือเป็นขั้นตอนที่มีการปนเปื้อนน้ำลาย เลือด และสารคัดหลั่งอยู่เสมอ สมาคมทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาจึงได้แนะนำวิธีการฆ่าเชื้อฟันเทียมโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อระดับกลางขึ้นไป เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้ามและลดการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์จัดเป็นกลุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อระดับสูง ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อน้อย ง่ายต่อการใช้งาน แต่ทั้งนี้การนำมาใช้ทางทันตกรรมยังไม่ค่อยมีการศึกษาเกี่ยวกับผลของน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดนี้ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ต่อเสถียรภาพสีของซี่ฟันอะคริลิกเรซิน วิธีการ: ซี่ฟันเทียมอะคริลิกเรซินฟันตัดหน้าซี่กลาง 2 ชนิด ได้แก่ Cosmo และ Major dent จำนวน 30ซี่/ชนิด โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มเพื่อแช่ในน้ำกลั่นและน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ (กลุ่มละ 15 ซี่/ชนิด) และ แช่ซ้ำจำนวน 1, 5, 10, 20,  30 และ 50 รอบ วัดเสถียรภาพสีด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) โดยใช้ระบบซีไออี แอลเอบี (CIE Lab) เพื่อหาค่าผลรวมความต่างของสี (total color difference, ∆E*)  และใช้สถิติ Friedman, Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U tests  ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%  เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ผล: พบการเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์สี ∆L*∆a*∆b* ของซี่ฟันเทียมทั้งสองชนิดมีค่าลดลงทุกกลุ่มการทดลองหลังจากแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อออร์โทพทาลอัลดีไฮด์และเมื่อหาค่า ∆E* ของซี่ฟันเทียมทั้งสองชนิดพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มควบคุมที่แช่ในน้ำกลั่นและกลุ่มทดลองที่แช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ผ่านไป 1,20,30 และ 50 รอบ  นอกจากนี้ยังพบว่าค่า ∆E*  มีค่าเพิ่มขึ้นตามจำนวนรอบในการแช่ซ้ำและมีค่า∆E*  สูงสุดเมื่อแช่ซ้ำผ่านไป 50 รอบ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างชนิดซี่ฟันเทียม Cosmo  และ Major dent พบว่ามีค่า ∆E*  ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากแช่ซ้ำผ่านไป 10 รอบ สรุป: น้ำยาฆ่าเชื้อออร์โทพทาลอัลดีไฮด์สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพสีของซี่ฟันเทียมอะคริลิกเรซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าปัจจัยของจำนวนรอบและชนิดของซี่ฟันเทียมที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพสีอย่างมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยเช่นกัน

References

Shi B, Wu T, McLean J, Edlund A, Young Y, He X, et al. The denture associated oral microbiome in health and stomatitis. mSpher 2016;1:e00215-16.

Olms C, Yahiaoui-Doktor M, Remmerbach TW, Stingu CS. Bacterial Colonization and Tissue Compatibility of Denture Base Resins. Dent J (Basel) 2018;6:20.

Chen L, Zhao J, Peng J, Li X, Deng X, Geng Z, et al. Detection of SARS-CoV-2 in saliva and characterization of oral symptoms in COVID-19 patients. Cell Prolif 2020;53:e12923.

Wood PR. Cross infection control in dentistry a practical illutratrated guide. 2nd ed. London: Wolfe Publishing Ltd; 1992.

Piskin B, Sipahi C, Akin H. Effect of different chemical disinfectants on color stability of acrylic denture teeth. J prosthodont 2014;23:476-83.

Cooke RP, Goddard SV, Whymant-Morris A, Sherwood J, Chatterly R. An evaluation of Cidex OPA (0.55% ortho-phthalaldehyde) as an alternative to 2% glutaraldehyde for high-level disinfection of endoscopes. J Hosp Infect 2003;54:226-31.

Seo HI, Lee DS, Yoon EM, Kwon MJ, Park H, Jung YS, et al. Comparison of the efficacy of disinfectants in automated endoscope reprocessors for colonoscopes: tertiary amine compound (Sencron2®) versus ortho-phthalaldehyde (Cidex®OPA). Intest Res 2016;14:178-82.

Silva PM, Acosta EJ, Jacobina M, Pinto Lde R, Porto VC. Effect of repeated immersion solution cycles on the color stability of denture tooth acrylic resins. J Appl Oral Sci 2011;19:623-7.

Robinson JG, McCabe JF, Storer R. Denture bases: the effects of various treatments on clarity, strength and structure. J Dent 1987;15:159-65.

Goiato MC, Nóbrega AS, dos Santos DM, Andreotti AM, Moreno A. Effect of different solutions on color stability of acrylic resin-based dentures. Braz Oral Res 2014; 28:S1806-83242013005000033.

Douglas RD, Steinhauer TJ, Wee AG. Intraoral determination of the tolerance of dentists for perceptibility and acceptability of shade mismatch. J Prosthet Dent 2007;97:200-8.

Alghazali N, Burnside G, Moallem M, Smith P, Preston A, Jarad FD. Assessment of perceptibility and acceptability of color difference of denture teeth. J Dent 2012;40 Suppl 1:e10-7.

Kuehni RG, Marcus RT. An Experiment in Visual Scaling of Small Color Differences*. Color Research & Application 1979;4:83-91.

Streckenbach SC, Alston TA. Perioral stains after ortho -phthalaldehyde disinfection of echo probes. Anesthesiology 2003;99:1032.

Miner N, Harris V, Lukomski N, Ebron T. Rinsability of orthophthalaldehyde from endoscopes. Diagn Ther Endosc 2012;2012:853781.

Horikiri M, Park S, Matsui T, Suzuki K, Matsuoka T. Ortho-phthalaldehyde-induced skin mucous membrane damage from inadequate washing. BMJ Case Rep 2011;2011:bcr0220102709.

Wardle E JD. Determination of rinsing volumes following manual endoscope disinfection with ortho-phthalaldehyde (OPA). J Gastroenterol Nurses College Australia 2003:7-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-09-2022

How to Cite

1.
ยกเลี้ยน ว, ลีวรกานต์ ส. ผลของน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ต่อเสถียรภาพสีของซี่ฟันเทียมอะคริลิกเรซินสองชนิดโดยใช้เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์. J DMS [อินเทอร์เน็ต]. 27 กันยายน 2022 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];47(3):96-103. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/257092