ผลด้านพฤติกรรม และผลการเรียน ของการรักษาเด็กสมาธิสั้น ในโรงพยาบาลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • พัสดาภรณ์ จิตน่วม พ.บ. โรงพยาบาล บางจาก

คำสำคัญ:

โรคสมาธิสั้น, เด็กวัยเรียน, ปรับพฤติกรรม, บกพร่องด้านการเรียน

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง : โรคสมาธิสั้นในโรงพยาบาลบางจากเดิมต้องส่งต่อไปให้จิตแพทย์เด็ก วินิจฉัยและรักษา มีระยะรอคอยนัดเป็นเวลานาน โรงพยาบาลบางจาก จึงเพิ่มการเข้าถึงบริการโดยให้กุมารแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและรักษาเด็กสมาธิสั้นในโรงพยาบาลชุมชน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลด้านพฤติกรรมซนไม่นิ่ง และผลการเรียนของเด็กสมาธิสั้นหลังได้รับการรักษาตามแนวทางการดูแลเด็กสมาธิสั้นในโรงพยาบาลบางจาก วิธีการ: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (retrospective study) โดยใช้สถิติเชิงพรรณา (descriptive statistic) ศึกษาผลด้านพฤติกรรมโดยใช้แบบประเมิน SNAP-IV และด้านผลการเรียน ประเมินจากแบบสอบถามผู้ปกครองหรือใช้ผลคะแนนสอบ ก่อนและหลังรับการรักษาโรคสมาธิสั้น ในเด็กอายุ 6 - 12 ปี ที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลบางจาก ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ.2562 ถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ทั้งหมด 103 คน ได้รับการวินิจฉัยโดยกุมารแพทย์ให้การรักษาทางยาร่วมกับพฤติกรรมบำบัดผล: หลังการรักษาผลการเรียนดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) มีเกรดดีขึ้นร้อยละ 48.5  ด้านพฤติกรรมที่ประเมินโดยผู้ปกครองและคุณครู อาการของโรคสมาธิสั้น ลดลงทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผู้ปกครองประเมินคะแนนด้านขาดสมาธิ ลดลงเฉลี่ย 6.9 คะแนน (95%CI 6.1, 7.7) ด้านซนไม่นิ่ง ลดลงเฉลี่ย 6.3 คะแนน (95%CI 5.3, 7.3) และด้านดื้อต่อต้าน ลดลงเฉลี่ย 3.9 คะแนน (95%CI 3.0, 4.8) ประเมินโดยคุณครู ด้านการขาดสมาธิ ลดลงเฉลี่ย 6.8 คะแนน (95% CI 6.0, 7.7) ด้านซนไม่นิ่ง ลดลงเฉลี่ย 6.6 คะแนน (95% CI 5.7, 7.5) และผลด้านดื้อต่อต้าน ลดลงเฉลี่ย 4.2 คะแนน (95%CI 3.4, 5) สรุป: การรักษาผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นโดยกุมารแพทย์ที่โรงพยาบาลบางจาก ให้การรักษาด้วยยาและการปรับพฤติกรรม ทำให้ผลการเรียนและพฤติกรรมดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Nigg J, Nikolas M, Burt SA. Measured gene-by-environment interaction in relation to attention-deficit/hyperactivity disorder. Journal American Academy Child Adolescent Psychiatry. 2010:49(9):863-73.

American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (DSM-5®). Washington, D.C, London, England: American Psychiatric Association.

VisanuyothinnT, Pavasuthipaisit C, Wachiradilok P, Arunruang P, Buranasuksakul T. The prevalence of attention deficit/ hyperactivity disorder among primary school students in Bangkok, J Ment Heath Thai.2013 ;21(2) : 66-75

Maddah Z, Ghalenoee M, Mohtashami J, Pourhoseingholi MA, Esmaieli R, Naseri-Salahshour V. The effectiveness of PMT program on parent-child relationship in parents with ADHD children : a randomized trial. Med J Islam Repub Iran. 2018; 32:89

De Meyer H, Beckers T, Tripp G, vander Oord S. Reinforcement contingency learning in children with ADHD; back to the basic of behavior therapy. J Abnorm Child Psychol. 2019;47(12): 1889-1902

Evans Sw, Owens JS, Wymbs BT, Ray AR. Evidence-base psychosocial treatments for children and adolescents with attention deficit/hyperactivity disorder. J Clin Child Adolesc Psychol. 2018;47(2);157-198

Harstad E, Levy S. Attention-deficit/hyperactivity disorder and substance abuse. Pediatrics. 2014;134(1):e293-301.

Kortekaas-Rijlaarsdam AF, Luman M, Sonuga-Barke E, Oosterlaan J. Does methylphenidate improve academic performance? A systematic review and meta-analysis. European Child & Adolescent Psychiatry. 2019;28(2):155-64.

Phongsathirat P, Wachiradilok P. Factors associated with Attention Deficit/Hyperactivity Disorders in school-age children. J Psyc Nurse And Ment Health. 2013;27(1) : 108-120

Pornnopadol C, Attention Deficit Hyperactivity Disorder. Bangkok : Siriraj Academic Affairs Offairs 2020:p41-43

Chongsuksiri P, Apinuntavech S. One-year follow up of parent management training program for children with externalizing behavior problems. J Psych Asso Thailand 2019; 64(2):163-176

Lundahl B, Risser HJ, Lovejoy MC. A Meta-analysis of parent training: Moderators and follow-up effects. Clin Psychol Rev. 2006;26(1):86-104

Suwannasing K, Nukaew O, Nawsuwan K, Hotheem K. The Effect of ADHD Parenting Training Program on Behavior Problems in Children with ADHD. J of Public Health Nursing Sep-Dec 2020;34(3):37-48

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2022