ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบเลือดออกหลังการหยั่งโพรบรอบรากฟันเทียม: ในกลุ่มรากฟันเทียมเดี่ยวที่ไม่มีการละลายของกระดูก
คำสำคัญ:
เลือดออกหลังการหยั่งโพรบ, รากฟันเทียม, โรคเยื่อเมือกรอบรากฟันเทียมอักเสบ, ครอบฟันบนรากฟันเทียมบทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การพบเลือดออกหลังการหยั่งโพรบรอบรากฟันเทียม เป็นลักษณะทางคลินิกที่แสดงถึงการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบรากฟันเทียม และเป็นลักษณะที่สำคัญในการประเมินและวินิจฉัยโรครอบรากฟันเทียม ดังนั้นการควบคุมปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดเลือดออกหลังการหยั่งโพรบ จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญอย่างหนึ่งในการติดตามผล การรักษาภายหลังการฝังรากฟันเทียม วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบเลือดออกหลังการหยั่งโพรบรอบ รากฟันเทียมในกลุ่มรากฟันเทียมเดี่ยวที่ไม่มีการละลายของกระดูก วิธีการ: ทำการศึกษาแบบเชิงสังเกตที่จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ในกลุ่มผู้ป่วยรากฟันเทียมเดี่ยวที่ได้รับครอบฟันบนรากฟันเทียมอย่างน้อย 1 ปี ทำการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและรายละเอียดในการรักษารากฟันเทียมจากเวชระเบียน และทำการตรวจทางคลินิก โดย ทันตแพทย์ 2 คนที่ได้รับการฝึกฝนจากผู้เชี่ยวชาญและมีการปรับมาตรฐานระหว่างผู้ตรวจ เพื่อเก็บข้อมูลสภาวะอนามัยช่องปาก ความลึกร่องลึกปริทันต์ ปริมาณเนื้อเยื่อเคอราทิไนซ์ ความแน่นของ จุดสัมผัส และบันทึกการพบหรือไม่พบเลือดออกหลังการหยั่งโพรบ 6 ตำแหน่งรอบรากฟันเทียม เพื่อหาความสัมพันธ์ของการพบเลือดออกหลังการหยั่งโพรบรอบรากฟันเทียม ในแต่ละตำแหน่งกับปัจจัยต่าง ๆ ด้วยสถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุระดับ ผล: จากการตรวจผู้ป่วย 40 ราย รากฟันเทียมจำนวน 67 ราก มีอายุเฉลี่ย 57.913.6 ปี เมื่อพิจารณาที่ระดับตำแหน่งของรากฟันเทียม พบว่า ภาวะการมีเลือดออกหลังการหยั่งโพรบมีความชุกร้อยละ 67.7 (95%CI: 62.8, 72.2) โดยการมีสภาวะอนามัยช่องปากไม่ดี การมีร่องลึกปริทันต์เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น และการบูรณะรากฟันเทียม ด้วยครอบฟันชนิดโลหะ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับการพบภาวะการมีเลือดออกหลังการหยั่งโพรบ โดยปัจจัยดังกล่าวมีอัตราเสี่ยงปรับที่ 14.94, 1.80 และ 8.75 เท่า ตามลำดับ สรุป: การพบเลือดออกหลังการหยั่งโพรบรอบรากฟันเทียม ในกลุ่มรากฟันเทียมเดี่ยวที่ไม่มีการละลายของกระดูกเป็นลักษณะทางคลินิกที่พบได้บ่อยและมีความสัมพันธ์กับสภาวะอนามัยช่องปาก ร่องลึกปริทันต์ รวมทั้งชนิดของครอบฟันบนรากฟันเทียม ดังนั้น ควรคำนึงถึงการควบคุมปัจจัยดังกล่าว เพื่อลดการพบเลือดออกหลังการหยั่งโพรบรอบรากฟันเทียม ซึ่งเป็นลักษณะทางคลินิกที่สำคัญของโรคเยื่อเมือกรอบรากฟันเทียมอักเสบ ซึ่งมีโอกาสลุกลามไปสู่โรครากฟันเทียมอักเสบได้
References
Meitner SW, Zander HA, Iker HP, Polson AM. Identification of inflamed gingival surfaces. J Clin Periodontol 1979;6(2):93-7.
