ความแม่นยำของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีนในการ ตรวจหารอยโรคมะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัส : การทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน

ผู้แต่ง

  • สิรภพ อิสีประดิฐ ท.บ. สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์
  • ศศิธร ทวีเดช ท.บ., ว.ท. สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีน, มะเร็ง ช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัส, วิเคราะห์อภิมาน

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: การศึกษาเรื่องตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายใน การตรวจหามะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัสมีการศึกษา กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มีผลการศึกษาที่สนับสนุนการตรวจ หาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายว่าน่าจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญใน การวินิจฉัยโรค การพยากรณ์โรค หรือการตรวจติดตามการรักษา โรคมะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัสได้ และจากหลายการ ศึกษาพบว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีนให้ค่าความไว และค่าความจำเพาะสูงวัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมผลการศึกษา เรื่องความแม่นยำของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีน ในการตรวจหารอยโรคมะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัส เพื่อตอบคำถามว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีนมีความ แม่นยำเพียงไรในการตรวจหามะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์ สความัสวิธีการ: มีการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบจาก PubMed, Google Scholar และ handsearch ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ถึง กรกฎาคม ค.ศ. 2020 เลือกเฉพาะบทความที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทยผล: บทความที่ได้รับการยอมรับมี 15 บทความ ที่เป็น prospective blinded trial, case controlled studies และ cross-sectional studies ที่อยู่ในรูปแบบการศึกษาที่เป็น diagnostic accuracy studies ทั้ง 15 บทความนี้แบ่งเป็นการ ศึกษาย่อยตามชนิดของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้ 52 ชุดข้อมูลและ ชุดข้อมูลทั้ง 52 ชุดถูกนำมาทำการวิเคราะห์อภิมาน ใช้ค่าความ ไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) ที่ช่วงความเชื่อ มั่น 95% พบว่าการใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายในการตรวจ หามะเร็งช่องปากในภาพรวมหลายกลุ่มมีค่าความไวเท่ากับ 0.78 (95% CI = 0.74, 0.82) และความจำเพาะเท่ากับ 0.71 (95% CI = 0.65, 0.76) เมื่อทำการวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่าตัวบ่งชี้ทาง ชีวภาพชนิดโปรตีนในกลุ่ม cytokines ให้ค่า pooled ODD-ratio อยู่ที่ 11.41 (95% CI = 7.92, 16.45) มากกว่าในกลุ่มของโปรตีน เมทริกซ์เมทาโลโปรตีนเนส (metalloproteinase) และกลุ่ม โปรตีนชนิดอื่น (other proteins)สรุป: ค่าความไวและค่าความ จำเพาะของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิด โปรตีนยังไม่มากพอที่ จะสามารถเป็นเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยได้ และข้อมูลยังขาด ความเป็นเนื้อเดียวกัน ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีน กลุ่ม cytokines มีค่า ODD-ratio ที่สูงแต่ยังมีช่วงความเชื่อมั่นที่ กว้าง และคุณภาพการศึกษายังไม่ดีเพียงพอจึงควรทำการศึกษา เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพชนิดโปรตีน เพื่อพัฒนา เป็นเครื่องมือในการตรวจมะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัส ต่อไป

References

Kaur J, Jacobs R, Huang Y, Salvo N, Politis C. Salivary biomarkers for oral cancer and pre-cancer screening: a review. Clin Oral Investig 2018;22:633-40.

Chandu A, Smith AC, Rogers SN. Health-related quality of life in oral cancer: a review. J Oral Maxillofac Surg 2006;64:495-502.

Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, Siegel RL, Torre LA, Jemal A.Global cancer statistics 2018: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA Cancer J Clin 2018;68:394-424.

Sankaranarayanan R, Ramadas K, Amarasinghe H, Subramanian S, Johnson N. Oral Cancer: Prevention, Early Detection, and Treatment. In: Gelband H, Jha P, Sankaranarayanan R, Horton S, editors. Cancer: Disease Control Priorities, Third Edition (Volume 3). Washington (DC);2015.

Johnson NW, Jayasekara P, Amarasinghe HK. Squamous cell carcinoma and precursor lesions of the oral cavity:epidermiology and etiology. Periodontol 2000. 2011;57:19-37.

Werning JW. Oral cancer : diagnosis, management, and rehabilitation. New York: Thieme Medical Publishers;2007. p.354.

Toh Y, Oki E, Ohgaki K, Sakamoto Y, Ito S, Egashira A, et al. Alcohol drinking, cigarette smoking, and the development of squamous cell carcinoma of the esophagus: molecular mechanisms of carcinogenesis. Int J Clin Oncol 2010;15:135-44.

Giri S, Idle JR, Chen C, Zabriskie TM, Krausz KW, Gonzalez FJ.A metabolomic approach to the metabolism of the areca nut alkaloids arecoline and arecaidine in the mouse. Chem Res Toxicol 2006;19:818-27.

Kumar M, Nanavati R, Modi TG, Dobariya C. Oral cancer: Etiology and risk factors: A review. J Cancer Res Ther 2016;12:458-63.

Brinkmann O, Kastratovic DA, Dimitrijevic MV, Konstantinovic VS, Jelovac DB, Antic J, et al. Oral squamous cell carcinoma detection by salivary biomarkers in a Serbian population. Oral Oncol 2011;47:51-5.

Meleti M, Cassi D, Vescovi P, Setti G, Pertinhez TA, Pezzi ME.Salivary biomarkers for diagnosis of systemic diseases and malignant tumors. A systematic review. Med Oral Patol Oral Cir Bucal 2020;25:e299-e310.

Liao PH, Chang CY, Huang MF, Tai KW, Chou MY. Mutation of p53 gene codon 63 in saliva as a molecular marker for oral squamous cell carcinomas. Oral Oncol 2000;36:272-6.

Shree KH, Ramani P, Sherlin H, Sukumaran G, Jeyaraj G, Don KR, et al. Saliva as a Diagnostic Tool in Oral Squamous Cell Carcinoma - a Systematic Review with Meta Analysis. Pathol Oncol Res 2019;25:447-53.

Rajkumar K, Nandhini G, Ramya R, Rajashree P, Kumar AR,Anandan SN. Validation of the diagnostic utility of salivary interleukin 8 in the differentiation of potentially malignant oral lesions and oral squamous cell carcinoma in a region with high endemicity. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol 2014;118:309-19.

Hirunyakorn K, Thaweedej S. The Accuracy of Salivary Biomarkers Detection of Oral Cancer: A Meta-Analysis.Journal of The Department of Medical Services 2020;45:193-201.

AlAli AM, Walsh T, Maranzano M. CYFRA 21-1 and MMP-9 as salivary biomarkers for the detection of oral squamous cell carcinoma: a systematic review of diagnostic test accuracy. Int J Oral Maxillofac Surg 2020;49:973-83.

Yu JS, Chen YT, Chiang WF, Hsiao YC, Chu LJ, See LC, et al. Saliva protein biomarkers to detect oral squamous cell carcinoma in a high-risk population in Taiwan. Proc Natl Acad Sci U S A.2016;113:11549-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2021

How to Cite

1.
อิสีประดิฐ ส, ทวีเดช ศ. ความแม่นยำของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีนในการ ตรวจหารอยโรคมะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัส : การทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน . J DMS [อินเทอร์เน็ต]. 3 กันยายน 2021 [อ้างถึง 30 มีนาคม 2025];46(2):83-90. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/253565