Culture of Family Building
Keywords:
socialization, family building, complete human, active citizensAbstract
เอกสารฉบับนี้ เป็นบทความทางวิชาการซึ่งมีวัตถุประสงค์ ศึกษากระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเฉพาะปัจจัยด้านครอบครัว ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของการพัฒนาคน ไปสู่การเป็น "พลเมืองเข้มแข็ง" (active citizens) ที่พึงปรารถนาในอนาคต
สังคมไทยในอดีตมีระบบการกล่อมเกลาทางสังคมจากครอบครัวที่ดี ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดี จึงมีคุณธรรมที่ควบคุมความคิด และจริยธรรมที่ควบคุมความประพฤติให้ดำรงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก้าวร้าว และทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ต่อมาการเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้พ่อแม่ต้องใช้เวลาหาเลี้ยงชีพมากกว่าการกล่อมเกลานิสัยลูก
การกล่อมเกลาทางสังคมจากพ่อแม่นี้ เป็นพื้นฐานของการสร้างพลเมืองดีที่สำคัญ เพราะคุณภาพของมนุษย์ต้องเกิดจากการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์จนถึงวัยที่ก้าวออกจากอ้อมอกพ่อแม่ไปสู่โลกกว้าง เพื่อให้สถาบันทางสังคม ได้แก่ สถานศึกษา ศาสนา ชุมชน กลุ่มกลุ่มวิชาชีพ และสื่อมวลชน ร่วมกันกล่อมเกลาให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ สามารถเป็นพลังที่เข้มแข็งของประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐ จึงกำหนดให้สถาบันทางสังคมร่วมกันปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมอันพึงประสงค์ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ปฐมวัย โดยเน้นการเตรียมความพร้อมให้พ่อแม่ก่อนตั้งครรภ์
จากการศึกษาพบว่า ประเทศญี่ปุ่นมีประเพณีการสร้างครอบครัวและบุตรเฉพาะเมื่อมีความพร้อมในวัยที่บรรลุนิติภาวะแล้ว มีฐานะทางเศรษฐกิจพอที่จะดูแลบุตร และมีเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง จึงสามารถกล่อมเกลาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีด้วยวัฒนธรรมพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยตนเองในปฐมวัย เพื่อสร้างลักษณะนิสัยที่ดีคิดถึงผู้อื่นและการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการให้ครอบครัวสร้างวินัยในตนเองจนเป็นพลังในการดำรงไว้ซึ่งความเป็นพลเมืองดี โดยรัฐให้การสนับสนุน
ดังนั้น หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการสร้างพลังของสังคม ได้แก่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย จึงควรร่วมกันศึกษาวัฒนธรรมการสร้างครอบครัวของญี่ปุ่น เพื่อสร้างจิตสำนึกในการมีบุตรเมื่อถึงวัยอันสมควรและมีความพร้อมที่จะดูแลลูกด้วยตนเอง โดยรัฐให้การสนับสนุนตามสมควร ซึ่งจะเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมการสร้างครอบครัวของคนไทย ให้กลับมาเป็นพื้นฐานในการสร้างคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ สามารถเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของชาติได้อย่างยั่งยืน
References
กมล แสงทองศรีกมล. (2547). คนญี่ปุ่นเขาเลี้ยงลูกกันอย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562,จาก
https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-year/children/169-
%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B
%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%80%
E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8
%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%
E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. (2561). การสร้างคนดีสู่สังคม. กรุงเทพมหานคร.
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. (2561). พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา. กรุงเทพมหานคร.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 5 มีนาคม 2562,จากhttps://www.cca.chula.ac.th/protocol/organizationsindividuals.html
บุญชู ตันติรัตนสุนทร. (2558). ลักษณะพื้นฐานของคนและสังคมญี่ปุ่น. วารสารเศรษฐกิจและธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น,
(เดือนสิงหาคม 2015), 1-5. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562,จาก
https://ba.tni.ac.th/2015/upload/files/R&D/Aj_Boonchu%2013_11_2558.pdf
พระมหาพยุงศักดิ์ ธมมวิสุทธิเมธี (โสภาสาย). (2556). การศึกษาวิเคราะห์มนุษย์ที่สมบูรณ์ตามแนวพุทธปรัชญา. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงณ์ราชวิทยาลัย.
ยุพา คลังสุวรรณ. (2542). แนวคิดระบบครอบครัวญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
วีรวิท คงศักดิ์. (2553, 27 กรกฎาคม 2553). การกล่องเกลาทางสังคม. โพสต์ทูเดย์.
วีรวิท คงศักดิ์. (2554, 21 มีนาคม 2554). การกล่อมเกลาทางสังคมของคนญี่ปุ่น. โพสต์ทูเดย์.
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2559). 70 คุณธรรมนำประชา. กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2559). เทิด 9 เกล้า ปกเกศ. กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2562). โครงการ 1,000 วันมหัศจรรย์. กรุงเทพมหานคร.
สิงห์ม่วง 53.5. (2553). โสเครติส (Socrates). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562, จาก
https://oknation.nationtv.tv/blog/piya88/2010/09/12/entry-1
สิทพันธ์ พุทธหุน. (2541). แนวการศึกษารัฐศาสตร์ (PS.701). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์. (2549). ตามรอยบาทพระราชชนนี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน.