การศึกษาความแตกต่างระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระบบสมัครใจและระบบบังคับบำบัด

ผู้แต่ง

  • เบญจมาศ เกษมพิมล สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประภาพรรณ จูเจริญ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศริยามน ติรพัฒน์ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

แรงสนับสนุนทางสังคม, ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด, ระบบสมัครใจ, ระบบบังคับบำบัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความแตกต่างของแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้เสพติดยาเสพติดระหว่างผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระบบสมัครใจและระบบบังคับบำบัด รวมทั้งศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระบบสมัครใจของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 181 ราย และผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ระบบบังคับบำบัดของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดลาดหลุมแก้ว กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมจำนวน 152 ราย รวม 333 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ Chi-Square และ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการฟื้นฟูฯในระบบสมัครใจมี คะแนนสูงกว่าในระบบบังคับบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ p< 0.05 โดยผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯในระบบสมัครใจมีแรงสนับสนุนทางสังคมมากกว่าในระบบบังคับบำบัด 1.98 เท่า แต่ อย่างไรก็ตามพบว่าแรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีความแตกต่างกันตามอายุ เพศ การศึกษา สถานภาพ รายได้ สาเหตุที่ใช้ยาเสพติด สถานภาพสมรสของบิดามารดา และครอบครัวยังมีคนอื่นใช้สารเสพติดหรือไม่ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯในระบบสมัครใจหากมีความ ตั้งใจสามารถที่จะเลิกใช้ยาเสพติดได้ง่ายกว่าผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯในระบบบังคับบำบัดเนื่องจากมีแรงสนับสนุนทางสังคมมากกว่า และควรทำการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อให้ทราบรายละเอียดของปัญหา สาเหตุต่างๆ ที่มีผลต่อการสนับสนุนทางสังคม ส่งเสริมครอบครัวให้มีส่วนร่วมและสนับสนุนผู้ติดยาเสพติดอย่างจริงจังในการบำบัดรักษา

References

United Nations Office on Drugs and Crime. 2012. from:https://www.unodc.org/unodc/en/data-and-analysis/WDR-2012.html.

Driving Drug Reform Policy Reform. from: http://www.globalcommissionondrugs.org/wp-content/uploads/2017/03/GCDP-Report-2016_THAI.pdf.

Office of the Narcotics Control Board. (2011) School Based Prevention Program. Bangkok:

Princess Mother National Institute on Drug Treatment. Annual Report. 2011.. from: http://www.pmnidat.go.th/thai/index.php?option=com_content&task=category&sectionid= 2&id=9&Itemid=53

Brandt PA, Weinert C. The PRQ--a social support measure. Nurs Res1981; 30:277-80.

Callaghan P, Morrissey J. Social support and health: a review. J Adv Nurs1993; 18: 203-10.

Weiss RW. The provisions of social relationships. In: Robin Z (ed.), Doing unto others. Engle Wood Cliffs’ NJ: Prentice-Hall; 1974.

Sri sa-ard B. Introduction to Research. 9th ed. Bangkok: Suweeriyasan; 2011.

Intajakr N, Pinitsoontorn S. Incentive for using illicit drugs amongt patients treated in Thanyarak Hospital. Udon Thani: Khonkaen University; 2017.

Denduandboripant N. Social support of methamphetamine users treating as in-patients at Thanyarak Institute, Chulalongkorn University; 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2019