ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาชีพครูกับความสุขในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • นิสากร ใจเผื่อ สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศิวาพร ใจหล้า สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชลธิชา บ่อคำ สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นันทิมา นาคาพงศ์ อัศวรักษ์ สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

เจตคติต่อวิชาชีพครู, ความสุขในการเรียน, ความสัมพันธ์, มหาวิทยาลัยนเรศวร

บทคัดย่อ

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาชีพครูกับความสุขในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาชีพครูกับความสุขในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีต่าง ๆ และ 3) เปรียบเทียบความสุขในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 - 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2565 รวม 321 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันโพรดักโมเมนต์ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบของตูกี้

ผลการศึกษา ดังนี้ 1) เจตคติต่อวิชาชีพครูและความสุขในการเรียนของนิสิต มีความสัมพันธ์กันทิศทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) เจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีต่าง ๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยคู่ที่แตกต่างกันคือ นิสิตชั้นปีที่ 1 กับนิสิตชั้นปีที่ 4 และ 3) ความสุขในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีต่าง ๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยคู่ที่แตกต่างกัน คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 กับนิสิตชั้นปีที่ 4 ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศสำหรับประกอบการพัฒนาหรือจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อวิชาชีพครูที่ดีและเพิ่มความสุขในการเรียนให้กับนิสิตทุกชั้นปี

References

กมล โพธิเย็น. (2559). การจัดการเรียนรู้เพื่อนำความสุขสู่ผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 13(2), 122-126. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/91833/72018.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขนิษฐา บุญมาวงษา. (2561). ความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย บูรพา). สืบค้นจาก https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/7689.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (20 มีนาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 18-20.

จริยา โสสีดา และสุรเดช ประยูรศักดิ์. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับความสุขในการเรียนของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการวัดประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์. 1(1), 21-30. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/244410/165348

ชญารัตน์ บุญพุฒิกร. (2561). การพัฒนามาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูตามโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบ พหุมิติ : การทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา, มหาวิทยาลัยบูรพา). สืบค้นจาก https://webopac.lib.buu.ac.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00255313.

ชาญชัย สิทธิโชติ. (2560). การพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทในการจัดการเรียนรู้ ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). สืบค้นจาก http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/299/1/56030581007.pdf.

ณัฐศริยา จักรสมศักดิ์, สหรัฐฯ ศรีพุทธา, วันวิสา ป้อมประสิทธิ์, ชัยยุทธ สุทธิดี, วิระศักดิ์ กุลฉะวะ และอภิศิษฏ์ เสน่ห์วงศ์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านตนเอง ด้านครอบครัว ด้านสถาบันอุดมศึกษา และด้านสังคม กับความสุขของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17(1), 40-52. สืบค้นจาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/1200/1013.

ธนพล บรรดาศักดิ์. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความสุขในการเรียนรู้ ของนักศึกษาพยาบาล. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, มหาวิทยาลัยบูรพา). สืบค้นจาก https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57920199.pdf.

ปัทมา ทองสม. (2554). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 4(1), 90. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/1561/1277.

ปานทิพย์ พอดี. (2564). รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุข (FART). วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 11(1), 78-90. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/issue/download/16874/4331.

ปิยาณี ณ นคร และ องุ่น น้อยอุดม. (2563). การศึกษาเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาลในยุคศตวรรษที่ 21: มุมมองของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วารสารพยาบาลทหารบก. 21(2), 349-357. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/238990/166235.

พรพรรณ ศรีโสภา ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ และกิ่งดาว การะเกต. (2556). การเรียนรู้อย่างมีความสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตพยาบาล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 27(2), 16-29. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/21171/18321.

พิณพนธ์ คงวิจิตต์. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ตที่มีต่อความสุขในการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 9(1), 298-302. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/34797/28871.

พิศุทธิภา เมธีกุล. (2561). รายงานวิจัยปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. สืบค้นจาก https://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1473.

ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์, ฐาปนี สีเฉลียว และกฤตยชญ์ ไชยคำภา. (2565). การศึกษาสุขภาวะทางจิตของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 16(2), 192-208. สืบค้นจาก https://so02.tci- thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/issue/download/17074/4422.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).

ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์, มยุรี ถนอมสุข, บรรจบ ภิรมย์คำ, สมบุญ ศิลป์รุ่งธรรม, อรวรรณ์ ทองเพิ่ม, และอธิเกียรติ ทองเพิ่ม. (2554). ทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. ใน เอกสารการประชุมวิชาการ ตามรอยพระยุคลบาทเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ครั้งที่ 8. (น. 537-546). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

สมเกียรติ ทานอก. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตโดยใช้โมเดลโค้งพัฒนาการเหลื่อมเวลาระยะยาวที่มีตัวแปรแฝง. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 9(2), 16-29. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMCS/article/view/45784.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27