Citizen participation factors: A case study of community forest managements of Silalaeng and Sa-iab communities

Authors

  • Panthrak Phookpan ILAC Suan Dusit University

Keywords:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การจัดการป่าชุมชน, การเมืองไทย, การบริหารจัดการ

Abstract

บทความฉบับนี้นำเสนอบทเรียนของการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับจุลภาคในการจัดการป่าชุมชนศิลาแลงและป่าชุมชนสะเอียบที่สมาชิกชุมชนเข้าร่วมจัดการป่าไม้ของชุมชนมาเป็นเวลาหลายทศวรรษจนถึงปัจจุบันแม้จะไม่เคยมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนจากภาครัฐก็ตาม การศึกษาชิ้นนี้สะท้อนภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสำคัญ 3 ด้าน คือ ปัจเจกบุคคล ชุมชน และหน่วยงานภายนอก ปัจจัยทั้งหมดส่งผลต่อความเข้มแข็งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่ศึกษา บทความชิ้นนี้มาจากงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ปัจเจกบุคคลมีสิทธิตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมการจัดการป่าชุมชนแบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ผู้ที่รู้สึกว่าตนมีความสามารถในการสื่อสาร การเจรจา การใช้เหตุผลอาจเข้าร่วมจัดการป่าชุมชนทั้งแบบเป็นทางการและไม่ทางการ แต่สมาชิกบางคนอาจตัดสินใจเลือกเข้าร่วมการแบบไม่เป็นทางการแทนด้วยเหตุผลส่วนตัวที่แตกต่างกันออกไป สำหรับปัจจัยเรื่องชุมชนนั้น กระบวนการที่ยุติธรรมและความเสมอภาคเป็นข้อกำหนดพื้นฐานที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สมาชิกทุกคนจะได้รับการประกันว่าตนเองจะได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและยุติธรรมในระหว่างการประชุม การกำหนดกฎระเบียบหรือการบังคับใช้กฎระเบียบชุมชน นอกจากนี้ หน่วยงานภายนอกมีบทบาทสำคัญในฐานะหุ้นส่วนของชุมชนที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียน ประสบการณ์และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างพลังการมีส่วนร่วมของประชาชน บทบาทของหน่วยงานภายนอกนี้มีความสำคัญเพราะชุมชนเองอาจมีทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการจัดการป่าชุมชนเพียงลำพัง ปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยทั้ง 3 ด้านข้างต้นสามารถนำไปสู่อำนาจของประชาชนในการจัดการป่าของชุมชนเอง อีกทั้งการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่แนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมจะหยั่งรากลึกลงในการเมืองและการบริหารราชการของไทยต่อไป

References

[1] ทวียศ ศรีเกตุ. (ม.ป.พ.). การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญของประชาชน. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562, สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1739

[2] บูชิตา สังข์แก้ว. (2556). พลวัตการพัฒนาการกระจายอำนาจตัดสินใจสำหรับตัวแสดงท้องถิ่นในกระบวนการกำหนดโครงการเขื่อนชลประทานขนาดใหญ่ ศึกษากรณี โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น (พ.ศ. 2520-2556). วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[3] สายัณห์ ข้ามหนึ่ง (บก.). (2549). แม่น้ำยม ป่าสักทอง วิถีชีวิตของคนสะเอียบ. กรุงเทพมหานคร : วนิดาเพรส.

[4] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2560). สาระน่ารู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ชุด การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการเลือกตั้ง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

[5] สำนักอุทยานแห่งชาติ. (2560). คู่มือการดำเนินงานเกี่ยวกับอาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (อส.อช.). กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

[6] องค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ. (2559). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2559-2561) องค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ. แพร่ : องค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ.

[7] องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาแลง (2549). ป่าชุมชนศิลาแลง. น่าน : องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาแลง.

[8] อุทยานแห่งชาติแม่ยม. (2554). แผนแม่บทการปฏิบัติงานอุทยานแห่งชาติแม่ยม (พ.ศ. 2554-2558). แพร่ : อุทยานแห่งชาติแม่ยม.

[9] Arnstein, S. (1971). Eight rungs on the ladder of citizen participation. In: D. Cahn and B. Passett. Citizen participation: effecting community change. New York: Praeger Publishers.

[10] Arnstein, S. (1969). A ladder of citizen participation. JAIP, 35(4), 216-224.

[11] Berg, B. (2007). Qualitative research methods for the social sciences. Boston: Pearson.

[12] Choguill, M. (1996). A ladder of community participation for underdeveloped countries. Habitat International. 20(3), 431-444.

[13] Nylen, W. (2003). Participatory democracy versus elitist democracy: Lessons from Brazil. New York: Palgrave Macmillan.

[14] Pantharak Phookpan (2010). Participatory democracy in Thailand: A case study of community forest management. M.Phil. Thesis, University of York.

[15] Pateman, C. (1970). Participation and democratic theory. Cambridge: Cambridge University Press.

[16] Shapiro, I. (2003). The state of democratic theory. Princeton: Princeton University Press.

[17] Teorell, J. (2006). Political participation and three theories of democracy: A research inventory and agenda. European Journal of Political Research. 45(5), 787-810.

[18] Tritter, J. and McCallum, A. (2006). The snakes and ladders of user involvement: Moving beyond Arnstein. Health Policy. 76, 156-168.

[19] Vaddhanaphuti, C. (1993). Traditions of village study in Thailand. In: P. Hirsch, ed. The village in perspective. Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University.

Downloads

Published

2019-09-03

How to Cite

Phookpan, P. (2019). Citizen participation factors: A case study of community forest managements of Silalaeng and Sa-iab communities. Journal of Multidisciplinary Academic Research and Development (JMARD), 1(3), 43–62. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JMARD/article/view/210238