พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • จิตอารีย์ จอดสันเทียะ วท.ม., นิภา มหารัชพงศ์ Ph.D, ยุวดี รอดจากภัย Dr.P.H.

คำสำคัญ:

พฤติกรรมความปลอดภัย, อาสาสมัครกู้ชีพ

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง:  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยตัดขวาง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพจังหวัดชลบุรี

วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครกู้ชีพในเขตจังหวัดชลบุรีจำนวน 315 คน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน

ผล: ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพอยู่ในระดับดีและปัจจัยที่มีอำนาจทำนายพฤติกรรมการทำงานของอาสมัคร กู้ชีพได้แก่แรงสนับสนุนทางสังคมด้านวัสดุอุปกรณ์ แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ ความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์ โดยตัวแปรเหล่านี้สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานได้ร้อยละ 27.7 สามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้ Y = 79.430 + 1.099X11 + 0.429X10 + 0.582X8 + 0.389X7  X11 = แรงสนับสนุนทางสังคมด้านวัสดุอุปกรณ์ X10 = แรงสนับสนุนด้านอารมณ์  X8 = การรับรู้ประโยชน์  X7 = การรับรู้ความรุนแรง

สรุป: จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าให้แรงสนับสนุนทาง สังคมด้านวัสดุอุปกรณ์ การได้รับกำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน การส่งเสริมรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความรุนแรง จะทำให้อาสาสมัครกู้ชีพมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

References

Yaisien S, Alvi T. World Health Organization. Prehospital trauma care system. Geneva:WHO. Does pervceived social support predict quality of life in Psychiatric patients. Asian Journal of Social Science and Humanities; 2013.

Witthaya C, Weerapan S, Anucha S, Thanapong J, Injury due to road accidents in Thailand . Current situation. Medical archives Medical Association of Thailand under the Royal Patronage; 2014.

Witthaya C. Principles of emergency medical service system development. Khonkaen: Khonkaen Hospital; 2008.

Data center of National Institute of Emergency Medicine. Emergency Medical Act 2008. Nontaburi: National Institute of Emergency Medicine 2008.

Holder Y, Peden M, Krug E, Gururaj G, Kobusingye O. Injury surveilance guidelines.Geneva: WHO; 2011.

Pansiri N. The results of the perception analysis of health beliefs and work safety behaviors of professional safety officers in industrial factories. The journal Faculty of Business Administration, Prince of Songkla University; 2015.

Holumyong J, Sirinan K, Maliwan K. Balance the life with doing More work than the time allocation of labor in the manufacturing industry. Institute for Population and Social Research Mahidol University. Faculty of Humanities and Social Sciences Khonkaen University; 2017.

Tetjativaddhana P. Potential development of personnel working in primary care units By using context as the second phase. Nakhon Sawan. Si Khwae. Naresuan University; 2012.

Samutharak K. The accident prevention behaviors of ceramic factory employees in Lampang province. Faculty of Industrial Technology. Lampang Rajabhat University; 2012.

Ministry of Public Health, Department of Policy and Strategies. Prevalence of death the number and ratio per 100000 classified by important causes between 2009-2013. (2015).Available from: http://bps.moph.go.th/content/. (in Thai)

The National Medical Service Committee. Plan and principles of medical services 2010-2012. Bangkok: Institute of Emergency Medical Service; 2010. (in Thai)

Ali M, Haidar N, Ali M, Maryam A. Determinants of seat belt use among drivers in Sabzevar, Iran: A comparison of theory of planned behavior and health belief model. Traffic Injury Prevention; 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2020

How to Cite

1.
จิตอารีย์ จอดสันเทียะ วท.ม., นิภา มหารัชพงศ์ Ph.D, ยุวดี รอดจากภัย Dr.P.H. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดชลบุรี. J DMS [อินเทอร์เน็ต]. 1 กันยายน 2020 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];45(2):120-6. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/245533