Author Guidelines

ข้อกำหนดสำหรับการตีพิมพ์บทความต้นฉบับและรูปแบบในการนำเสนอบทความ

1. ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับ (Manuscript Requirements)

        วารสารสังคมวิจัยและพัฒนาเปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ และไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ โดยบทความที่ส่งเข้ามาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาในวารสารอื่น กำหนดให้ความซ้ำเนื้อหาบทความไม่เกิน 10% ด้วยโปรแกรม Copycatch บนระบบ ThaiJO ทั้งนี้เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสังคมวิจัยและพัฒนา ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความและไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร

        ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความต้องเขียนชื่อ-สกุล สถานที่ทำงานหรือสถานศึกษา และอีเมลในบทความต้นฉบับ และใน Metadata บนระบบ ThaiJO ให้ครบถ้วน รวมถึงข้อมูลที่ติดต่อไว้ในส่วนที่แยกออกจากบทความ ผู้ส่งบทความควรตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ต้นฉบับ เช่น ตัวสะกด วรรคตอน ความเหมาะสมและความสละสลวยของการใช้ภาษา รวมทั้งควรกำหนดประเภทของบทความให้ชัดเจนว่าเป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ

องค์ประกอบของบทความทั้ง 2 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้ 

1.1 บทความวิจัย ควรนำเสนอการวิจัย และผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบ สรุปผลการวิจัยที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ บทความวิจัยต้องเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย โดยเรียบเรียงตามลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้

  1. บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ควรเรียบเรียงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย และสรุปผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาวิจัย โดยให้มีความยาวไม่เกิน 280 คำ และมีคำสำคัญ/Keywords จำนวน 4-5 คำ
  2. บทนำหรือส่วนนำ ควรประกอบด้วยความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย พร้อมทั้งเสนอภาพรวมของบทความ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หรือการทบทวนวรรณกรรม)
  3. วิธีการวิจัยหรือระเบียบวิธีการวิจัย ควรประกอบด้วยวัตถุประสงค์ สมมติฐาน ประชากรกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
  4. ผลการศึกษา ควรบรรยายให้เห็นผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัย ซึ่งอาจจะจำแนกเป็นประเด็นต่าง ๆ รวมถึงเพิ่มภาพประกอบหรือตารางสรุปข้อมูล เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในผลการศึกษามากขึ้น
  5. การอภิปรายผลการวิจัย ควรเรียบเรียงและจำแนกเป็นประเด็นให้ชัดเจน โดยเปรียบเทียบผลการวิจัยกับแนวคิดหรือทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย และเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่ผ่านมา เพื่อให้มีความสอดคล้องหรือความแตกต่างกันในแต่ละประเด็น
  6. ข้อเสนอแนะ ควรระบุว่างานวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และระบุว่าควรศึกษาประเด็นอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยต่อไป
  7. เอกสารอ้างอิง/References 

1.2 บทความวิชาการ ควรนำเสนอแนวคิดหรือการวิเคราะห์ที่นำไปสู่ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน โดยเป็นไปตามหลักวิชาการหรือตามประสบการณ์ทางวิชาชีพของผู้เขียนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาทางสังคมศาสตร์ ที่นำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้ โดยเรียบเรียงตามลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้

  1. บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ควรเรียบเรียงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย และสรุปผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาวิจัย โดยให้มีความยาวไม่เกิน 280 คำ และมีคำสำคัญ/Keywords จำนวน 4-5 คำ
  2. ส่วนนำ ควรบอกถึงที่มา หลักการและเหตุผลของบทความที่เขียน
  3. เนื้อหา (ประเด็นที่จะนำเสนอ) ส่วนนี้คือ เนื้อหาของประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องสอดแทรกแนวคิด ทัศนคติ และแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ และที่สำคัญต้องยกแหล่งอ้างอิงมาประกอบ         
  4. สรุปผลการศึกษา ควรขมวดประเด็นทั้งหมดด้วยถ้อยคำที่สั้น ง่าย ได้ใจความ กระตุ้นให้ผู้อ่านได้คิดตาม
  5. เอกสารอ้างอิง/References

2. รูปแบบในการเตรียมต้นฉบับและนำเสนอบทความ

  1. จำนวนหน้าบทความ กำหนดให้บทความมีความยาว 12-20 หน้ากระดาษ A4 (จำนวนหน้ากระดาษรวมเอกสารอ้างอิง/References)
  2. ขอบเขตหน้ากระดาษ กำหนดให้มีขอบเขตหน้ากระดาษ ดังนี้ ขอบบน 1.0 นิ้ว ขอบล่าง 1.0 นิ้ว ขอบซ้าย 1.0 นิ้ว และขอบขวา 1.0 นิ้ว
  3. การจัดหน้ากระดาษ กำหนดให้จัดหน้ากระดาษแบบ 1 คอลัมน์
  4. การจัดระยะห่างระหว่างบรรทัด
    1. การจัดระยะห่างบรรทัดระหว่างหัวข้อหลัก/หัวข้อรองกับเนื้อหาให้จัดระยะห่างระหว่างบรรทัด 8 point
    2. การจัดระยะห่างบรรทัดเนื้อหาให้จัดระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งบรรทัด (single)
  5. การย่อหน้าสำหรับเนื้อหาบทความที่มีการเรียงลำดับหัวข้อรอง ใช้การย่อหน้า 1.5 นิ้ว 2.0 นิ้ว ตามลำดับ
  6. รูปแบบตัวอักษร กำหนดให้ใช้ TH Sarabun New โดยมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้

