การประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของการคัดกรองมะเร็งหลอดอาหาร ในผู้ป่วยมะเร็งคอหอยส่วนล่างด้วย วิธี transnasal esophagoscopy เปรียบเทียบกับ rigid esophagoscopy

ผู้แต่ง

  • เอกภพ แสงอริยวนิช พ.บ.
  • ธนะรัตน์ อิ่มสุวรรณศรี พ.บ.
  • อรุณี ไทยะกุล สม.

คำสำคัญ:

มะเร็งคอหอยส่วนล่าง, การส่องกล้องหลอดอาหาร, การประเมินต้นทุน-ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง : ผู้ป่วยโรคมะเร็งคอหอยส่วนล่างมักตรวจพบ โรคมะเร็งหลอดอาหารร่วมด้วยได้ประมาณร้อยละ 10 แนวทาง การตรวจคัดกรองหลอดอาหารแบบเดิมคือ การส่องกล้อง rigid esophagoscopy (RE) ซึ่งต้องทำในห้องผ่าตัด แต่ในปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองการส่องกล้องด้วยวิธี transnasal esophagoscopy (TNE) แทน ซึ่งทำได้ที่แผนกผู้ป่วยนอก

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผลในการคัดกรองหาโรคมะเร็งหลอดอาหารในผู้ป่วยมะเร็งคอหอยส่วนล่าง ด้วยวิธีการส่องกล้องตรวจหลอดอาหารแบบ transnasal esophagscopy เปรียบเทียบกับการส่องกล้องตรวจ แบบ rigid esophagoscopy

วิธีการ : ประเมินทางเศรษฐศาสตร์แบบวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล โดยใช้แบบจำลองทางเลือกตัดสินใจ ในมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพ ซึ่งทางเลือกในการตัดสินใจ คือ การส่องกล้องตรวจหลอดอาหารด้วยวิธี transnasal esophagoscopy ทำที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเปรียบ เทียบกับการส่องกล้องด้วย rigid esophagoscopy ซึ่งเป็นการ ส่องกล้องแข็งผ่านช่องปากในห้องผ่าตัด และผู้ป่วยต้อง admit เป็น ผู้ป่วยใน

ผล : การส่องกล้องแบบ TNE มีต้นทุนต่อผู้ป่วย 1 รายเป็น จำนวนเงิน 18,907.20 บาท ส่วนต้นทุนของการ ส่องกล้องแบบ RE ต่อผู้ป่วย 1 ราย เป็นจำนวนเงิน 12,725.81 บาท โดยต้นทุนส่วน ใหญ่ของการส่องกล้องแบบ TNE มาจากต้นทุนลงทุน และต้นทุน ส่วนใหญ่ของ RE มาจากต้นทุนค่ารักษาแบบผู้ป่วยใน การประเมิน ต้นทุนและประสิทธิผลจากแผนภูมิการตัดสินใจโดยจำลองผู้ป่วย จำนวน 1,000 รายพบว่า ต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น หากเปลี่ยนจาก การส่องกล้องแบบ RE เป็นการส่องกล้องแบบ TNE เป็นจำนวน เงินทั้งสิ้น 4,839,776.07 บาท ประสิทธิผลในการคัดกรองมะเร็ง หลอดอาหารเพิ่มขึ้น 57 ราย ดังนั้นต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นในการ เปลี่ยนจากการส่องกล้องด้วยวิธี RE เป็น TNE ต่อการคัดกรอง ผู้ป่วยสำเร็จเพิ่มขึ้น 1 รายเป็นจำนวนเงิน 84,778.95 บาท การ วิเคราะห์ความอ่อนไหวของตัวแปรพบว่า ความคุ้มค่าจะเกิดมาก ขึ้นหากต้นทุนของการตรวจ TNE ลดลง และ/หรือ การตรวจด้วย วิธี RE มีภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น