Lang NP, Joss A, Orsanic T, Gusberti FA, Siegrist BE. Bleeding on probing. A predictor for the progression of periodontal disease? J Clin Periodontol 1986;13(6):590-6.
Lang NP, Adler R, Joss A, Nyman S. Absence of bleeding on probing. An indicator of periodontal stability. J Clin Periodontol 1990;17(10):714-21.
Heitz-Mayfield LJ, Lang NP. Comparative biology of chronic and aggressive periodontitis vs. peri-implantitis. Periodontology 2000 2010;53:167-81.
Mombelli A, Décaillet F. The characteristics of biofilms in periimplant disease. J Clin Periodontol 2011;38(Suppl 11):203-13.
Jepsen S, Rühling A, Jepsen K, Ohlenbusch B, Albers HK. Progressive peri-implantitis. Incidence and prediction of periimplant attachment loss. Clin Oral Implants Res 1996;7(2):133-42.
Hashim D, Cionca N, Combescure C, Mombelli A. The diagnosis of peri-implantitis: A systematic review on the predictive value of bleeding on probing. Clin Oral Implants Res 2018;29 (Suppl 16):276-93.
Renvert S, Persson GR, Pirih FQ, Camargo PM. Peri-implant health, peri-implant mucositis, and peri-implantitis: Case definitions and diagnostic considerations. J Periodontol 2018;89 (Suppl 1):S304-12.
Heitz-Mayfield LJA, Salvi GE. Peri-implant mucositis. J Clin Periodontol 2018;45(Suppl 20):S237-45.
Farina R, Scapoli C, Carrieri A, Guarnelli ME, Trombelli L. Prevalence of bleeding on probing: a cohort study in a specialist periodontal clinic. Quintessence Int 2011;42(1):57-68.
Farina R, Tomasi C, Trombelli L. The bleeding site: a multilevel analysis of associated factors. J Clin Periodontol 2013; 40(8):735-42.
Liljenberg B, Gualini F, Berglundh T, Tonetti M, Lindhe J. Composition of plaque-associated lesions in the gingiva and the peri-implant mucosa in partially edentulous subjects. J Clin Periodontol 1997;24(2):119-23.
Salvi GE, Aglietta M, Eick S, Sculean A, Lang NP, Ramseier CA. Reversibility of experimental peri-implant mucositis compared with experimental gingivitis in humans. Clin Oral Implants Res 2012;23(2):182-90.
Silness J, Löe H. Periodontal Disease in Pregnancy II. Correlation between oral hygiene and periodontal condition. Acta Odontol Scand 1964;22:121-35.
Papaioannou W, Quirynen M, Nys M, van Steenberghe D. The effect of periodontal parameters on the subgingival microbiota around implants. Clin Oral Implants Res 1995;6(4): 197-204.
Farina R, Filippi M, Brazzioli J, Tomasi C, Trombelli L. Bleeding on probing around dental implants: a retrospective study of associated factors. J Clin Periodontol 2017;44(1):115-22.
Nettemu SK, Nettem S, Singh VP, William SS, Gunasekaran SS, Krisnan M, et al. Multilevel analysis of site, implant, and patient-level factors with peri-implant bleeding on probing: a cross sectional study. Int J Implant Dent 2021;7(1):77.
Merli M, Bernardelli F, Giulianelli E, Toselli I, Mariotti G, Nieri M. Peri-implant bleeding on probing: a cross-sectional multilevel analysis of associated factors. Clin Oral Implants Res 2017;28(11):1401-5.
Sorensen JA. A rationale for comparison of plaque-retaining properties of crown systems. J Prosthet Dent 1989;62(3):264-9.
Bremer F, Grade S, Kohorst P, Stiesch M. In vivo biofilm formation on different dental ceramics. Quintessence Int 2011;42(7):565-74.
Abrahamsson I, Soldini C. Probe penetration in periodontal and peri-implant tissues. An experimental study in the beagle dog. Clin Oral Implants Res 2006;17(6):601-5.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสารกรมการแพทย์