ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลราชวิถี

ผู้แต่ง

  • อภิวันท์ เจริญวัฒน์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลราชวิถี

คำสำคัญ:

ความชุก, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, โรคนอนไม่หลับ, ผู้สูงอายุ, เวชศาสตร์ครอบครัว

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: โรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งก่อให้เกิดความอ่อนเพลีย ขาดสมาธิ ความจำแย่ลง ปวดศีรษะ และปัญหาสุขภาพจิต ทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทย พบว่าความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคนอนไม่หลับ ในผู้สูงอายุนั้นแตกต่างกันไปตามการศึกษาในแต่ละพื้นที่ จึงเป็นที่มาของการศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับในแผนกผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผู้วิจัยปฏิบัติงานอยู่ เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงปัญหาโรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุและให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลราชวิถี วิธีการ: การศึกษาแบบ retrospective study เก็บข้อมูลย้อนหลังโดยการสืบค้นเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มาเข้ารับบริการในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2565 ทั้งหมดจำนวน 12,793 ราย แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติ independent t-test และ chi-square test หรือ Fisher’s exact test โดยนำปัจจัยศึกษาที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เข้าสู่การวิเคราะห์ univariate analysis และ multivariate analysis โดยใช้สถิติ multiple logistic regression ผล: พบความชุกของโรคนอนไม่หลับจำนวน 6,580 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.4 (95%CI 50.6, 52.3) แต่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์เพียง 468 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.7 โดยมีผู้ที่ได้รับยานอนหลับจำนวน 6,566 ราย คิดเป็น ร้อยละ 51.2 ยานอนหลับที่ได้รับ 5 อันดับแรก ได้แก่ lorazepam, amitriptyline, diazepam, clorazepate, และ alprazolam โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เพศหญิง (adj. OR 1.64 [95%CI 1.52, 1.77] p < .001), อายุ 70-79 ปี (adj. OR 1.27 [95%CI 1.17, 1.37] p < .001), อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 80 ปี (adj. OR 1.87 [95%CI 1.67, 2.09] p < .001), โรคความดันโลหิตสูง (adj. OR 1.17 [95%CI 1.05, 1.31] p = .005), โรคแผลใน กระเพาะอาหาร (adj. OR 2.16 [95%CI 1.91, 2.45] p < .001), โรคข้ออักเสบหรือข้อเสื่อม (adj. OR 1.22 [95%CI 1.07, 1.39] p = .004), โรคกรดไหลย้อน (adj. OR 1.82 [95%CI 1.42, 2.33] p < .001), โรคหลอดเลือดหัวใจ (adj. OR 1.85 [95%CI 1.44, 2.37] p < .001), โรคมะเร็ง (adj. OR 1.64 [95%CI 1.15, 2.34] p = .007), โรควิตกกังวล (adj. OR 12.93 [95%CI 7.97, 20.99] p < .001), โรคซึมเศร้า (adj. OR 6.78 [95%CI 3.20, 14.33] p < .001) สรุป: ความชุกของโรคนอนไม่หลับร้อยละ 51.4 ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์เพียงร้อยละ 3.7 แต่มีการจ่ายยานอนหลับให้ผู้สูงอายุถึงร้อยละ 51.2 โดยพบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 11 ปัจจัย ได้แก่ เพศหญิง อายุ 70-79 ปี อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 80 ปี โรคความดัน โลหิตสูง โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคข้ออักเสบ หรือข้อเสื่อม โรคกรดไหลย้อน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า

References

Wennberg AM, Canham SL, Smith MT, Spira AP. Optimizing sleep in older adults: treating insomnia. Maturitas 2013;76(3):247-52.

Patel D, Steinberg J, Patel P. Insomnia in the elderly: a review. J Clin Sleep Med 2018;14(6):1017-24.

Kamel NS, Gammack JK. Insomnia in the Elderly: Cause, Approach, and Treatment. Am Med 2006;119(6):463-69.

Limpawattana P, Euawiriyanukool W, Sawanyawisuth K. Self-management and factors associated with the impact of insomnia among older adults with chronic medical illnesses at outpatient clinic. Eur Geriatr Med 2014;5(2):103-7.

Sukying C, Bhokakul V, Udomsubpayakul U. An epidemiological study on insomnia in an elderly Thai population. J Med Assoc Thai 2003;86(4):316-24.