                   

Template บทความวิจัย WORD และ PDF

Template บทความวิชาการ WORD และ PDF 

3. รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาและการอ้างอิงท้ายบทความ

        รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาและการอ้างอิงท้ายบทความกำหนดให้ใช้รูปแบบการอ้างอิง/References The American Psychological Association หรือ APA style (6th) ดังนี้

3.1 การพิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา มี 2 รูปแบบ ดังนี้

                    1) (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์, น./p./pp. เลขหน้า) ไว้ส่วนท้ายข้อความอ้างอิง

                    2) ผู้แต่ง (ปีพิมพ์, น./p./pp. เลขหน้า) ไว้ส่วนหน้าข้อความอ้างอิง หากมีการระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว ไม่ต้องระบุซ้ำในวงเล็บอีก

3.2 การพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

  1. เอกสารอ้างอิงไม่แยกประเภทรายการอ้างอิง
  2. เอกสารอ้างอิงทุกลำดับจะต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงในบทความ
  3. ถ้ารายละเอียดของเอกสารอ้างอิงมีความยาวมากกว่าหนึ่งบรรทัดให้พิมพ์ต่อบรรทัดถัดไปโดยย่อหน้า 0.5 นิ้ว 
  4. จัดเรียงลำดับเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ หรือการเรียงบรรณานุกรมให้ใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือ Dictionary ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยคำที่มีตัวสะกดจัดเรียงไว้ก่อนคำที่มีรูปสระตามลำดับตั้งแต่ กก-กฮ และ AA-AZ โดยไม่ต้องเเยกประเภท
  5. การจัดพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความจะแตกต่างกันตามชนิดของเอกสารที่นำมาอ้างอิง โดยให้จัดพิมพ์ตามรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA (American Psychological Association) ดังนี้

อ้างอิงจากหนังสือ ใช้รูปแบบดังนี้

ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี) (พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป).  เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2539). วิธีวิจัยทางการศึกษา Educational Research Methodology. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kother, P., & Gary A. (2003). Principles of Marketing. 9th Ed. Boston: McGraw-Hill.

อ้างอิงจากวารสาร ใช้รูปแบบดังนี้

ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าที่อ้าง.

ตัวอย่าง

สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. (2540). พระพุทธรูปพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก. ศิลปวัฒนธรรม. 18(5), 38-39.

Doran, K. (1996). Unified Disparity: Theory and Practice of Union Listing. Computer in Libraries. 16(1), 39-42.

อ้างอิงจากเอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ หนังสือรวมบทความวิชาการ ใช้รูปแบบดังนี้

ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความหรือชื่อตอน. ใน  ชื่อหนังสือ. ชื่อบรรณาธิการหรือชื่อผู้รวบรวม(ถ้ามี). (หน้าที่ตีพิมพ์บทความหรือตอนนั้น). ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: ชื่อสำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.

ตัวอย่าง

แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง. (2526). การก้าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของห้องสมุด. ใน เอกสารการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ก้าวแรกของการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของห้องสมุด. (น. 1-7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Tichner, F. J. (1981). Apprenticship and Employee Training.  In The New Encyclopedia Britannica, Macropedia. (V1. pp. 1018-1023).  Chicago:  Encyclopedia  Britannica.

อ้างอิงจากปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ ใช้รูปแบบดังนี้

ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ชื่อปริญญามหาบัณฑิตหรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต, ชื่อมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา).

ตัวอย่าง

ดนัยศักดิ์ โกวิทวิบูล. (2543). ความต้องการและลักษณะการใช้สารนิเทศของนักศึกษาในสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

Patamaporn, Y. (1992). The Emerging Electeronic  Univesrsity: A Study of Student Cost-Effectiveness. (Dissertation, Ph.D. Library and Information Science, The University of Texas at Austin.

อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ใช้รูปแบบดังนี้

ข้อมูลที่เป็นบทความจากวารสารออนไลน์

ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่), หน้า(ถ้ามี). สืบค้นเมื่อวันที่ เดือน ปี จาก URL ของวารสาร.

ตัวอย่าง

พิษณุ กล้าการนา. (2545). เตรียมรับมือกับภาวะโลกร้อน. หมออนามัย. 11(6). สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2546 จาก http: www. moph.go.th ops doctor backreport.htm

Exon, A. (1978). Getting to Know the User Better. Aslib Proceedings. 30(6), 352-364. Retrieved October 12, 2008, from https://www.emeraldinsight.com/doi/pdfplus/10.1108/eb05069.

ข้อมูลจากเว็บไซต์

ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์หรือปีที่สืบค้น). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ วัน เดือน ปี (หรือ Retrieved เดือน วัน, ปี), จาก (from) ชื่อเว็บไซต์.

ตัวอย่าง

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2559) ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550- 2554). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 จาก http: www.moe.go.th webbpp downloadcrisp_ direction.pps.

Barnard, J. P. (2000). A Study of Internet and Library Use in an Academic Setting. Arizona: Arizona State University. Retrieved October 12, 2008, from http: proquest.umi.com pqdweb?did=731829191&sid=2&Fmt=2&clientId=83700&RQT=309&VName=PQD.

4. การส่งบทความ (Paper Submission Online)           

        ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความกับวารสารสังคมวิจัยและพัฒนา กรุณาส่งต้นฉบับบทความโดยส่งเข้าระบบ ThaiJO ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/JMARD