About the Journal
เป้าหมายและขอบเขต
วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา จัดทำโดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความรับเชิญของคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงผลงานทางวิชาการของนักศึกษา และนักวิชาการทั่วไป โดยวารสารเปิดรับผลงานทางวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ขอบเขตสาขาผลงานทางวิชาการที่รับการตีพิมพ์ คือ ผลงานทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตลอดจนสหสาขาวิชาที่บูรณาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เข้ากับวิทยาศาสตร์ รวมถึงผลงานทางด้านวิชาการจากการดำเนินงานโครงการวิจัยหรืองานจ้างที่ปรึกษาผ่านสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้แก่
- สาขาการเกษตร พัฒนาชนบท หรือพัฒนาเมือง
- สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สาขาการวิจัยและการประเมินผล
- สาขาการประปาและสุขาภิบาล
- สาขาการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
- สาขารัฐประศาสนศาสตร์
- สาขามาตรฐานคุณภาพ
- สาขาการประชาสัมพันธ์
- สาขาการคมนาคมขนส่ง
- สาขาการพัฒนาองค์กร
- สาขาการท่องเที่ยว
- สาขาอุตสาหกรรม
- สาขาสาธารณสุข
- สาขาการศึกษา
- สาขาประชากร
- สาขากฎหมาย
- สาขาพลังงาน
- สาขาการเงิน
- และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ
วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพแต่ละขั้นตอนโดย
- กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้ส่งบทความทราบเมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยสมบูรณ์โดยบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสาร ต้องไม่เคยเผยแพร่ในรูปแบบใดมาก่อน ต้องมีความซ้ำเนื้อหาบทความไม่เกิน 10% วัดจากการตรวจสอบผ่านโปรแกรม Copycatch บนระบบ ThaiJO และจะต้องไม่นำส่งไปยังวารสารอื่นจนกว่าจะได้รับทราบผลหากไม่ผ่านการพิจารณาหรืออนุมัติให้ยุติการพิจารณาจากบรรณาธิการ
- กองบรรณาธิการตรวจสอบหัวข้อและเนื้อหาของบทความถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร
- ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรให้ดำเนินการส่งบทความเพื่อพิจารณากลั่นกรองต่อไป บรรณาธิการจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ท่านขึ้นไป (ในกรณีที่ผู้เขียนต้องการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณากลั่นกรอง อย่างน้อย 3 ท่าน โปรดระบุในใบนำส่งบทความ) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยในกระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่สามารถทราบข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความ (Double-Blind Process) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรจะตีพิมพ์ในวารสารสังคมวิจัยและพัฒนาหรือไม่ หรือควรที่จะส่งให้กับผู้เขียนบทความนำกลับไปแก้ไขก่อนพิจารณาอีกครั้งหรือปฏิเสธการลงตีพิมพ์
- การยอมรับบทความเป็นสิทธิของบรรณาธิการ และบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้บทความ และอาจส่งกลับคืนให้ผู้เขียนแก้ไข เพิ่มเติม หรือพิมพ์ใหม่
กำหนดการออกวารสาร 4 ฉบับต่อปี
ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม
ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน
ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน
ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม
ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ : วารสารสังคมวิจัยและพัฒนาไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์
อัพเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 4 มกราคม 2567