Suri K, Sununsirikul K, Tonsuvan K. Quality of Sleep and Associated Factors in Elderly at Urban Community, Nakhon Sawan. R3 Med PHJ 2022;19(1):15-27

Thichumpa W, Howteerakul N, Suwannapong N, Tantrakul V. Sleep quality and associated factors among the elderly living in rural Chiang Rai, northern Thailand. Epidemiol Health 2018;40:e2018018.

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: John Wiley and Sons; 1995.

Aernout E, Benradia I, Hazo JB, Sy A, Askevis-Leherpeux F, Sebbane D, et al. International study of the prevalence and factors associated with insomnia in the general population. Sleep Med 2021;82:186-92.

Farazdaq H, Andrades M, Nanji K. Insomnia and its correlates among elderly patients presenting to family medicine clinics at an academic center. Malays Fam Physician 2018;13(3):12-9.

El-Gilany A, Saleh N, Mohamed H, Elsayed E. Prevalence of insomnia and its associated factors among rural elderly: a community based study. International Journal of Advanced Nursing Studies 2017;6(1):56-62.

Kim WJ, Joo WT, Baek J, Sohn SY, Namkoong K, Youm Y, et al. Factors associated with insomnia among the elderly in a Korean rural community. Psychiatry Investig 2017;14(4):400-6.

Saleem AH, Al Rashed FA, Alkharboush GA, Almazyed OM, Olaish AH, Almeneessier AS, et al. Primary care physicians’ knowledge of sleep medicine and barriers to transfer of patients with sleep disorders. A cross-sectional study. Saudi Med J 2017;38(5):553-9.

Almeneessier A, Alamri B, Alzahrani R, Sharif M, Pandi-Perumal SR, Bahammam A. Insomnia in primary care settings: Still overlooked and undertreated?. Journal of Nature and Science of Medicine 2018;1(2):64-8.

By the 2019 American Geriatrics Society Beers Criteria® Update Expert Panel. American Geriatrics Society 2019 Updated AGS Beers Criteria® for Potentially Inappro priate Medication Use in Older Adults. J Am Geriatr Soc 2019;67(4):674-94.

Foley DJ, Monjan A, Simonsick EM, Wallace RB, Blazer DG. Incidence and remission of insomnia among elderly adults: an epidemiologic study of 6,800 persons over three years. Sleep 1999;22 (Suppl 2):S366-72.

Tang NK, McBeth J, Jordan KP, Blagojevic-Bucknall M, Croft P, Wilkie R. Impact of musculoskeletal pain on insomnia onset: a prospective cohort study. Rheumatology (Oxford) 2015;54(2):248-56.

Ayoub AI, Attia M, El Kady HM, Ashour A. Insomnia among community dwelling elderly in Alexandria, Egypt. J Egypt Public Health Assoc 2014;89(3):136-42.

Mousavi F, Tavabi A, Iran-Pour E, Tabatabaei R, Golestan B. Prevalence and associated factors of insomnia syndrome in the elderly residing in kahrizak nursing home, tehran, iran. Iran J Public Health 2012;41(1):96-106.

Tsou MT. Prevalence and risk factors for insomnia in community-dwelling elderly in northern Taiwan. Journal of Clinical Gerontology and Geriatrics 2013;4(3):75–9.

Pedraza S, Al Snih S, Ottenbacher KJ, Markides KS, Raji MA. Sleep quality and sleep problems in Mexican Americans aged 75 and older. Aging Clin Exp Res 2012;24 (4):391-7.

Lacy BE, Everhart K, Crowell MD. Functional dyspepsia is associated with sleep disorders. Clin Gastroenterol Hepatol 2011;9(5):410-4.

Dean YE, Shebl MA, Rouzan SS, Bamousa BAA, Talat NE, Ansari SA, et al. Association between insomnia and the incidence of myocardial infarction: A systematic review and meta-analysis. Clin Cardiol 2023;46(4):376-85.

Büttner-Teleagă A, Kim YT, Osel T, Richter K. Sleep Disorders in Cancer-A Systematic Review. Int J Environ Res Public Health 2021;18(21):11696.

Leblanc MF, Desjardins S, Desgagné A. Sleep problems in anxious and depressive older adults. Psychol Res Behav Manag 2015;8:161-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-03-2024

How to Cite

1.
เจริญวัฒน์ อ. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลราชวิถี. J DMS [อินเทอร์เน็ต]. 15 มีนาคม 2024 [อ้างถึง 18 เมษายน 2025];49(1):80-8. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/263801