สรุป : การส่องกล้องชนิด TNE เพื่อ ประเมินรอยโรคในหลอดอาหารในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งคอหอยส่วนล่าง มีประสิทธิภาพ และทดแทนการส่องกล้องแบบ RE ได้ อย่างไรก็ตาม ในการจัดหากล้อง TNE โรงพยาบาลควรคำนึงถึงราคาจัดซื้อ และ จำนวนผู้รับบริการเป็นสำคัญ

References

Imsamran W, Chaiwerawattana A, Wiangnon S, Pongnikorn D, Suwanrungrung K. Cancer in Thailand Vol. IX,2013-2015.New Thammada Press (Thailand) Co.Ltd. Bangkok; 2018.

McGarey PO, O’Rourke AK, Owen SR, Shonka DC, Reibel JF, Levine PA, et al. Rigid Esophagoscopy for Head and Neck Cancer Staging and the Incidence of Synchronous Esophageal Malignant Neoplasms. JAMA Otolaryngol Head Neck Surg 2016; 142:40.

Ritchie AJ, McManus K, McGuigan J, Stevenson HM, Gibbons JR.The role of rigid oesophagoscopy in oesophageal carcinoma.Postgrad Med J 1992; 68:892–5.

Shaker R. Unsedated trans-nasal pharyngoesophagogastroduodenoscopy(T-EGD): technique. Gastrointest Endosc1994;40:346–8.

Postma GN, Cohen JT, Belafsky PC, Halum SL, Gupta SK,Bach KK, et al. Transnasal Esophagoscopy: revisited (over700 consecutive cases). Laryngoscope 2005; 115:321–3.

Mohammed H, Del Pero M, Coates M, Masterson L, Tassone P, Burrows S, et al. Office-based transnasal esophagoscopy biopsies for histological diagnosis of head and neck patients.Laryngoscope 2019; 129: 2721-6.

Sombuntham P, Rawangban W. Unsedated transnasal esophagoscopy: A sensitive and safe outpatient screening tool. Asian biomedicine 2015;9: 491-4.

Riewpaiboon A. Standard cost lists for health economic evaluation in Thailand. J Med Assoc Thai 2014; 97: S127-34.

Report of the general consumer price index of Thailand 2015.(cited 2019 Dec 20) Available from:http://www.indexpr.moc.go.th/price_present/TableIndexG_region_y.asp?year_base=2558&nyear=&province_code=5&table_name=cpig_index_country&type_code=g&check_f=i&comm_code=4

Su YY, Fang FM, Chuang HC, Luo SD, Chien CY. Detection of metachronous esophageal squamous carcinoma in patients with head and neck cancer with use of transnasal esophagoscopy. Head Neck 2010;32:780-5.

Farwell DG, Rees CJ, Mouadeb DA, Allen J, Chen AM,Enepekides DJ, et al. Esophageal pathology in patients after treatment for head and neck cancer. Otolaryngol Head Neck Surg 2010; 143:375–8.

Tsao GJ, Damrose EJ. Complications of esophagoscopy in an academic training program. Otolaryngol Head Neck Surg 2010; 142:500–4.

Orban NT, Ogawa T, Atun R, Corbridge R. Trans-nasal oesphagoscopy: cost implications for a change in practice:how we do it. Clin Otolaryngol2009; 34:380–5.

McPartlin DW, Nouraei SAR, Tatla T, Howard DJ, Sandhu GS.How we do it: transnasal fibreoptic oesophagoscopy. Clin Otolaryngol 2005;30:547–50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-03-2021

How to Cite

1.
แสงอริยวนิช เ, อิ่มสุวรรณศรี ธ, ไทยะกุล อ. การประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของการคัดกรองมะเร็งหลอดอาหาร ในผู้ป่วยมะเร็งคอหอยส่วนล่างด้วย วิธี transnasal esophagoscopy เปรียบเทียบกับ rigid esophagoscopy. J DMS [อินเทอร์เน็ต]. 10 มีนาคม 2021 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];45(4):17-23. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/249732